ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ค็อกเทล (วงดนตรี)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 22:
== ประวัติ ==
=== ช่วงแรกของวงและอัลบั้มแรก ''ค็อกเทล'' (พ.ศ. 2545–2546) ===
ค็อกเทลเริ่มต้นด้วยกลุ่มเด็กผู้ชายที่เล่นดนตรีมาด้วยกันตั้งแต่สมัยมัธยมศึกษาตอนปลายจากวง Fi-Fa และ Forte<ref name="story">{{cite web|url=http://www.facebook.com/notes/cocktail/story-of-cocktail/140623722647494 |title=story of cocktail ประวัติที่มาและการก่อตั้งวงค็อกเทล |publisher=facebook.com |date=12 กันยายน 2553 |accessdate=24 พฤศจิกายน 2557}}</ref> แรกเริ่มคำว่า ค็อกเทล นั้นไม่ใช่ชื่อวง แต่เป็นชื่อโปรเจกต์และชื่ออัลบั้มที่เสนอขึ้นโดยบู๊ วิศรุต เตชะวรงค์ เนื่องจากเป็นชื่อที่มีความหมายของการผสมกันของเครื่องดื่ม เปรียบเหมือนกับงานดนตรีของวงที่เป็นการรวมตัวของนักเรียนใน[[โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา]] พญาไท<ref>https://cheerscocktail.wordpress.com/category/uncategorized/page/4/</ref> และด้วยอีกเหตุหนึ่ง คือ ข้อสอบภาษาอังกฤษที่โรงเรียนออกในช่วงนั้น ออกเกี่ยวกับเรื่องค็อกเทลด้วย โดยการออกอัลบั้มวางขายกันในโรงเรียนเมื่อปี พ.ศ. 2545 และเริ่มสร้างชื่อเสียงให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้น กระทั่งออกอัลบั้มแรกชื่อ ''ค็อกเทล'' ซึ่งเป็นชื่อเดียวกับวงได้สำเร็จ
 
อัลบั้มแรกสุดของค็อกเทล ซึ่งจุดประสงค์ในการออกจำหน่ายอัลบั้มนี้แต่แรกเริ่มเดิมทีเป็นเพียงเพื่อการจัดจำหน่ายภายในโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาเท่านั้น แต่ต่อมาได้มีการวางจำหน่ายในร้านดีเจสยาม และ น้องท่าพระจันทร์ เป็นอัลบั้มที่เริ่มทำให้วงเป็นที่รู้จักในหมู่นักเรียนมัธยมปลาย และสร้างกลุ่มแฟนที่สนใจผลงานขึ้นมาได้บ้างในเวลานั้น อัลบั้มนี้มีเพลงที่เป็นที่รู้จักอย่าง "ซ้ำซ้อน" "หลบหน้า" และ "เศษซากความฝัน" ลักษณะของอัลบั้มใกล้เคียงความเป็นอัลบั้มรวบรวมมากกว่างานของค็อกเทลวงเดียว กล่าวคือเป็นการรวมตัวกันของนักดนตรีมัธยมปลายภายในโรงเรียนเตรียมอุดมหลาย ๆ วง โดยเพลง "หลบหน้า" และ "Nobody" เป็นเสียงร้องของ บู๊ วิศรุต เตชะวรงค์ ซึ่งเป็นนักร้องของ Skykick Ranger ในปัจจุบัน
 
=== อัลบั้ม ''36,000 ไมลส์อะเวย์ฟรอมเฮียร์'' (พ.ศ. 2546–2549) ===
หลังจากนั้นค็อกเทลก็ได้ออกอีพี ''อินไซด์'' (Inside) ในปี พ.ศ. 2546 เพื่อรองรับความสำเร็จที่เกิดขึ้นจากอัลบั้มแรก สมาชิกหลายคนในช่วงอัลบั้มแรกได้แยกย้ายกันไปศึกษาต่อกันในระดับอุดมศึกษา แต่สมาชิกที่ยังเหลืออยู่ 4 คน ได้แก่ โอม - ปัณฑพล ประสารราชกิจ (ร้องนำ), บู๊ - วิศรุต เตชะวรงค์ (กลอง), หลง - วิทวัศ หลงชมบุญ (เบส) และ ธิป - ธิปรัชต์ โชติบุตร (กีตาร์) ได้ตัดสินใจรวมตัวกันเป็นวง โดยตั้งใจจะใช้ชื่อว่า ค็อกเทล ต่อไป อย่างไรก็ตามแนวเพลงในอัลบั้มนี้ก็ยังไม่มีมีการกำหนดตายตัวแต่อย่างใด พวกเขาเริ่มต้นทำงานเพลงอัลบั้มที่ 2 ต่อไป โดยเริ่มแต่งเพลงในช่วงปลายปี พ.ศ. 2545 จนถึงกลางปี พ.ศ. 2547 และเริ่มบันทึกเสียงตั้งแต่ช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2547 ช่วงนั้น ธิป มือกีตาร์ ได้รับทุนไปศึกษาต่อที่ต่างประเทศ จึงต้องหามือกีตาร์คนใหม่ ซึ่งได้ เอกซ์ ปาริวัฒน์ สุวรรณชัย เข้ามาแทน<ref name="36,000">{{cite web|url=http://www.siamzone.com/music/n/1657 |title=อัลบั้ม 36,000 Miles Away From Here - ค็อกเทล |publisher=siamzone |date= |accessdate=24 พฤศจิกายน 2557}}</ref>
 
ต่อมาค็อกเทลได้ออกจำหน่ายอัลบั้มเต็มชุดที่ 2 ในชื่อ ''36,000 ไมลส์อะเวย์ฟรอมเฮียร์'' ในปี พ.ศ. 2547 เป็นอัลบั้มที่แนวทางของวงเปลี่ยนแปลงมาเป็นร็อกอย่างเต็มตัว แต่เนื่องจากเพลงในอัลบั้มนี้เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางแต่ไม่มีการโปรโมตวงดนตรีเท่าที่ควร ทำให้เกิดลักษณะของการที่เพลงเป็นที่รู้จักมากกว่าวง
บรรทัด 33:
=== อัลบั้ม ''อินเดอะเมโมรีออฟซัมเมอร์โรมานซ์'' (พ.ศ. 2549–2553) ===
{{บทความหลัก|อินเดอะเมโมรีออฟซัมเมอร์โรมานซ์}}
หลังจากอัลบั้มชุด ''36,000 ไมลส์อะเวย์ฟรอมเฮียร์'' ค็อกเทลได้มีสมาชิกใหม่อีก 2 คน คือ อายุ จารุบูรณะ อดีตมือกลองจาก Saliva Bastard และ เชา - ชวรัตน์ หรรษคุณาฒัย พร้อมกับทำผลงานอีพี ''Final Light'' ในปี [[พ.ศ. 2550]] และสตูดิโออัลบั้มชุดใหม่ในชื่อ ''[[อินเดอะเมโมรีออฟซัมเมอร์โรมานซ์]]'' (In the Memory of Summer Romance) โดยได้ใช้เวลาถึง 3 ปี อัลบั้มชุดนี้ออกจำหน่ายในปี [[พ.ศ. 2551]] มีแนวเพลงที่แตกต่างจากร็อกในอัลบั้มของค็อกเทลชุดก่อน มีเพลง "พันธนาการ" ที่เป็นดนตรีสังเคราะห์ที่ผสมผสานกับดนตรีร็อก นอกจากนี้อัลบั้มนี้ ยังได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลสีสันอวอร์ด ประจำปี 2551 สาขาเพลงบรรเลงยอดเยี่ยมจากบทเพลง "ดาราดับแสง" เวอร์ชันบรรเลงอีกด้วย ต่อมาค็อกเทลจึงได้เซ็นสัญญากับสังกัด[[จีนี่เรคคอร์ดส]]<ref name="genie">{{cite web|url=http://www.genie-records.com/news/cocktail_single1.html |title=genie records : COCKTAIL สมาชิกใหม่บ้านจีนี่ ปล่อยซิงเกิ้ลแรกใช้ชื่อเพลงว่า "เวลา" |publisher=genie-records.com |date= |accessdate=24 พฤศจิกายน 2557}}</ref>
 
=== อัลบัม ''เท็นเทาซันด์เทียส์'' (พ.ศ. 2553–2555) ===
บรรทัด 43:
=== อัลบั้ม ''เดอะลอดส์ออฟมิสเซอรี'' (พ.ศ. 2555–2558) ===
{{บทความหลัก|เดอะลอดส์ออฟมิสเซอรี}}
ในอัลบั้มนี้ ''[[เดอะลอดส์ออฟมิสเซอรี]]'' เป็นการกลับมาของมือเบส คือ ปาร์ค - เกริกเกียรติ สว่างวงศ์ ส่วนอายุ จารุบูรณะ ได้ขอลาออกไปทำตามคำสัญญากับเพื่อนมัธยมที่จะสร้างวงดนตรีด้วยกัน จึงได้ ฟิลิปส์ เปรมสิริกรณ์ได้ เข้ามาทำหน้าที่มือกลองแทน เปิดตัวด้วยเพลง "คุกเข่า" มีเพลง "โปรดเถิดรัก" เป็นเพลงแรกที่ได้ร่วมงานกับวง[[ออเคสตรา]]เต็มวง และเป็นเพลงที่ตัดออกมาจากประโยคเล็ก ๆ ในเพลง "[[เธอทำให้ฉันเสียใจ]]" ในสตูดิโออัลบั้มชุดที่แล้วของวง ''เท็นเทาซันด์เทียส์'' และนำมาขยายความ และเป็นเพลงแรกที่ทำมิวสิกวิดีโอเนื้อเรื่อง<!--คือได้พระเอกคือ อั๊ต [[อัษฎา พานิชกุล]] และนางเอกคือ ซาร่า บอลล์--> และเพลง "[[เธอ (เพลงค็อกเทล)|เธอ]]" เป็นการกลับมากำกับมิวสิกวิดีโอครั้งแรกในรอบ 20 ปีของ นิค [[วิเชียร ฤกษ์ไพศาล]] กรรมการผู้จัดการของค่าย โดยได้ภรรยาของโอมมาร่วมแต่งเพลงนี้อีกด้วย<ref name="the">{{cite web|url=http://www.genie-records.com/home/news/the-lords-of-misery-cocktail-album/ |title=The Lords Of Misery อัลบั้มใหม่ Cocktail วางแผงแล้ววันนี้ |publisher=genie-records.com |date=September 29, 2014 |accessdate=24 พฤศจิกายน 2557}}</ref>
 
นอกจากนี้ ยังได้มีการทำผลงานเพลงกับศิลปินอื่น โดยในปี พ.ศ. 2556 โอมได้ทำผลงานเพลง "ทางที่เลือก" ร่วมกับ ต้า [[พาราด็อกซ์]] และแอร์ [[เดอะมูสส์]] รวมถึงในปี พ.ศ. 2557 ค็อกเทลได้ทำผลงานเพลงคัฟเวอร์ "ข้าน้อยสมควรตาย" ของ[[บิ๊กแอส]] เพื่อนำไปประกอบภาพยนตร์ [[ตีสาม คืนสาม 3D]] และเพลง "หนังสือรุ่น" นำไปประกอบละครซี่รี่ย์ [[เพื่อนเฮี้ยน..โรงเรียนหลอน]] ต่อมาในปี พ.ศ. 2558 วงได้ออกซิงเกิลที่ห้าของอัลบั้มด้วยเพลง "[[คู่ชีวิต (เพลงค็อกเทล)|คู่ชีวิต]]" และมีกำหนดการจัดคอนเสิร์ตใหญ่ครั้งแรกของค็อกเทล ''เดอะฮาร์ตเลสไลฟ์'' ขึ้นในวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2558<ref>[http://www.thaiticketmajor.com/concert/concert-detail.php?sid=2868 Cocktail : The Heartless Live] thaiticketmajor.com</ref> จัดที่[[เมืองไทย จีเอ็มเอ็มไลฟ์เฮาส์]]