ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าจอมมารดาทิพเกษร ในรัชกาลที่ 5"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 4:
| image =
| caption =
| birth_name =
| birth_name = เจ้าทิพเกษร ณ เชียงใหม่
| birth_date = {{เทาเล็ก|ไม่ปรากฏ}}
| birth_place =
| residence =
บรรทัด 27:
'''เจ้าจอมมารดาทิพเกษร'''<ref name="ราชกิจจา">{{cite journal|journal= ราชกิจจานุเบกษา |volume= 19 |issue= 51 |pages= 996 |title= ข่าวอสัญกรรม |url= http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2445/051/996.PDF |date= 21 มิถุนายน พ.ศ. 2445 |language= ไทย }}</ref><ref>{{cite journal|journal= ราชกิจจานุเบกษา |volume= 20 |issue= 12 |pages= 180 |title= การกุศลปิดศพเจ้าจอมมารดาทิพเกษร |url= http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2446/012/180_3.PDF |date= 8 มีนาคม พ.ศ. 2445 |language= ไทย }}</ref> หรือสะกดว่า '''ทิพเกสร'''<ref name="ราชกิจจา1">{{cite journal|journal= ราชกิจจานุเบกษา |volume= 24 |issue= 48 |pages= 1306 |title= การเมรุวัดเทพศิรินทราวาศ ศพเจ้าจอมมารดาทิพเกสร เจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ ท่านผู้หญิงอู่ ท้าวภัณฑสาร เจ้าจอมเจิม |url= http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2450/048/1306.PDF |date= 1 มีนาคม พ.ศ. 2450 |language= ไทย }}</ref> เป็น[[บาทบริจาริกา]]ใน[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] เป็นธิดาของเจ้าสุริยะ ณ เชียงใหม่ (โอรสเจ้าหนานมหาวงศ์ ณ เชียงใหม่) กับเจ้าสุวัณณา ณ เชียงใหม่ (ธิดาในเจ้าอุตรการโกศล (น้อยมหาพรหม ณ เชียงใหม่)) ซึ่งทั้งสองท่านนับเป็นเจ้านายฝ่ายเหนือใน[[ราชวงศ์ทิพย์จักร]]<ref>[http://www.globalgroup.in.th/encyclopedia_lanna1_01.html รายพระนาม นาม เหล่าพระประยูรญาติ และ เชื้อสายเจ้านายฝ่ายเหนือ]</ref>
 
เจ้าอุตรการโกศล (น้อยมหาพรหม ณ เชียงใหม่) ซึ่งเป็นโอรสใน[[พระเจ้ามโหตรประเทศ]] เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่คนที่ 5 และเป็นตาของเจ้าทิพเกษร ได้พาท่านเข้าเฝ้าถวายเป็นบาทบริจาริกาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อ พ.ศ. 2419 และทรงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าทิพเกษรไปศึกษาขนบธรรมเนียมประเพณีอยู่ในสำนักของ[[เจ้าคุณพระประยุรวงศ์ (เจ้าคุณจอมมารดาแพ ในรัชกาลที่ 5)|เจ้าจอมมารดาแพ]] ผู้เป็นพระสนมเอกผู้ใหญ่ และยังโปรดเกล้าฯ ให้[[เจ้าพระยานรรัตนราชมานิต (โต มานิตยกุล)]] เป็นผู้อภิบาลดูแลเจ้าทิพเกษร<ref>เนื้ออ่อน ขรัวทองเขียว, ผศ. ดร. ''เปิดแผนยึดล้านนา''. กรุงเทพฯ : มติชน, 2559, หน้า 95</ref>
 
ต่อมาท่านมีประสูติการพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงมีฐานันดรศักดิ์เป็น '''"เจ้าจอมมารดาทิพเกษร"''' โดยพระราชโอรสเพียงพระองค์เดียวคือ [[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นสรรควิไสยนรบดี|พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ]] ซึ่งประสูติเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2427 ใน[[พระบรมมหาราชวัง]] ต่อมาทรง ''"กรมหมื่นสรรควิไสยนรบดี"'' ผู้เป็น "เจ้าชายนักเศรษฐศาสตร์ของไทย" ครั้น พ.ศ. 2429 เจ้าจอมมารดาทิพเกษรก็ถูกจำหน่ายจากตำแหน่งเจ้าจอม ออกไปประกอบธุรกิจส่วนตัว โดยรับซื้อและจำนองที่ดิน ทำให้ท่านมีตึกแถว และมีเรือกสวนไร่นาอีกหลายพันไร่ ถือเป็นเจ้าจอมที่ประกอบสัมมาอาชีพจนมีรายได้ด้วยตนเอง ภายหลังพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นสรรควิไสยนรบดีให้ถวายแก่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเพราะไม่มีกำลังพอที่จะดูแลมรดก<ref>สรัสวดี อ๋องสกุล (26 เมษายน 2562). "บทบาทของขัตยนารีในประวัติศาสตร์ล้านนา". ''วารสารประวัติศาสตร์''. หน้า 23-24</ref>