ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระมไหยิกา ขัติยาวงษ์ศิริเสโฐวโรดม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 27:
== พระประวัติ ==
สมเด็จพระมไหยิกา ขัติยาวงษ์ศิริเสโฐวโรดม มีพระนามเดิมว่า รศ เข้ารับราชการเป็นบาทบริจาริกาตำแหน่งพระสนมชั้นพระแม่นางใน[[สมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดีศรีสุริโยพรรณ]] เมื่อครั้งยังประทับอยู่ใน[[วังเจ้าเขมร]] ทางทิศใต้ของ[[วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร]] [[กรุงเทพมหานคร]] ประสูติกาลพระโอรสพระองค์แรกชื่อ นักองค์อิ่ม (ต่อมาเป็น สมเด็จศรีไชยเชฐ พระมหาอุปราช) เมื่อ พ.ศ. 2337<ref>''ราชพงษาวดารกรุงกัมพูชา'', หน้า 167</ref> ครั้น พ.ศ. 2338 สมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดีศรีสุริโยพรรณทรงสร้างพระราชวังขึ้นใหม่ใน[[อุดง|กรุงอุดงฦๅไชย]] แล้วตรัสให้ออกญาวัง (สัวะซ์) และออกญาวิบุลราช (เอก) เข้าไปยังกรุงเทพมหานคร กราบบังคมทูล[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช]] และ[[สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท]] ขอรับสมเด็จพระเอกกระษัตรี สมเด็จพระท้าว ท้าวมหากระษัตรี (พระมารดาเลี้ยง) นักนางโอด นักนางแก นักนางรศ รวมทั้งขุนนางและข้าของพระองค์กลับเมืองเขมร ซึ่งกษัตริย์สยามก็พระราชทานให้ครอบครัวออกจากกรุงเทพฯ เมื่อเดือน 7 ปีเถาะ<ref>''ราชพงษาวดารกรุงกัมพูชา'', หน้า 171</ref> ครั้น พ.ศ. 2339 ปีมะโรง นักนางรศประสูติกาลพระราชโอรสอีกพระองค์หนึ่งคือ[[สมเด็จพระหริรักษ์รามมหาอิศราธิบดี|นักองค์ด้วง]]<ref name="สวรรคต">''ราชพงษาวดารกรุงกัมพูชา'', หน้า 172</ref> ครั้นเดือนเก้าปีเดียวกันนั้น สมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดีศรีสุริโยพรรณก็สวรรคต<ref name="สวรรคต"/>
 
ในรัชสมัยของ[[พระองค์เม็ญ]] พระองค์ถูกฝ่ายญวนนำไปไว้ที่[[ไซ่ง่อน]] และ[[เว้]] ตามลำดับ ภายหลังฝ่ายญวนพยายามจะผูกไมตรีกับนักองค์ด้วย จึงส่งนักนางรศ พระชนนี หม่อมกลีบ ภรรยา และพระธิดาของนักองค์ด้วงอีกหนึ่งพระองค์คืนกรุง[[พนมเปญ]] เมื่อแรม 8 ค่ำ เดือน 11 (ตรงกับวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2389)<ref >''พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3'', หน้า 296</ref>
 
เรื่องราวของพระองค์ปรากฏอีกครั้งเมื่อ[[สมเด็จพระหริรักษ์รามมหาอิศราธิบดี]] หรือนักองค์ด้วง พระราชโอรสเสวยราชสมบัติครองกรุงกัมพูชา เพราะใน พ.ศ. 2391 ทรงตั้งพระนามแก่เจ้านายฝ่ายในและบรรดาศักดิ์บาทบริจาริกาในราชสำนักทั้งหมด ทรงพระกรุณาพระราชทานพระนามสมเด็จพระราชมารดาเป็น '''สมเด็จพระวรราชินีขัติยวงษ์ ศิริเสโฐวโรดม บรมวรากุล มงคลอุดม บรมบพิตรเปนเจ้า''' มีพระกรุณาให้ใช้[[ราชาศัพท์]] และถวาย[[พระลัญจกร]]สององค์ องค์หนึ่งเป็นรูป[[กินรี]] และอีกองค์เป็นรูป[[เทพธิดา]]สถิตย์อยู่[[ปราสาท]]<ref>''ราชพงษาวดารกรุงกัมพูชา'', หน้า 267</ref> โดยสมเด็จพระวรราชินี (รศ) มีขุนนางที่ขึ้นต่อพระองค์สามคน ขุนนางเหล่านี้ปกครองสามจังหวัด ได้แก่[[จังหวัดไพรแวง|จังหวัดเปร๊ยเวง]] อันลงราช และมุขกำปูล<ref>''ราชพงษาวดารกรุงกัมพูชา'', หน้า 277</ref>
เส้น 38 ⟶ 40:
{{รายการอ้างอิง|2}}
; บรรณานุกรม
* {{อ้างหนังสือ | ผู้แต่ง = [[เจ้าพระยาทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค)|ทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา]] | ชื่อหนังสือ = พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 | URL =| พิมพ์ที่ = ไทยควอลิตี้บุ๊คส์ (2006) | จังหวัด = กรุงเทพฯ | ปี = 2560 | ISBN = 978-616-514-575-6 | จำนวนหน้า = 360}}
* {{อ้างหนังสือ | ผู้แต่ง = เรืองเดชอนันต์ (ทองดี ธนรัชต์), พันตรี หลวง | ชื่อหนังสือ = ราชพงษาวดารกรุงกัมพูชา | URL =| พิมพ์ที่ = ไทยควอลิตี้บุ๊คส์ (2006) | จังหวัด = กรุงเทพฯ | ปี = 2563 | ISBN = 978-616-514-668-5 | จำนวนหน้า = 336}}