ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สรรพสิริ วิรยศิริ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 50:
 
== ประวัติ ==
สรรพสิริเกิดเมื่อ[[วันอังคาร]]ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2463<ref>สรรพสิริ วิรยศิริ, เรารักรถไฟ, หนังสือชุดความรู้ไทยขององค์การค้าแห่งคุรุสภา, 2535</ref> เป็นบุตรชายคนเล็กของ[[พระยามหาอำมาตยาธิบดี (เสงเส็ง วิรยศิริ)]] อดีตราชเลขานุการในพระองค์ [[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]<ref>{{อ้างหนังสือ|ผู้แต่ง=[[พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์]]|ชื่อหนังสือ=เกิดวังปารุสก์ สมัยประชาธิปไตย|URL=|จังหวัด=กรุงเทพฯ|พิมพ์ที่=อมรินทร์พริ้นติ้ง|ปี=พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2494, พิมพ์ครั้งที่สิบ พ.ศ. 2532|ISBN=974-86938-5-6|จำนวนหน้า=360}} ภาคผนวกโดย สรรพสิริ วิรยศิริ</ref> กับนาฎ วิรยศิริ มีพี่สามคนคือ ทวีศักดิ์ เข็มน้อย และอนงค์นาฏ จบการศึกษาชั้น[[มัธยมศึกษา|มัธยม]]จาก[[โรงเรียนเทพศิรินทร์]] อนุปริญญาทาง[[กฎหมาย]]จากมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง (ปัจจุบันคือ [[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]]) และวิชาการถ่ายภาพจาก[[สถาบันการถ่ายภาพแห่งนิวยอร์ก]]
 
สรรพสิริเริ่มทำงานตั้งแต่ [[พ.ศ. 2484]] เป็นเจ้าหน้าที่ข่าวต่างประเทศ ของ[[กรมโฆษณาการ]] (ปัจจุบันคือ [[กรมประชาสัมพันธ์]]) และมี[[งานอดิเรก]]เป็นผู้สร้างสรรค์[[ภาพยนตร์]]โฆษณา โดยสร้าง[[แอนิเมชัน]]ในประเทศไทยเป็นคนแรก จากภาพยนตร์โฆษณาชุด''หนูหล่อ'' ของ[[ยาหม่องบริบูรณ์บาล์ม]], ชุด''หมีน้อย'' ของ[[นมตราหมี]] ซึ่งได้รับรางวัลชนะเลิศ โฆษณาดีเด่นระดับภูมิภาคเอเชีย ที่ประเทศ[[สิงคโปร์]] เมื่อ [[พ.ศ. 2486]] และชุด''[[แม่มดกับสโนไวท์]]'' ของ[[แป้งน้ำควินนา]]<ref>http://www.kartoon-discovery.com/history/history1.html</ref><ref>http://after2k.net/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&p=8547</ref>
 
จากนั้นเมื่อ [[พ.ศ. 2492]] เป็นบุคคลแรกที่เขียนบทความเรื่อง ''วิทยุภาพ'' ขึ้น และจอมพล[[จอมพล ป.แปลก พิบูลสงคราม]] ได้อ่านบทความดังกล่าวในปี [[พ.ศ. 2493]] จึงมีดำริในการก่อตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์ขึ้น โดยจัดตั้งในรูป[[บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด]] ขึ้นเมื่อ [[พ.ศ. 2495]]<ref>http://72.14.235.104/search?q=cache:abvhlusv7UoJ:uconnect.dpu.ac.th/dpupost/user/siwanard/folder/41/206.doc+%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B4+%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87+4&hl=th&ct=clnk&cd=3</ref> โดยสรรพสิริเข้าร่วมงานใน[[สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4]] (ปัจจุบันคือ สถานีโทรทัศน์ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี) ด้วยการเป็นช่างภาพ ผู้รับผิดชอบฝ่ายข่าว และเป็นผู้ประกาศข่าวทางโทรทัศน์รุ่นแรกๆ ร่วมกับ[[อาคม มกรานนท์]]<ref>http://intranet.prd.go.th/journal/content.php?No=1473</ref>
 
== บทบาทในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ==
ตั้งแต่ช่วงเช้าของวันที่ [[6 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2519]] สรรพสิรินั่งรถข่าวพร้อมนำกล้องภาพยนตร์ ไปบันทึกภาพ[[เหตุการณ์ 6 ตุลา|เหตุการณ์ความรุนแรง]] บริเวณรอบนอกมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จากนั้นก็นำกลับมาตัดต่อ และบรรยายภาพด้วยตนเอง ตามความเป็นจริงที่พบเห็นมา แล้วนำออกอากาศในช่วงบ่าย ทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 ส่งผลให้[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2519|คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน]] ที่นำโดย[[สงัด ชลออยู่|พลเรือเอก [[สงัด ชลออยู่]] ซึ่งกระทำ[[รัฐประหาร]]ในเย็นวันนั้น สั่งให้ปลดสรรพสิริออกจากทุกตำแหน่งใน บจก.ไทยโทรทัศน์ โดยทันที<ref>http://www.2519.net/autopage/show_page.php?t=10&s_id=21&d_id=2&page=29&start=21</ref> เป็นผลให้ต้องหลบไปพำนักที่[[จังหวัดระยอง]]เป็นเวลาหลายปี
 
== บั้นปลายชีวิต ==
เมื่อ [[พ.ศ. 2533]] สรรพสิริก่อตั้ง[[ชมรมเรารักรถไฟ]] และ[[หอเกียรติภูมิรถไฟ]] ซึ่งตั้งอยู่ภายใน[[สวนจตุจักร]]<ref>http://www4.sac.or.th/museumdatabase/detail_museum.php?get_id=01-090</ref><ref>http://www.muangboranjournal.com/modules.php?name=News&file=article&sid=867</ref> รวมทั้งจัดทำหนังสือ ''เพื่อนรถไฟ'' และ ''รถไฟของเรา'' ปัจจุบัน จุลศิริ วิรยศิริ ผู้เป็นบุตรชาย รับหน้าที่ดูแลแทน เนื่องจากสรรพสิริ ล้มป่วยลงด้วยอาการ[[อัลไซเมอร์]] ตั้งแต่ราวหลายปีก่อน ทั้งนี้ [[สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย]]ประกาศเกียรติคุณ ให้เป็นนักเขียนอาวุโส ผู้มีผลงานเป็นที่ยกย่องกว้างขวาง จึงเป็นหนึ่งในผู้ได้รับ[[รางวัลนราธิป]] ครั้งที่ 2 ประจำปี [[พ.ศ. 2545]] สรรพสิริถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ขณะมีอายุ 92 ปี<ref>[http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1350286519&grpid=03&catid=&subcatid= "สรรพสิริ วิรยศิริ" ผู้บุกเบิกวงการโทรทัศน์ไทย-ผู้บันทึกภาพเหตุการณ์6 ตุลา 19 เสียชีวิตแล้ว] จาก[http://www.matichon.co.th มติชนออนไลน์]</ref>
 
== อ้างอิง ==
บรรทัด 66:
 
{{รางวัลนราธิป}}
{{เกิดปีอายุขัย|2463}}{{ตายปี|2555}}
[[หมวดหมู่:บุคคลจากโรงเรียนเทพศิรินทร์]]
[[หมวดหมู่:บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]]
[[หมวดหมู่:นักเขียนชาวไทย]]
[[หมวดหมู่:ผู้ประกาศข่าวช่อง 9-โมเดิร์นไนน์ทีวี]]
[[หมวดหมู่:บุคคลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ 6 ตุลา]]
[[หมวดหมู่:ผู้มีชื่อเสียงทางโทรทัศน์ชาวไทย]]
[[หมวดหมู่:บุคคลจากโรงเรียนเทพศิรินทร์]]
[[หมวดหมู่:บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]]