ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รถไฟเร็วเขตเมืองมิวนิก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Ponpan (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: {{ขนส่งมวลชน | name = S-Bahn München | image = S-Bahn-Logo.svg | imagesize = 50px | alt = | caption = | image2 = ET 423 244 MHAB.jpg | imagesize2...
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 06:17, 18 ธันวาคม 2563

รถไฟเร็วเขตเมืองมิวนิก หรือ เอ็ส-บาน มึนเชิน (เยอรมัน: S-Bahn München) เป็นระบบขนส่งมวลชนระบบรางไฟฟ้าในเมืองมิวนิก ประเทศเยอรมนี มีคุณสมบัติเป็นทั้งระบบขนส่งมวลชนเร็วและรถไฟชานเมือง ดำเนินงานโดย "เอ็ส-บานมึนเช่น" บริษัทลูกของ เดเบ เรกีโอ ไบเอิร์น (DB Regio Bayern) ซึ่งเป็นบริษัทลูกของการรถไฟเยอรมัน (Deutsche Bahn) นอกจากนี้ยังเข้าร่วม "สมาคมอัตราโดยสารและขนส่งมิวนิก" (Münchner Verkehrs- und Tarifverbund ย่อว่า MVV) และเชื่อมต่อกับระบบรถไฟใต้ดินมิวนิกที่ดำเนินงานโดยบริษัทท้องถิ่น

S-Bahn München
รถไฟเอ็ส-บาน ที่สถานีฮักเกอร์บรึคเค่อ (รุ่น Br 423)
รถไฟเอ็ส-บาน ที่สถานีฮักเกอร์บรึคเค่อ (รุ่น Br 423)
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งมิวนิก, ประเทศเยอรมนี
ประเภทระบบขนส่งมวลชนเร็ว, รถไฟชานเมือง
จำนวนสาย8
จำนวนสถานี149[1]
ผู้โดยสารต่อวัน840,000 คน-เที่ยว[2]
เว็บไซต์s-bahn-muenchen.de
การให้บริการ
เริ่มดำเนินงาน28 พฤษภาคม ค.ศ. 1972
ผู้ดำเนินงานเอ็ส-บานมึนเช่น
จำนวนขบวน238 (รุ่น BR423)
ข้อมูลทางเทคนิค
ระยะทาง434 กิโลเมตร
รางกว้าง1,435 mm (4 ft 8 12 in) (สแตนดาร์ดเกจ)
การจ่ายไฟฟ้า15 kV, 16.7 Hz AC (เหนือหัว)
ผังเส้นทาง

แผนผังเส้นทางระบบรถไฟเร็วเขตเมืองมิวนิก

"เอ็ส-บานมึนเช่น" ก่อตั้งเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม ค.ศ. 1972 เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการจัดหาระบบขนส่งที่เหมาะสมและเพียงพอเพื่อรองรับงานกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1972 ที่มิวนิกได้เป็นเจ้าภาพ ด้วยการเชื่อมระบบรถไฟชานเมืองที่มีอยู่เข้าด้วยกันโดยการสร้างอุโมงค์รถไฟใต้เขตเมืองเก่า จากสถานีรถไฟหลักมิวนิก (München Haupfbahnhof) ถึงสถานีมิวนิกตะวันออก (München Ostbahnhof) ซึ่งเชื่อมระบบรถไฟชานเมืองทั้งสองฝั่งที่แต่เดิมแบ่งเป็นฝั่งตะวันออกและตะวันตก

เส้นทาง

รถไฟเร็วเขตเมืองมิวนิกมีทั้งหมด 8 สาย ให้บริการพื้นที่เมืองมิวนิกชั้นในในลักษณะที่ทุกสายใช้รางคู่เพียงหนึ่งเส้นทางหรือเรียกว่า "Stammstrecke" (เส้นทางแกน) ในภาษาเยอรมัน ผ่านสถานีสำคัญต่าง ๆ กลางเมือง รับผู้โดยสารจากระบบรถไฟฟ้าใต้ดินและขนส่งมวลชนอื่น ๆ และแยกเส้นทางออกเป็นแต่ละสายเมื่อออกพื้นที่ชานเมืองและชนบทใกล้มิวนิก รถไฟเร็วเขตเมืองมิวนิกให้บริการด้วยความถี่หลัก 20 นาทีต่อขบวน บางเส้นทางให้บริการด้วยความถี่ 30-60 นาทีต่อขบวน ส่วนในชั่วโมงเร่งด่วนสามารถเพิ่มความถี่จาก 20 นาทีเป็น 10 นาทีต่อขบวนได้โดยการเพิ่มขบวนรถ เส้นทางทั้ง 8 สายแบ่งตามหมายเลขดังนี้

  ไฟรซิง / เทอร์มินัลสนามบินมิวนิก (ท่าอากาศยานมิวนิก) — น็อยฟาร์น — ล็อยช์เทินแบร์กริง
  เพเทอร์สเฮาเซิน / อัลโทมึนสเตอร์ — ดาเคา — แอร์ดิง
  มัมเมินด็อร์ฟ — ฮ็อลส์เคียร์เชิน
  เก็ลเทินด็อร์ฟ — เอเบอร์สแบร์ค
  ทูทซิง — เอเบอร์สแบร์ค
  ว็อลฟราทส์เฮาเซิน — คร็อยซ์ชตราเซอ
  แฮร์ชิง — เทอร์มินัลสนามบินมิวนิก (ท่าอากาศยานมิวนิก)
  พาซิง — เฮิลรีเกิลส์คร็อยท์

สถานี

ปัจจุบันมีสถานีที่ให้บริการรถไฟเร็วเขตเมืองมิวนิกทั้งสิ้น 149 สถานี โดยอยู่ในเมืองมิวนิก 41 สถานี และสถานีที่เหลือกระจายอยู่ในพื้นที่ 10 อำเภอ (Landkreis) รอบมิวนิก เป็นสถานีใต้ดินทั้งสิ้น 8 สถานี ในจำนวนดังกล่าวอยู่ในเส้นทางแกน (Stammstrecke) 5 สถานีและอีก 3 สถานีอยู่ในสาย  [3]

อ้างอิง

  1. "Bahnhof Freiham". สืบค้นเมื่อ 2019-02-20.
  2. "Daten zur S-Bahn München". สืบค้นเมื่อ 2019-09-10.
  3. Marco Völklein (2016-01-25). Vorbild Flughafen. Süddeutsche Zeitung. p. 39. ISSN 0174-4917.

แหล่งข้อมูลอื่น

  • เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ: S-Bahn München GmbH (เยอรมัน)