ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นักนางโอด"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 27:
 
=== พระราชชนนี ===
หลังสมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดีศรีสุริโยพรรณสวรรคต นักนางโอดสร้างพระวิหารของ[[วัดพระธรรมเกรติ์]] หรือวัดพระพุทธโจลนิพเปียน เมื่อปีฉลู 1167 ตรงกับ พ.ศ. 2348 ดังปรากฏใน ''[[ราชพงษาวดารกรุงกัมพูชา]]'' ความว่า "...นักนางโอด พระมารดานักองค์จันทร์ ซึ่งเป็นพระราชบุตรองค์ใหญ่ สร้างพระวิหารหลัง ๑ ที่วัดธรรมเกร์ (วัดธรรมมรฎก) อยู่ข้างตวันออกพระวิหารพระพุทธรูปองค์ใหญ่ของเจ้าฟ้าทะละหะสร้างนั้น ๚"<ref>''ราชพงษาวดารกรุงกัมพูชา'', หน้า 177</ref><ref>''เขมรสมัยหลังพระนคร'', หน้า 53-55</ref> นักองค์จันทร์ซึ่งเป็นพระราชโอรสที่ประสูติแต่นักนางโอดเสวยราชสมบัติเป็น[[สมเด็จพระอุไทยราชาธิราชรามาธิบดี]]สืบมา ช่วงเวลานั้นทางราชสำนักญวนพยายามมีไมตรีต่อกษัตริย์เขมรพระองค์ใหม่ เบื้องต้นมีการเสนอให้กษัตริย์เขมรพร้อมครอบครัวเสด็จไปประทับที่เมืองบัญแงใน พ.ศ. 2355 เมื่อเสด็จถึงเมืองบัญแง ทางการญวนนำทอง เงิน ผ้าแพร และเงินอีแปะ 5,000 พวง มาถวายสมเด็จพระอุไทยราชาธิราชรามาธิบดี สมเด็จพระอัยยิกา (นักองค์เม็ญ) และสมเด็จพระมารดา (โอด) รวมถึงขุนนาง ไพร่พลที่ตามเสด็จด้วยทุกคน<ref>''ราชพงษาวดารกรุงกัมพูชา'', หน้า 200</ref> [[จักรพรรดิซา ล็อง]] หรือองเชียงสือ พระเจ้าเวียดนามตรัสให้ขุนนางญวนนำเงินอีแปะ 1,000 พวง มาพระราชทานขุนนางที่ตามเสด็จสมเด็จพระอุไทยราชาธิราชรามาธิบดี และถวายเงินนักองค์เม็ญ พระอัยยิกา 20 แน่น และถวายเงินนักนางโอด พระราชมารดา 20 แน่น (แน่น มีน้ำหนักราว 25 บาท)<ref>''ราชพงษาวดารกรุงกัมพูชา'', หน้า 201</ref> ต่อมาสมเด็จพระอุไทยราชาธิราชรามาธิบดีพร้อมด้วยพระราชวงศ์และขุนนาง เดินทางกลับกรุงบันทายเพชรใน พ.ศ. 2356 โดยมี[[เล วัน เสวียต]] หรือองต๋ากุน จัดกระบวนแห่ให้<ref>''ราชพงษาวดารกรุงกัมพูชา'', หน้า 202</ref> แม้จะมีสัมพันธไมตรีแนบแน่นกับญวน แต่สมเด็จพระอุไทยราชาธิราชรามาธิบดียังส่งขุนนางพร้อมเครื่องราชบรรณาการถวาย[[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]]ที่[[กรุงเทพมหานคร]] ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยตรัสให้ขุนนางนำเหรียญ 1,000 เหรียญ ข้าวเปลือก 100 เกวียน และผ้าแพรผ้าลายประทานสมเด็จพระอุไทยราชา สมเด็จพระมาตุจฉา (เภา) และสมเด็จพระมารดา (โอด) ด้วย<ref>''ราชพงษาวดารกรุงกัมพูชา'', หน้า 204</ref>
 
=== ปัจฉิมวัย ===
นักนางโอดมีบทบาทในการเจริญสัมพันธไมตรีกับญวน ดังในวันแรม 5 ค่ำ เดือน 3 ปีจอ ฉศก 1176 ตรงกับ พ.ศ. 2357 สมเด็จพระท้าว (นักองค์เม็ญ) สมเด็จพระมาตุจฉา (พระองค์เภา) และสมเด็จพระมารดา (โอด) ได้เสด็จไปทรงเยี่ยม[[เล วัน เสวียต]] หรือองต๋ากุน ที่เมืองไซ่ง่อน เป็นเวลา 25 วัน แล้วจึงเสด็จกลับ[[พนมเปญ|บันทายแก้ว]]<ref>''ราชพงษาวดารกรุงกัมพูชา'', หน้า 208</ref> และใน วันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 12 ปีกุน สัปตศก ตรงกับ พ.ศ. 2358 สมเด็จพระท้าว สมเด็จพระมารดา (โอด) และสมเด็จพระมาตุจฉาจะเสด็จไปเมือง[[เว้]] แต่เมื่อถึงน่านน้ำเมือง[[ไซ่ง่อน]] สมเด็จพระมารดาและสมเด็จพระมาตุจฉาทรงพระประชวร จึงเสด็จกลับกรุงเขมร<ref>''ราชพงษาวดารกรุงกัมพูชา'', หน้า 211-212</ref>
 
นักนางโอดถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคชราใน พ.ศ. 2365 สิริอายุ 63 ปี<ref>''ราชพงษาวดารกรุงกัมพูชา'', หน้า 222</ref>