ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาษาอาหรับ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 9204747 สร้างโดย 2403:6200:8830:B6B6:D12F:769A:BE97:5346 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 112:
}}
 
'''<code>[[ภาษาอาหรับอังกฤษ]]</code>าษาอาหรับ''' ({{lang-ar|العربية}}; {{lang-en|Arabic Language}}) เป็น[[ภาษากลุ่มเซมิติก]] ที่มีผู้พูดมากที่สุด ซึ่งมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดพอควรกับ[[ภาษาฮีบรู]]และ[[ภาษาอราเมอิก]] โดยพัฒนามาจากภาษาเดียวกันคือภาษาเซมิติกดั้งเดิม ภาษาอาหรับสมัยใหม่ถือว่าเป็นภาษาขนาดใหญ่ แบ่งเป็นสำเนียงย่อยได้ถึง 27 สำเนียง ในระบบ ISO 639-3 ความแตกต่างของการใช้ภาษาพบได้ทั่วโลกอาหรับ โดยมีภาษาอาหรับมาตรฐานซึ่งใช้ในหมู่ผู้นับถือศาสนาอิสลาม ภาษาอาหรับสมัยใหม่มาจากภาษาอาหรับคลาสสิกซึ่งเป็นภาษาเดียวที่เหลืออยู่ในภาษากลุ่มอาหรับเหนือโบราณ เริ่มพบในพุทธศตวรรษที่ 11 และกลายเป็นภาษาทางศาสนาของ[[ศาสนาอิสลาม]]ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 เป็นภาษาของคัมภีร์[[อัลกุรอาน]] และภาษาของการ[[นมาซ]]และบทวิงวอนของชาวมุสลิมทั่วโลก [[ชาวมุสลิม]]จะเริ่มศึกษาภาษาอาหรับตั้งแต่ยังเด็ก เพื่ออ่านอัลกุรอานและทำการ[[นมาซ]]
 
ภาษาอาหรับเป็นแหล่งกำเนิดของคำยืมจำนวนมากในภาษาที่ใช้โดย[[มุสลิม]]และภาษาส่วนใหญ่ในยุโรป ภาษาอาหรับเองก็มีการยืมคำจาก[[ภาษาเปอร์เซีย]]และ[[ภาษาสันสกฤต]]ด้วย ในช่วง[[ยุคกลาง]] ภาษาอาหรับเป็นภาษาหลักในการขับเคลื่อนวัฒนธรรมโดยเฉพาะทาง[[วิทยาศาสตร์]] [[คณิตศาสตร์]] และ[[ปรัชญา]] จึงทำให้ภาษาในยุโรปจำนวนมากยืมคำไปจากภาษาอาหรับ โดยเฉพาะ[[ภาษาสเปน]]และ[[ภาษาโปรตุเกส]] ทั้งนี้เพราะอารยธรรมอาหรับเคยแผ่ขยายไปถึง[[คาบสมุทรไอบีเรีย]]