ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เอเอชูเย่ไช"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 7:
ในวัฒนธรรมเพลงพม่ามีทำนองเพลงอยุธยาที่ยังหลงเหลือร่องรอยการใช้ภาษาไทยในการขับร้อง คือ ''พะยี่น'' ({{lang|my|ဖရင်း}}) หรือ ''เพลง'' ในภาษาอยุธยา ส่วนชื่อ ''เอเอชูเย่ไช'' ({{lang|my|ဧဧခြူရေးချိုက်}}) มาจากเนื้อร้องขึ้นต้น<ref name="เพลง"/> ซึ่งเนื้อร้องเป็นภาษาอยุธยาโบราณที่ถูกถ่ายทอดในรูปแบบมุขปาฐะแก่ชาวพม่านานกว่าศตวรรษ ทำให้เกิดข้อผิดพลาดในการออกเสียง และชาวพม่าเองก็ไม่สามารถถ่ายทอดคำร้องได้ถูกต้องอย่างต้นฉบับ ทำให้ปัจจุบันไม่มีใครเข้าใจความหมายของเพลงนี้ได้เลย<ref name="เพลง"/><ref name="เมี้ยนจี">เมี้ยนจี (เขียน), สุเนตร ชุตินธรานนท์ และธีรยุทธ พนมยงค์ (แปลและเรียบเรียง). "บทเพลงโยธยาสามเพลงอันแสดงถึงลักษณะไทยในประเทศพม่า ดนตรีพม่ายุคจารีต". ''พม่าอ่านไทย : ว่าด้วยประวัติศาสตร์และศิลปะไทยในทรรศนะพม่า'', หน้า 145-147</ref> เข้าใจว่า ''พะยี่น'' นี้คงเป็น[[เพลงหน้าพาทย์]]<ref>{{cite web |url= https://www.youtube.com/watch?v=n8b-_m-_C1Y |title= โยเดีย ที่คิด(ไม่)ถึง : นาฏศิลป์และดนตรี |author=|date= 15 กรกฎาคม 2560 |work= Thai PBS |publisher=|accessdate= 8 มิถุนายน 2564}}</ref> ที่สื่อถึง[[นางสีดา]] ในฉากที่[[หนุมาน]]เดินทางไป[[กรุงลงกา]]เพื่อตามนางสีดาซึ่งอยู่ท่ามกลางหญิงงามคนอื่น ๆ แต่หนุมานกลับพบนางสีดาโดยง่าย เพราะงามโดดเด่นยากจะหาสตรีนางใดมาเปรียบ<ref name="เมี้ยนจี"/>
 
พ.ศ. 2347 อูซะ เจ้าเมือง[[เมียวดี]]ได้แต่งคำร้องเพลง ''พะยี่น'' เป็น[[ภาษาพม่า]] ตามพระราชบัณฑูรของรัชทายาทผู้สนพระทัยในศิลปะและการละครอย่างสยาม แต่ยังคงทำนองอยุธยาไว้ดังเดิม<ref name="เพลง"/> โดยเพลงนี้ถูกจัดให้เป็นเพลงอยุธยาประเภทระทมรัก มีเนื้อหาชมความงามของธรรมชาติตามชนนิยม โดยมีการตัดทอนพยางค์จากเดิมเป็นภาษาไทยมี 75 พยางค์ เหลือเพียง 50 พยางค์เมื่อเป็นภาษาพม่า เพื่อแปลงคำร้องให้เข้ากับทำนองเพลงอยุธยา<ref name="เมี้ยนจี"/>
 
== เนื้อเพลง ==