ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โควตาดรูป"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Ekapoj yam (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: {{ระบบการลงคะแนน}} '''โควตาดรูป''' (Droop quota) เป็นโควตาที่ใช้กันทั่วไป...
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:03, 21 มิถุนายน 2564

โควตาดรูป (Droop quota) เป็นโควตาที่ใช้กันทั่วไปสำหรับระบบการลงคะแนนแบบถ่ายโอนคะแนนเสียง (STV) นอกจากนี้ยังใช้กันในการเลือกตั้งระบบสัดส่วนแบบบัญชีรายชื่อซึ่งใช้วิธีเหลือเศษสูงสุดในการคำนวนจำนวนที่นั่งที่ได้รับ

ในการเลือกตั้งแบบถ่ายโอนคะแนนเสียง (STV) โควตาคือจำนวนคะแนนเสียงขั้นต่ำที่ผู้สมัครแต่ละรายจะต้องได้รับจึงจะได้รับเลือกตั้ง คะแนนเสียงส่วนที่เกินจากโควตาจะถูกถ่ายโอนไปให้ผู้สมัครรายอื่นตามที่ระบุไว้ในบัตรเลือกตั้ง โควตาดรูปคิดค้นขึ้นในปีค.ศ. 1868 โดยทนายความและนักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ เฮนรี ริชมอนด์ ดรูป (ค.ศ. 1831 – ค.ศ. 1884) เพื่อมาใช้ทดแทนโควตาแฮร์

ในปัจจุบันโควตาดรูปใช้กันอย่างแพร่หลายในการเลือกตั้งแบบถ่ายโอนคะแนนเสียงส่วนใหญ่เกือบทั้งหมด รวมถึงการเลือกตั้งแบบอื่นๆ ที่อยู่ในขอบเขตของการถ่ายโอนคะแนนเสียง ซึ่งใช้ในอินเดีย ไอร์แลนด์ ไอร์แลนด์เหนือ มอลตา และออสเตรเลีย เป็นต้น

โควตาดรูปมีความคล้ายคลึงกับโควตาฮาเกินบัค-บิชช็อฟ ซึ่งมีความเรียบง่ายกว่าในการคำนวน ซึ่งในบางกรณีจึงถูกเหมารวมว่าเป็นโควตาดรูปไปโดยปริยาย

การคำนวน

ตัวอย่าง

การลงคะแนนแบบถ่ายโอนคะแนนเสียง

เปรียบเทียบกับโควตาแฮร์

เปรียบเทียบกับโควตาฮาเกินบัค-บิชช็อฟ

อ่านเพิ่มเติม

  • Droop, Henry Richmond (1869). On the Political and Social Effects of Different Methods of Electing Representatives. London.
  • Droop, Henry Richmond (1881). "On methods of electing representatives" (PDF). Journal of the Statistical Society of London. 44 (2): 141–196 [Discussion, 197–202]. doi:10.2307/2339223. JSTOR 2339223. Reprinted in Voting matters Issue 24 (October 2007) pp. 7–46.

อ้างอิง