ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปฏิบัติการเวริเทเบิล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Matable (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: {{Infobox military conflict|conflict=ปฏิบัติการเวริเทเบิล|combatant1={{flag|United Kingdom}} <br>{{flag|Canada|1921}}|casualties2...
 
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 16:25, 12 ตุลาคม 2563

ปฏิบัติการเวริเทเบิล(ยังเป็นที่รู้จักกันคือ ยุทธการที่ไรชวัลด์) เป็นส่วนทางเหนือของเคลื่อนขบวนแบบก้ามปูของฝ่ายสัมพันธมิตรที่เกิดขึ้นในช่วงระหว่างวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ถึง 11 มีนาคม ค.ศ. 1945 ในช่วงสุดท้ายของสงครามโลกครั้งที่สอง ปฏิบัติการครั้งนี้ได้ถูกดำเนินการโดยกลุ่มกองทัพที่ 21 ของอังกฤษและแคนาดาของจอมพล เบอร์นาร์ด มอนต์โกเมอรี ส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยกองทัพแคนาดาที่หนึ่งภายใต้บัญชาการของพลโท Harry Crerar และกองทัพน้อยที่ 30 ของบริติชภายใต้บัญชาการของพลโท Brian Horrock

ปฏิบัติการเวริเทเบิล
ส่วนหนึ่งของ การบุกครองเยอรมนีของสัมพันธมิตรตะวันตกในแนวรบด้านตะวันตกของเขตสงครามยุโรปในสงครามโลกครั้งที่สอง

ปฏิบัติการเวริเทเบิลและบล็อกบัสเตอร์ (สีเหลือง) และเกรเนด (สีเขียว)
วันที่8 กุมภาพันธ์ ถึง 11 มีนาคม ค.ศ. 1945
(1 เดือน และ 3 วัน)
สถานที่
ป่าไรชวัลด์ (เยอรมนี), และพื้นที่บริเวณใกล้เคียง
51°44′N 6°02′E / 51.733°N 6.033°E / 51.733; 6.033
ผล ฝ่ายสัมพันธมิตรชนะ
คู่สงคราม
 สหราชอาณาจักร
 แคนาดา
 เยอรมนี
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
สหราชอาณาจักร เบอร์นาร์ด มอนต์โกเมอรี
แคนาดา Harry Crerar
สหราชอาณาจักร Brian Horrocks
นาซีเยอรมนี Alfred Schlemm
กำลัง
400,000 men[ต้องการอ้างอิง]
2,400 guns
35,000 vehicles
90,000 men
1,054 guns
700 mortars
ความสูญเสีย
15,634 casualties[a] ~44,239 casualties[b]
แม่แบบ:Campaignbox Central Europe แม่แบบ:Campaignbox Western Europe (1944-1945)

เวริเทเบิลเป็นการเคลื่อนขบวนแบบก้ามปูจากทางเหนือและเริ่มต้นด้วยกองทัพน้อยที่ 30 จะทำการรุกคืบผ่านไรชวัลด์(ป่าจักรวรรดิ) ในขณะที่กองพลทหารราบแคนาดาที่ 3 ซึ่งอยู่ในยานพาหนะสะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบก เข้าเคลียร์ตำแหน่งของเยอรมันในที่ราบลุ่มแม่น้ำไรน์ที่ถูกน้ำท่วม การรุกคืบของฝ่ายสัมพันธมิตรดำเนินไปได้ช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้และสูญเสียมากขึ้น สิ่งนี้ทำให้การรุกที่ล่าของสหรัฐอย่างปฏิบัติการเกรเนด การเคลื่อนขบวนแบบก้ามปูจากทางใต้ และในเวลาเดียวกันได้อนุญาตให้กองทัพเยอรมันภายใต้ผู้บัญชาการเยอรมันท้องถิ่น Alfred Schlemm ทำการรวบรวมกำลังเพื่อต่อกรกับการรุกคืบของเครือจักรภพ

การต่อสู้รบเป็นไปอย่างยากลำบาก แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรยังคงรุกต่อไป ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ครั้งหนึ่งได้เคลียร์ที่ไรชวัลด์และเมือง Kleve และ Goch อยู่ภายใต้การควบคุมของพวกเขา การรุกได้ถูกเปลี่ยนใหม่เป็นปฏิบัติการบล็อกบัสเตอร์และเข้าสมทบกับกองทัพสหรัฐที่เก้าใกล้กับ Geldern เมื่อวันที่ 4 มีนาคม หลังจากความสำเร็จของปฏิบัติการเกรเนด[2] การต่อสู้รบยังคงดำเนินต่อไป ในขณะที่เยอรมันพยายามที่จะรักษาหัวสะพานบนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำไรน์ที่เวเซิลและอพยพผู้คนและอุปกรณ์ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ในที่สุด เมื่อวันที่ 10 มีนาคม การถอนกำลังของเยอรมันได้สิ้นสุดลงและสะพานแห่งสุดท้ายได้ถูกทำลายลง

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Stacey, Chap 19, p. 522
  2. "Geilenkirchen to the Rhine". A Short History of the 8th Armoured Brigade. 2000. สืบค้นเมื่อ 26 May 2009.


  1. First Canadian Army losses from "8 February ... [to] ... 10 March were ... 1,049 officers and 14,585 other ranks; the majority of these were British soldiers". Canadian losses amounted to 379 officers and 4,925 other ranks, the vast majority being lost during Operation Blockbuster. Total allied losses in Operations Veritable/Blockbuster and Grenade amounted to 22,934 men.[1]
  2. Canadian First Army captured 22,239 prisoners during the operation, and the intelligence section estimated the number of German soldiers killed or made "long-term wounded" to have amounted to 22,000 men. In conjunction with Operation Grenade, the combined allied effort inflicted approximately 90,000 casualties on the German army.[1]