ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เรือหลวงแม่กลอง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
แก้ไขให้ถูกต้อง
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ตัดส่วนละเมิดลิขสิทธิ์
บรรทัด 52:
}}
|}
 
__FORCETOC__
 
เรือหลวงแม่กลองเป็นเรือรบประเภทเรือฟริเกต ต่อที่อู่เรืออุระงะ เมืองโยะโกะซุกะ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อ พ.ศ. 2479 โดยการควบคุมการต่อของ นาวาเอกหลวงชาญจักรกิจ ชมะนันทน์ และ พระประกอบกลกิจ <ref name=":0">https://www.navy.mi.th/index.php/history/detail/history_id/18714</ref> ขึ้นระวางประจำการเมื่อ พ.ศ. 2480 และปลดระวางประจำการเมื่อ พ.ศ. 2539 รวมระยะเวลาประจำการ 59 ปี นับว่าเป็นเรือรบที่ประจำการยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์กองทัพเรือไทย และเป็นเรือรบที่มีความเก่าแก่เป็นอันดับ 2 ของโลก<ref>http://navy24.org/เรือหลวงแม่กลอง-ยอดเรื/</ref> ได้ผ่านการใช้งานในหน้าที่สำคัญหลายครั้ง เช่น เคยใช้เป็นเรือพระที่นั่งในรัชกาลที่ 8 และรัชกาลที่ 9 ร่วมรบในสงครามมหาเอเชียบูรพา และใช้เป็นเรือฝึกของทหารเรือ ปัจจุบันกองทัพเรือได้ดำเนินการอนุรักษ์และปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑ์เรือรบไทย เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสงานฉลองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี พุทธศักราช 2539 ตั้งอยู่ที่บริเวณริมน้ำปากอ่าวแม่น้ำเจ้าพระยา พื้นที่ใกล้กับพระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 5<ref>https://www.museumthailand.com/th/museum/Naval-Historical-Park</ref>
== พระราชบัญญัติบำรุงกำลังทางเรือ พ.ศ.๒๔๗๘ ==
กองทัพเรือได้พยายามดำเนินการจัดหาเรือรบไว้ป้องกันประเทศมาเป็นเวลานานประมาณ ๓๐ ปี ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ จนถึงสมัยรัชกาลที่ ๗ แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากติดขัดด้วยงบประมาณ มีไม่เพียงพอ จึงทำให้กองทัพเรือมีเรือรบไม่เพียงพอต่อการป้องกันประเทศทางทะเล "โครงการบำรุงกำลังทางเรือ" เพิ่งจะมาสำเร็จในสมัยรัชกาลที่ ๘ ปี พ.ศ. ๒๔๗๘ โดยมี นายนาวาเอก หลวงสินธุสงครามชัย (สินธุ์ กมลนาวิน) เสนาธิการทหารเรือ และรัฐมนตรีร่วมคณะรัฐบาลได้เสนอโครงการจัดหาเรือรบไว้ป้องกันประเทศใหม่อีกครั้งหนึ่ง ผ่านผู้บัญชาการทหารเรือ (นายนาวาเอก พระยาวิจารณ์จักรกิจ บุญชัย สวาทะสุข) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (นายพันเอก หลวงพิบูลสงคราม) จนถึงคณะรัฐบาล โดยทำเป็น "พระราชบัญญัติบำรุงกำลังทางเรือ พ.ศ.๒๔๗๘ " นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) นายกรัฐมนตรีเห็นชอบ จึงได้เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาในการประชุมสภาครั้งที่ ๖๒/๒๔๗๗ และได้รับอนุมัติจากสภาผู้แทนราษฎรในสมัยนั้น ประกาศใช้เป็นกฎหมายตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๔๗๘
 
กองทัพเรือจึงได้แต่งตั้งกรรมการพิจารณาโครงการบำรุงกำลังทางเรือขึ้น มีนายนาวาเอก พระยาวิจารณ์จักรกิจ รักษาราชการ ผู้บัญชาการทหารเรือเป็นประธาน และผู้ที่เป็นกำลังสำคัญของคณะกรรมการฯ คือ นายนาวาเอก หลวงสินธุสงครามชัย เสนาธิการทหารเรือในขณะนั้น นายนาวาเอก หลวงสินธุสงครามชัย ได้มีดำริที่จะสร้าง "เรือฝึกหัดนักเรียน" ขึ้นด้วยงบประมาณประจำปีของกองทัพเรืออยู่แล้วทั้งๆ ที่กำลังเสนอพระราชบัญญัติบำรุงกำลังทางเรือต่อรัฐบาล และสภาผู้แทนราษฎรด้วยพิจารณาเห็นว่า ร.ล.เจ้าพระยา "มีสภาพเหมาะที่จะเป็นเรือฝึกนักเรียนแต่ไม่เหมาะกับการ อวดธง" เพราะไม่มีอาวุธ ส่วน ร.ล.รัตนโกสินทร์ และ ร.ล.สุโขทัย "มีสภาพเหมาะกับการอวดธง แต่ไม่เหมาะกับการฝึก"
 
เรือที่สร้างขึ้นด้วยเงินงบประมาณตามพระราชบัญญัติบำรุงกำลังทางเรือ พ.ศ.๒๔๗๘ และเสริมด้วยงบประมาณประจำปีของกองทัพเรือ คือ
เรือปืนหนัก ๒ ลำ
เรือฝึกหัดนักเรียน ๒ ลำ
เรือตอร์ปิโดใหญ่ ๗ ลำ (ร.ล.ตราด และ ร.ล.ภูเก็ต สร้างด้วยงบประมาณพิเศษก่อนพระราชบัญญัติฯ นี้ )
เรือทุ่นระเบิด ๒ ลำ
เรือตอร์ปิโดเล็ก ๓ ลำ
เรือดำน้ำ ๔ ลำ
เรือลำเลียง ๒ ลำ
เครื่องบินทะเล ๖ เครื่อง และ
อาวุธยุทโธปกรณ์อื่นๆ เช่น ปืนใหญ่ ทุ่นระเบิด ฯลฯ
 
พระราชบัญญัติบำรุงกำลังทางเรือ พ.ศ.๒๔๗๘ ฉบับนี้นับว่าเป็น "ฉบับแรก ในประวัติศาสตร์ของกองทัพเรือ และของประเทศไทย" และเป็นฉบับเดียวมาจนตราบเท่าปัจจุบันนี้
 
== การสั่งต่อ ร.ล.แม่กลอง ==
คณะกรรมการฯได้พิจารณารายการของเรือฝึกหัดนักเรียนหรือเรือสลุป ๒ ลำนี้หลายครั้ง และมีมติให้ขอพระราชทานชื่อเรือฝึกหัดนักเรียน ๒ ลำนี้ว่า "ท่าจีน" และ "แม่กลอง" ในที่สุดกองทัพเรือได้ตกลงสั่งต่อเรือฝึกหัดนักเรียนหรือเรือสลุป ๒ ลำ และเรือตอร์ปิโดเล็ก ๓ ลำ จากประเทศญี่ปุ่น โดยว่าจ้างบริษัทมิตซุยบุชซันไกชาเป็นผู้ต่อเรือ แยกการต่อเรือจากอู่ต่อเรือ ๒ อู่ คือ ร.ล.ท่าจีน และ ร.ล.แม่กลอง ต่อที่อู่ต่อเรืออูรางา เมืองโยโกสุกะ ส่วนเรือตอร์ปิโดเล็ก ๓ ลำ ร.ล.คลองใหญ่ ร.ล.ตากใบ และร.ล.กันตัง ต่อที่อู่ต่อเรืออิชิกาวายิมา กรุงโตเกียว
[[ไฟล์:หลวงชาญจักรกิจ_ชมะนันทน์_ณ_อู่ต่อเรืออูรางา_เมืองโยโกสุกะ.jpg|thumb|หลวงชาญจักรกิจ ชมะนันทน์ ณ อู่ต่อเรืออูรางา เมืองโยโกสุกะ]]
กองทัพเรือได้ลงนามในสัญญาสั่งต่อเรือหลวงทั้ง ๕ ลำ เมื่อวันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๔๗๘ และ ได้ส่งนายนาวาเอก พระประกอบกลกิจ เป็นหัวหน้าควบคุมการต่อเรือทั้ง ๕ ลำ และนายนาวาโทหลวงชาญจักรกิจ เป็นผู้ควบคุมการต่อ ร.ล.แม่กลอง ให้เป็นไปตามสัญญาที่กำหนด
 
'''วัตถุประสงค์ในการต่อเรือสลุป ๒ ลำ'''
 
วัตถุประสงค์ในการต่อเรือสลุป ร.ล.ท่าจีน และ ร.ล.แม่กลอง มี ๒ ประการ คือ
 
๑. ในยามสงคราม ปฏิบัติภารกิจในการป้องกันประเทศทางทะเลในหน้าที่เรือสลุป สามารถทำการรบได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 
๒. ในยามสงบ ปฏิบัติภารกิจเป็นเรือฝึกนักเรียนทหาร และนายทหาร สำหรับฝึกภาคทะเลเป็นระยะทางไกลจนถึงเมืองท่าต่างประเทศ เพื่อให้นักเรียนทหาร นายทหาร และทหารได้รับความรู้ความชำนาญในการเดินเรือ และเป็นการอวดธงไปด้วย
 
==อ้างอิง==
ด้วยเหตุนี้ ร.ล.ท่าจีน และ ร.ล.แม่กลอง จึงเป็นเรือรบ "มีสภาพเหมาะที่จะเป็นทั้งเรือฝึกนักเรียน และเหมาะกับการอวดธงด้วย"<ref name=":0" />
{{reflist}}
<br /><br />