ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อาการท้องร่วง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
MuanN (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Phyblas (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 20:
'''อาการท้องร่วง''' ({{lang-en|diarrhea หรือ diarrhoea}}) เป็นภาวะมี[[การถ่ายอุจจาระ]]เหลวหรือเป็นน้ำอย่างน้อยสามครั้งต่อวัน มักกินเวลาไม่กี่วันและอาจทำให้เกิด[[ภาวะขาดน้ำ]]จากการเสียสารน้ำ อาการแสดงของภาวะขาดน้ำมักเริ่มด้วยการเสียความตึงตัวของผิวหนังและบุคลิกภาพเปลี่ยน ซึ่งสามารถลุกลามเป็น[[การถ่ายปัสสาวะ]]ลดลง [[ความซีด|สีผิวหนังซีด]] [[อัตราหัวใจเต้นเร็ว]] และ[[การเปลี่ยนแปลงของระดับความรู้สึกตัว|การตอบสนองลดลง]]เมื่อภาวะขาดน้ำรุนแรง อย่างไรก็ดี อุจจาระเหลวแต่ไม่เป็นน้ำใน[[การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่|ทารกที่กินนมแม่]]อาจเป็นปกติ<ref name=WHO2013/>
 
สาเหตุที่พบบ่อยที่สุด คือ การติดเชื้อของ[[ลำไส้]]อาจเนื่องจาก[[ไวรัส]] [[แบคทีเรีย]]หรือ[[ปรสิต]] เป็นภาวะที่เรียก [[กระเพาะและลำไส้เล็กอักเสบ]] (gastroenteritis) การติดเชื้อเหล่านี้มักได้รับจากอาหารหรือน้ำที่มีการปนเปื้อนอุจจาระ หรือโดยตรงจากบุคคลอื่นที่ติดเชื้อ อาการท้องร่วงอารจอาจจะแบ่งได้เป็นสามประเภท คือ อาการท้องร่วงเป็นน้ำระยะสั้น อาการท้องร่วงเป็นเลือดระยะสั้น และหากกินเวลานานกว่าสองสัปดาห์จะเป็นอาการท้องร่วงเรื้อรัง อาการท้องร่วงเป็นน้ำระยะสั้นอาจเนื่องจากการติดเชื้อ[[อหิวาตกโรค]]ซึ่งพบยากใน[[ประเทศพัฒนาแล้ว]] หากมีเลือดอยู่ด้วยจะเรียก [[โรคบิด]]<ref name=WHO2013/> อาการท้องร่วงมีบางสาเหตุที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อซึ่งมี[[ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน]] [[ภาวะไม่ทนต่อแล็กโทส]] (แพ้นม) [[โรคลำไส้อักเสบ]] ยาจำนวนหนึ่ง และ[[กลุ่มอาการลำไส้ไวเกินต่อการกระตุ้น]]<ref name=CEM2013>{{cite book|last1=Doyle|first1=edited by Basem Abdelmalak, D. John|title=Anesthesia for otolaryngologic surgery|date=2013|publisher=Cambridge University Press|location=Cambridge|isbn=1107018676|pages=282–287}}</ref> ในผู้ป่วยส่วนมาก ไม่จำเป็นต้องเพาะเชื้ออุจจาระเพื่อยืนยันสาเหตุแน่ชัด<ref name=NEJM2014/>
 
การป้องกันอาการท้องร่วงจากการติดเชื้อทำได้โดยปรับปรุง[[การสุขาภิบาล]] มี[[น้ำดื่ม]]สะอาดและ[[การล้างมือ|ล้างมือ]]ด้วยสบู่ แนะนำให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อยหกเดือนเช่นเดียวกับการรับวัคซีนโรตาไวรัส สารน้ำเกลือแร่ (ORS) ซึ่งเป็นน้ำสะอาดที่มีเกลือและ[[น้ำตาล]]ปริมาณหนึ่ง เป็นการรักษาอันดับแรก นอกจากนี้ยังแนะนำยาเม็ดสังกะสี มีการประเมินว่าการรักษาเหล่านี้ช่วยชีวิตเด็ก 50 ล้านคนใน 25 ปีที่ผ่านมา<ref name=WHO2010a>{{cite web |url=http://whqlibdoc.who.int/publications/2009/9789241598415_eng.pdf |title=whqlibdoc.who.int |format=PDF |work=[[World Health Organization]]}}</ref> เมื่อบุคคลมีอาการท้องร่วง แนะนำให้กินอาหารเพื่อสุขภาพและทารกกินนมแม่ต่อไป หากหา ORS พาณิชย์ไม่ได้ อาจใช้สารละลายทำเองก็ได้<ref name=Prober2012>{{cite book|last1=Prober|first1=edited by Sarah Long, Larry Pickering, Charles G.|title=Principles and practice of pediatric infectious diseases|date=2012|publisher=Elsevier Saunders|location=Edinburgh|isbn=9781455739851|page=96|edition=4th |url=https://books.google.com/books?id=TN2Gu2Af1BIC&pg=PA96}}</ref> ในผู้ที่มีภาวะขาดน้ำรุนแรง อาจจำเป็นต้อง[[การฉีดเข้าหลอดเลือดดำ|ให้สารน้ำเข้าหลอดเลือดดำ]]<ref name=WHO2013/> ทว่า ผู้ป่วยส่วนมากสามารถรักษาได้ดีด้วยสารน้ำทางปาก<ref>{{cite web|author1=ACEP|title=Nation’s Emergency Physicians Announce List of Test and Procedures to Question as Part of Choosing Wisely Campaign|url=http://www.choosingwisely.org/nations-emergency-physicians-announce-list-of-test-and-procedures-to-question-as-part-of-choosing-wisely-campaign/|website=Choosing Wisely|accessdate=18 June 2014}}</ref> แม้ว่ามีการใช้[[ยาปฏิชีวนะ]]น้อย แต่อาจแนะนำให้ผู้ป่วยซึ่งมีอาการท้องร่วงเป็นเลือดและไข้สูง ผู้ที่มีอาการท้องร่วงรุนแรงหลังท่องเที่ยว และผู้ที่เพาะแบคทีเรียหรือปรสิตบางชนิดขึ้นในอุจจาระ<ref name=NEJM2014/> [[โลเพอราไมด์]]อาจช่วยลดจำนวนการถ่ายอุจจาระ แต่ไม่แนะนำในผู้ป่วยรุนแรง<ref name=NEJM2014>{{cite journal | authors = DuPont HL | title = Acute infectious diarrhea in immunocompetent adults. | journal = The New England Journal of Medicine | volume = 370 | issue = 16 | pages = 1532–40 | date = Apr 17, 2014 | pmid = 24738670 | doi = 10.1056/nejmra1301069 }}</ref>