ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ผู้ใช้ใหม่เพิ่มลิงก์ไปยังเว็บอื่น การแก้ไขแบบเห็นภาพ
บรรทัด 27:
 
== ประวัติ ==
 
โรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา เดิมเป็นโรงเรียนเดียวกับโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ ในปี พ.ศ. 2496 จึงขออนุมัติแยกเป็นสองโรงเรียน โดยใช้นามใหม่ว่า "โรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา" มีบาทหลวงทองดี กฤษเจริญเป็นเจ้าของ นายเฉลิมวงศ์ ปิตรังสี เป็นผู้จัดการ นางนวม วานิชโช เป็นครูใหญ่ การเรียนการสอนดำเนินการมาด้วยดีเป็นลำดับ จนกระทั่งกระทรวงศึกษาธิการรับรองวิทยฐานะ เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2498 และดำเนินการมาจนถึงปัจจุบัน
 
    โรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา  เดิมเป็นโรงเรียนเดียวกับโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ ในปี พ.ศ. 2496 จึงขออนุมัติแยกเป็นสองโรงเรียน โดยใช้นามใหม่ว่า “โรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา” มีบาทหลวงทองดี กฤษเจริญ เป็นเจ้าของ นายเฉลิมวงศ์ ปิตรังสี เป็นผู้จัดการ นางนวม วานิชโช เป็นครูใหญ่ การเรียนการสอนดำเนินการมาด้วยดีเป็นลำดับจนกระทั่งกระทรวงศึกษาธิการรับรองวิทยฐานะ เมื่อวันที่ 21 มิถุนายม พ.ศ.2498 และดำเนินการมาจนถึงปัจจุบัน
 
         ดังได้กล่าวมาข้างต้นแล้วว่า แต่เดิมนั้นโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษาเป็นโรงเรียนเดียวกับโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์จึงใคร่ขอกล่าวถึงประวัติของโรงเรียน ตั้งแต่เมื่อครั้งยังเป็นโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ (สาขา) ไว้ที่นี่เพื่อเป็นกาแสดงกตัญญูกตเวทิตา ต่อท่านผู้ก่อตั้งโรงเรียนมาแต่แรกเริ่ม คือบาทหลวงเลโอ แปรูดอง ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดอัสสัมชัญ คุณพ่อเลโอ แปรูดอง จัดตั้งโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษาขึ้นซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม อัสสัมชัญคอนแวนต์ (สาขา) หรือโรงเรียนวัดอัสสัมชัญขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2476 (ค.ศ. 1933) โดยรับบุตรหลานของสัตบุรุษชายหญิงของวัดอัสสัมชัญมาฝากเรียนในบัญชีของโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ โดยทางโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์เป็นผู้รับผิดชอบ ครั้งแรกมีจำนวน 65 คน ซึ่งจำนวนนักเรียนฝากเรียนนี้ทวีขึ้นเป็นลำดับ จนกระทั่ง นักเรียนในบัญชีของโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์มีจำนวนรวมกันถึง 1,757 คน เป็นนักเรียนของโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ 848 คน และเป็นนักเรียนของวัดอัสสัมชัญในบัญชีฝากเรียนจำนวน 909 คน  ซึ่งนับเป็นจำนวน นักเรียนที่มากพอจะตั้งโรงเรียนขึ้นเป็นส่วนของโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา จึงขออนุญาตแยกโรงเรียนทั้งสองในปี พ.ศ. 2496 และตั้งชื่อโรงเรียนที่แยกออกมานี้ว่า “โรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา” จึงนับว่าโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษาถือ กำเนิดขึ้นโดยสมบูรณ์ ในปี พ.ศ. 2496 หลังจากที่เป็นโรงเรียนสาขาฝากเรียนอยู่ในบัญชีของโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2476 (ค.ศ.1933)
 
          ความดำริชอบของบาทหลวงเลโอ แปรูดอง ในการจัดตั้งสถานศึกษาขึ้นนั้น ประการหนึ่งเพราะความกรุณาแก่ปวง กุลบุตรและกุลธิดาของสัตบุรุษทั้งหลาย ซึ่งจะได้มีที่พึ่งในในการช่วยอบรมเสริมสร้างอนาคตให้แก่บุตรหลานของเขาให้เป็นผู้มีศีลธรรมจรรยาดี อีกประการหนึ่ง ก็คงจะเป็นเพราะเกิดความมีจิตเมตตาสงสารและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ของตัวท่านและในฐานะที่ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดอัสสัมชัญนี้เอง คงจะเป็นเหตุหนึ่งที่บรรดาสัตบุรุษผู้มีฐานะยากจนเป็นอันมากได้มาขอร้องท่านในเรื่องไม่สามารถจะหาเงินส่งบุตรหลาน ให้เข้าเรียนในสถานศึกษาที่ดีและเป็นโรงเรียนในสถานศึกษาคาทอลิกด้วยได้ เมื่อเป็นดังนี้ สถานศึกษา “แห่งความปราณี” แห่งนี้จึงได้จัดตั้งขึ้น เมื่อท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดอัสสัมชัญได้ไม่นานนักและท่านยังรับเป็นผู้อุปถัมภ์โรงเรียนนี้สืบมา
 
           สภาพของโรงเรียนเริ่มต้นจากโรงเรียนเล็กที่สุด และเจริญเติบโตใหญ่ขึ้นเป็นโรงเรียนใหญ่ที่มีคุณภาพยิ่งในกาลต่อมา เดิมตัวโรงเรียนประกอบด้วยเรือนไม้ชั้นเดียวเล็กๆ มีห้องเรียน 5 ห้อง มีครูประมาณ 4-5 คน นักเรียนส่วนใหญ่เป็นบุตรหลานของ สัตบุรุษคริสตังที่ยากจน บางคนก็มีค่าเล่าเรียนพอชำระอยู่บ้างไม่พอชำระบ้าง ผู้ใดยากจนจริงๆ ก็ได้รับความอุปการะจาก คุณพ่อ เลโอ แปรูดอง โดยไม่ต้องชำระค่าเล่าเรียนเลย ซึ่งนักเรียนประเภทนี้มีอยู่เป็นจำนวนมาก
 
            ด้วยความมานะพยายามของคุณพ่อ เลโอ แปรูดอง ในครั้งนั้น โรงเรียนอัสสัมชัญศึกษาเป็นโรงเรียนที่ทันสมัยและมีคุณภาพดีแห่งหนึ่ง มีนักเรียนมากจนไม่สามารถบรรจุนักเรียนได้ทั้งหมด อนึ่งในจำนวนนักเรียนดังกล่าวนี้ มีทั้งเด็กที่เป็นคาทอลิกและเด็กที่นับถือศาสนาอื่นด้วย นั่นย่อมหมายถึงว่าความกรุณานั้นไม่จำกัดอยู่เฉพาะในหมู่คาทอลิกเท่านั้น แม้เด็กที่ถือศาสนาอื่นก็ได้รับการเกื้อกูลจากคุณพ่อ เลโอ แปรูดองด้วย ทั้งๆ ที่ท่านเองก็มีภาระหนักทางด้านศาสนกิจมากพออยู่แล้ว
 
            น้ำใจเมตตาปราณีของคุณพ่อ เลโอ แปรูดอง นั้นเป็นที่ประจักษ์ชัดในบรรดาครูอาจารย์ทั้งหลายที่สอนอยู่ในโรงเรียนของท่าน ซึ่งนับได้ว่าอยู่ในความอุปการะของท่านอีกสถานหนึ่งเช่นเดียวกัน ทุกคนต่างมีจิตเลื่อมใสศรัทธาเห็นพร้องด้วยในเจตนาดีของคุณพ่อเลโอ แปรูดอง จึงเป็นแรงผลักดันให้บังเกิดความมานะสามัคคีพากเพียรตั้งใจ ทำการอบรมสั่งสอนเด็กนักเรียนให้เจริญด้วยวิทยาการ ศีลธรรมและจรรยามารยาทอันดีงาม สมดังปณิธานที่คุณพ่อเลโอ แปรูดอง ได้อุตส่าห์เสียสละความเหนื่อยยากทั้งกายและใจ สละความคิด ตลอดจนทุนทรัพย์ที่ต้องใช้จ่ายในการนี้ อีกทั้งคอยให้คำแนะนำแนวทางการดำเนินงาน แก่บรรดาคณะครูอาจารย์ตลอดมา จนกระทั่งเป็นที่เชื่อถือแก่บรรดาผู้ปกครองทั้งหลายโดยทั่วกัน
 
           เมื่อโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษาแยกตัวออกมาจากโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์นั้นได้เลือกบุคคลที่เคยดำเนินงานในโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์มาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 15 ปี มาดำเนินกิจการของโรงเรียนต่อไป
 
           หลังจากท่านบาทหลวงทองดี กฤษเจริญ มรณภาพ เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2508 หน้าที่ผู้จัดการโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษานั้น ท่านบาทหลวงวิลเลียม ตัน เป็นผู้ดำเนินงานต่อไป ท่านได้ดำเนินมาด้วยความราบรื่นและเจริญขึ้นเป็นลำดับเป็นนักพัฒนาโดยแท้ ด้วยความสามารถอันยอดเยี่ยมของท่าน อาคารเรียนไม้เก่า 3 หลังก็ได้กลายสภาพเป็นตึกอันโอ่โถง มีห้องเรียนและห้องอุปกรณ์ต่างๆ สมกับเป็นโรงเรียนที่ได้รับรองวิทยฐานะเทียบเท่าโรงเรียนของรัฐ นอกจากท่านจะดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดอัสสัมชัญและเป็นผู้จัดการโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษาแล้วท่านยังเอาใจใส่อบรมมารยาทแก่นักเรียนในความดูแลของท่าน และที่สำคัญก็คือท่านได้ถ่ายทอดวิชาความรู้ทางด้านภาษาต่างประเทศแก่ลูกศิษย์ระดับมัธยมของโรงเรียนสำเร็จไปแล้วหลายรุ่นซึ่งลูกศิษย์ทั้งหลายก็ ยังระลึกถึงพระคุณของท่านมิรู้ลืมเลือนตลอดไป
 
           สำหรับหลักสูตรการศึกษาของโรงเรียนทั้งสอง คงดำเนินไปเช่นเดียวกันโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์เปิดสอนชั้น ป.1–ป.4/ม.1–ม.3 (เทียบเท่า ป.7) โรงเรียนอัสสัมชัญศึกษาเปิดสอนชั้น ป.1–ป.4 เป็นสหศึกษา
{| class="wikitable"
| -> พุทธศักราช  2496
|ได้รับใบอนุญาตจัดตั้ง โรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา
|-
| -> ปีการศึกษา  2498
|วันที่ 21 มิถุนายน  กระทรวงศึกษาธิการรับรองวิทยฐานะเทียบเท่าโรงเรียนรัฐบาล
|-
| -> ปีการศึกษา  2503
|เลิกรับนักเรียนชาย  จนถึง พ.ศ. 2510  นักเรียนชายจึงหมดรุ่นไปจากโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา
|-
| -> ปีการศึกษา  2508
|สร้างอาคาร เทเรซา   อาคารเซซีลีอา และอาคารมารีอา
|-
| -> ปีการศึกษา  2516
|โรงเรียนปรับปรุงสนามใหญ่ และขยายตึกเรียนจากตึกมารีอาเดิมออกไปอีก สองปีก
|-
| -> ปีการศึกษา  2518
|เปิดแผนกอนุบาล  คุณพ่อชัชวาล แสงแก้วเป็นผู้ดูแล รับนักเรียนเพิ่มขึ้นเป็น 2,295 คน
|-
| -> ปีการศึกษา  2520
|ก่อตั้งสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา
|-
| -> ปีการศึกษา  2535
|ก่อตั้งสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา
|-
| -> ปีการศึกษา  2536
|จัดฉลองการก่อตั้งโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษาครบ 60 ปี
|-
| -> ปีการศึกษา  2540
|ต่อเติมชั้น  อาคารมารีอา  ปีกด้านตะวันออก  และส่วนกลางทำเป็นหอพักและที่พักซิสเตอร์
|-
| -> ปีการศึกษา  2542
|ปรับปรุงด้านอาคารสถานที่ โดยสร้างหลังคาคลุมสนามหลังอาคารมารีอาด้านติดวัดสวนพลู รื้อกำแพงโถงใต้ตึกมารีอาออกให้บริเวณใต้ตึกต่อเนื่องกับสนามที่สร้างหลังคาใหม่ ปรับขนาดห้องสมุดโดยขยายออกมาถึงระเบียงเดิม ทำให้กว้างและมีบรรยากาศโปร่งตาขึ้น
|-
| -> ปีการศึกษา 2543
|ขยายห้องเรียนระดับประถม จาก 4 ห้อง  เป็น 5 ห้อง  โดยใช้บริเวณชั้น 3-4 ของอาคารเซซีลีอาทำเป็นห้องเรียน 4 ห้อง ห้องพักครู 1 ห้อง และต่อเติมชั้น 5 อาคารมารีอา ปีกด้านตะวันตกทำเป็นห้องเรียนได้ 2 ห้องเรียนและห้องหมวดได้ 1 ห้อง สร้างลิฟท์ที่บริเวณหัวตึกมารีอา ต่อเติมชั้นลอยใต้ตึกมารีอาขึ้นอีก 1 ส่วน เป็นห้องคำสอน ห้องกิจการนักเรียน ห้องรับแขก และห้องเก็บของรวมทั้งส่วนซ่อมบำรุง ช่วงเวลาเดียวกันก็ได้มีการรื้อบ้านที่ได้คืนมาด้านติดวัดสวนพลูออกไป 2 หลัง ทำให้ลงมือสร้างอาคาร 6 ชั้นขึ้นที่บริเวณดังกล่าวในปีเดียวกันนี้เอง  นอกจากนั้น ยังได้มีการสร้างหลังคาถาวรขนาดใหญ่ขึ้นคลุมบริเวณสนามหน้าตึกมารีอา
ในปีการศึกษานี้มีการปรับปรุงระบบคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา 2 ห้อง ห้องบริการ 1 ห้อง ติดตั้งห้องคอมพิวเตอร์เพื่อการค้นคว้าบนInternet ที่ห้องสมุด จำนวน 8 เครื่อง และติดตั้งคอมพิวเตอร์ เพื่อการใช้งานให้ฝ่ายและหมวดต่างๆ
ในปีการศึกษา 2543 นี้ โรงเรียนอัสสัมชัญศึกษาได้รับการคัดเลือกจากกรมศาสนาให้เป็นสถานศึกษาที่จัดจริยศึกษาดีเด่นประจำปีการศึกษา 2542 ด้วย
นอกจากนั้น ทางโรงเรียนยังได้ขอรับประกันคุณภาพการศึกษาจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนด้วย
|-
| -> ปีการศึกษา 2543
|โรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา ได้รับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษา ระดับก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา ตั้งแต่ปีการศึกษา 2543 ถึงปีการศึกษา 2547
|-
| -> ปีการศึกษา 2543
|โรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา ได้รับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษา ระดับก่อนประถมศึกษา  ประถมศึกษา  และมัธยมศึกษา ตั้งแต่ปีการศึกษา2543  ถึงปีการศึกษา 2547
|-
| -> ปีการศึกษา 2545
|โรงเรียนได้ขยายหลักสูตรในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโดยแบ่งออกเป็น 2 แผนการเรียน คือแผนการเรียนวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ และแผนศิลป์ภาษา อังกฤษ-ฝรั่งเศส และในปีนี้ โรงเรียนได้เข้าร่วมเป็นโรงเรียนเครือข่ายนำร่องในการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในระดับชั้น ป.1, ป.4, ม.1 และ ม.4 นอกจากนั้นยังได้มีการสร้างห้องศูนย์สื่อสำหรับเด็กอนุบาลและโรงอาหาร ได้รับการตรวจจากสำนักงานรับรองคุณภาพมาตรฐานการศึกษา (สมศ.) ในปีการศึกษา 2545 โดยได้รับระดับคุณภาพ 3 ทุกมาตรา (14 มาตรา 53 ตัวบ่งชี้ ) ปีการศึกษา 2545 - 2549
|-
| -> ปีการศึกษา 2546
|โรงเรียนได้ขยายหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในโครงการโรงเรียนเครือข่ายนำร่องในระดับ ป.2, ป.5, ม.2 และ ม.5
|-
| -> ปีการศึกษา 2547
|กิจกรรมฉลองครบรอบ 72 ปี พร้อมมีพิธีวางศิลาฤกษ์ อาคารเรียนหลังใหม่ โดย ฯพณฯ พระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล มีชัย  กิจบุญชู  ในวันเสาร์ที่ 29 มกราคม 2548  เวลาประมาณ  17.00 น.
|-
| -> ปีการศึกษา 2548
|ได้ดำเนินการต่อเติมหลังคา  และติดตั้งพัดลมเพดานทุกห้องเรียนและห้องปฏิบัติการต่างๆ
|-
| -> ปีการศึกษา 2549
|ได้รับการรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.)  รอบสองระดับดีทุกมาตรฐาน
|-
| -> ปีการศึกษา 2550
|อาคารใหม่สร้างเสร็จ นักเรียนชั้น ป.5 – ม.6  ย้าย ทำการเรียน การสอนที่อาคารใหม่เดือนตุลาคม
|-
| -> ปีการศึกษา 2551
|เปิดรับนักเรียนชั้นมัธยมปลาย แผนกภาษาจีน – อังกฤษ
|-
| -> ปีการศึกษา 2552
|จดโดเมนเนมและเปิดใช้งานเว็บไซต์ <nowiki>http://www.as.ac.th</nowiki>
|-
| -> ปีการศึกษา 2553
|ปรับปรุงระบบเครือข่ายและเว็บไซต์
|-
| -> ปีการศึกษา 2554
|เปิดโครงการห้องเรียนทดลองวิทย์ (Gakken) จากประเทศญี่ปุ่น
เปิดรับนักเรียนชายในระดับปฐมวัย (เตรียมอนุบาลถึงอนุบาล 3)
เปิดใช้ห้องกระดานอัจฉริยะ (Smart Board) ในการเรียนการสอน จำนวนสองห้อง
ได้รับการรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) รอบสามระดับดีมากในทุกระดับ
ได้ทำพื้นสนามบาสใหม่ และทำอัฒจรรย์
|-
| -> ปีการศึกษา 2555
|ได้ปรับปรุงสนามบาสและพื้นลานสนามอาคารเธเรซา และทำหลังคาอัฒจรรย์
เปิดรับนักเรียน Special Intensive English Program ใช้ครูเจ้าของภาษา สอนใน 5 วิชา ระดับ ป.1-2
|-
| -> ปีการศึกษา 2556
|เปิดรับนักเรียน Special Intensive English Program ใช้ครูเจ้าของภาษา สอนใน 5 วิชา ระดับ ป.1-3
|-
| -> ปีการศึกษา 2557
|เปิดรับนักเรียน Special Intensive English Program ใช้ครูเจ้าของภาษาสอนใน 5 วิชา ระดับ ป.1-4 ม.1 และ ม.4
 
เปิดรับนักเรียน Gifted ห้องวิทย์-คณิต ระดับ ม.1 และ ม.4
 
ทำห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 3 ใหม่ ใช้ Computer All In One และ TV 4 ด้าน
 
ใช้อาคารห้องประชุมชั้น 4 เป็นโบสถ์ อาสนวิหารปิดปรับปรุงชั่วคราว
 
ได้รับการรับรองโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา ที่มีคุณภาพมาตรฐานสู่สากล
 
ผู้รับใบอนุญาตฯ ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระคาร์ดินัล จากองค์สมเด็จพระสันตปาปาฟรังซิส
|-
| -> ปีการศึกษา 2558
|เปิด Face book โรงเรียน <nowiki>https://www.facebook.com/assumptionsuksa.as</nowiki>
ติดตั้งสื่อโทรทัศน์มัลติมีเดียในห้องเรียน
|-
| -> ปีการศึกษา 2560
|ปรังปรุงอาคารเทเรซา ใหม่เป็นแผนกปฐมวัย ห้องสมุด ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องเครื่องเล่น ห้องดนตรี
เปิดการติดต่อทางโรงเรียนด้วย Line ID: <nowiki>http://line.me/ti/p/~assumpsuksa</nowiki>
|-
|
|สร้างสระว่ายน้ำแผนกปฐมวัย
|-
| -> ปีการศึกษา 2561
|ปรับปรุงห้องสมุด ระดับประถม
ติตตั้ง ระบบ Scan บัตรนักเรียนและผู้ปกครอง เข้า-ออก โรงเรียน
ติดตั้ง ระบบ ซื้ออาหารและอุปกรณ์เครื่องเขียน ผ่านบัตร Smart Card
|}
 
== สถานที่ตั้ง ==