ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระอุไทยราชาธิราชรามาธิบดี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mda (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 8:
|พระอิสริยยศ = พระมหากษัตริย์แห่ง[[ราชอาณาจักรกัมพูชา]]
|พระราชบิดา = [[สมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดีศรีสุริโยพรรณ]]
|พระราชมารดา= [[นักนางโอง โอด]]
|พระมเหสี =
|พระราชสวามี =
บรรทัด 17:
|ระยะเวลาครองราชย์ =
|รัชกาลก่อนหน้า = [[สมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดีศรีสุริโยพรรณ]]
|รัชกาลถัดมา = [[กษัตรีองค์มีพระองค์เม็ญ]]
|}}
 
บรรทัด 25:
 
== พระประวัติ ==
สมเด็จพระอุไทยราชาธิราชรามาธิบดีเป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ใน[[สมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดีศรีสุริโยพรรณ]] (นักองค์เอง) กับนักนางโอง<ref name="พงศาวดาร"/> หรือ [[นักนางโอด]] พระสนมชั้นแม่นาง<ref name="ทองดี"/> ประสูติที่กรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ. 2334 และได้ตามเสด็จพระบิดากลับไปกัมพูชาเมื่อพระบิดาได้ขึ้นครองราชสมบัติ และพระองค์มีพระชนมายุเพียง 5 พรรษาเท่านั้นเมื่อพระบิดาสวรรคต พระองค์ได้รับการสนับสนุนจากสยาม ให้ขึ้นครองราชย์สมบัติเมื่อ พ.ศ. 2345 เมื่อพระชนมายุได้ 11 ชันษา และได้รับการเฉลิมพระนามว่า "''สมเด็จพระอุไทยราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสุริโยพันธุ์ บรมสุรินทรามหาจักรดิพรรดิราช บรมนารถบพิตร สถิตย์เป็นอิศวรกำพูล รัษฐราชโอภาสชาติวรวงษ ดำรงกรุงกัมพูชาธิบดีศรีโสธร นครอินทปัต กุรุราชบุรีรมย์ อุดมมหาสถาน เจ้ากรุงกัมพูชา''"<ref>ศานดิ ภักดีคำ. 2554. เขมรรบไทย. กทม. มติชน</ref>
 
ในเวลาเดียวกันนี้ [[จักรพรรดิยาลอง]]ได้รวบรวมเวียดนามให้เป็นปึกแผ่นสำเร็จ นักองค์จันทร์จึงหันไปดำเนินนโยบายใกล้ชิดกับราชสำนักเว้หลังจากที่พระองค์มีข้อบาดหมางกับราชสำนักสยาม เมื่อรัชกาลที่ 1 เสด็จสวรรคต ตัวแทนราชสำนักกัมพูชาที่มาร่วมงานพระบรมศพแสดงความฝักใฝ่ต่อสยาม 2 คน จึงถูกประหารชีวิต และยังจัดตั้งกองกำลังรักษาพระองค์เป็นชาวกัมพูชาเชื้อสายเวียดนาม ระหว่าง พ.ศ. 2354 – 2355 เกิดความขัดแย้งระหว่างตัวแทนสยามกับเวียดนามในกัมพูชา ฝ่ายสยามสนับสนุนอนุชาของนักองค์จันทร์ เมื่อความขัดแย้งสิ้นสุดลง พระอนุชา 3 คนหนีไปสยาม ทำให้นักองค์จันทร์หันไปนิยม[[เวียดนาม]]มากขึ้น มีการเกณฑ์แรงงานชาวกัมพูชาไปทำงานให้เวียดนาม เช่น การเกณฑ์แรงงานไปขุดคลองวิญเทในเวียดนามภาคใต้ ทำให้ชาวกัมพูชาเริ่มไม่พอใจ