ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไทยมาก
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 42:
เดิมพระองค์เป็นนายทหารในรัชกาล[[สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์]] ต่อมา พ.ศ. 2310 เกิด[[การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง]] พระองค์ได้เป็นผู้นำขับไล่ทหารพม่าที่ยึดครองกรุงศรีอยุธยาอยู่ในเวลานั้น และได้ปราบดาภิเษกเป็นพระเจ้ากรุงศรีอยุธยาอีกเจ็ดเดือนถัดมา<ref name="ปราบดาภิเษก">จรรยา ประชิตโรมรัน. (2548). '''สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช'''. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. หน้า 55</ref> โดยพระองค์ย้ายเมืองหลวงไปยัง[[อาณาจักรธนบุรี|กรุงธนบุรี]] และรวบรวมแผ่นดินซึ่ง[[สภาพจลาจลหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง|มีขุนศึกก๊กต่าง ๆ ปกครอง]]ให้กลับเป็นปึกแผ่นอีกครั้ง เช่นเดียวกับการขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ ยังทรงฟื้นฟูราชอาณาจักรในด้านต่าง ๆ ให้กลับคืนสู่สภาวะปกติหลังสงคราม ทั้งส่งเสริมกิจการด้านเศรษฐกิจ ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม วรรณกรรม และการศึกษา ภายหลังรัฐบาลไทยประกาศให้วันที่ 28 ธันวาคมของทุกปีเป็น "วันสมเด็จพระเจ้าตากสิน" และยังทรงได้รับสมัญญานาม[[รายพระนามกษัตริย์ที่ได้รับสมัญญานามมหาราช|มหาราช]]
 
พระองค์เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 เมื่อพระชนมพรรษา 48 พรรษา หลังถูก[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช|สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก]]ซึ่งเป็นพระสหายสำเร็จโทษ และสืบราชสมบัติต่อเป็นต้น[[ราชวงศ์จักรี]]ในปัจจุบัน รวมเวลาครองราชย์ 15 ปี พระองค์มีพระราชโอรสและพระราชธิดารวมทั้งสิ้น 30 พระองค์<ref name="บุตร-ธิดา">{{cite book|author=ธำรงศักดิ์ อายุวัฒนะ| title = ราชสกุลจักรีวงศ์ และราชสกุลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช| location = Bangkok| publisher = สำนักพิมพ์บรรณกิจ| ISBN = 974-222-648-2| page = 490| language = Thai}}</ref> พระองค์ทรงเป็นวีรกษัตริย์ของชาติไทยที่ประชาชนรู้จักดีและเป็นที่เคารพสักการะมากที่สุดพระองค์หนึ่ง นอกจากนี้ยังมีพระบรมราชานุสรณ์ของพระองค์มีประดิษฐานมากที่สุด
 
== พระราชประวัติก่อนเสด็จขึ้นครองราชย์ ==
บรรทัด 209:
สกุล ณ นคร สืบเชื้อสายชายสายตรงจากสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี<ref>Handley, p. 466</ref>
 
สุสานบรรจุฉลองพระองค์ของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีและพระบรมวงศานุวงศ์ตั้งอยู่ในอำเภอเฉิงไห่ มณฑลกวางตุ้งในประเทศจีนใน พ.ศ. 2464 เชื่อกันว่าผู้สืบเชื้อสายของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีส่งฉลองพระองค์นี้ให้ไปฝังตามธรรมเนียมจีน ซึ่งสนับสนุนการอ้างว่าที่แห่งนี้เป็นบ้านเกิดของพระบรมราชชนก<ref>{{cite book|title=Siam Chinese boat Chinese in Bangkok regend|year=2001|author=Pimpraphai Pisalbutr|publisher=Nanmee Books|page=93|isbn=974-472-331-9|language=th}}
</ref>