ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระยาฤทธิอัคเนย์ (สละ เอมะศิริ)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
พระยามโนเป็นฝ่ายเจ้า
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 19:
'''พันเอก พระยาฤทธิอัคเนย์''' สมาชิก[[คณะราษฎร]]ผู้ทำ[[การปฏิวัติสยาม|การเปลี่ยนแปลงการปกครอง]] เมื่อ [[พ.ศ. 2475]] จัดเป็น 1 ใน "4 ทหารเสือ" คือ [[ทหารบก]]ชั้นผู้ใหญ่ เป็นระดับผู้บังคับบัญชาและคุมกำลังพล ซึ่งประกอบด้วย [[พจน์ พหลโยธิน|พระยาพหลพลพยุหเสนา]], [[พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน)|พระยาทรงสุรเดช]], พระยาฤทธิอัคเนย์ และ[[พระประศาสน์พิทยายุทธ]]
 
พระยาฤทธิอัคเนย์ มีชื่อเดิมว่า '''สละ เอมะศิริ''' เกิดเมื่อวันที่ [[14 มกราคม]] [[พ.ศ. 2432]] เป็นบุตรชายของพระยามนูสารศาสตรบัญชา (ศิริ เอมะศิริ) และคุณหญิง เหลือบ เอมะศิริ
 
พระยาฤทธิอัคเนย์เป็นนาย[[ทหารปืนใหญ่]] ในช่วงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง มีตำแหน่งเป็น ผู้บังคับการ[[กรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์]] (ป. 1 รอ.) และถือเป็นผู้เดียวที่มีกองกำลังพลในบังคับบัญชา <ref>[http://www.maneebooks.com/German_capt/germ_02.html นักเรียนนายร้อยไทยในเยอรมัน ยุค ไกเซอร์ โดย [[สรศัลย์ แพ่งสภา]]]</ref> ใน[[สนธยา|เช้าตรู่]]ของวันที่ [[24 มิถุนายน]] พ.ศ. 2475 ที่เป็นวันเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้น พระยาฤทธิอัคเนย์ได้แสร้งทำเป็นเดินตรวจความเรียบร้อยของพาหนะต่าง ๆ ในสังกัดของตนเอง และเป็นผู้ออกคำสั่งให้ทหารปืนใหญ่ในบังคับบัญชาตนเองรวมพลกับ[[ทหารม้า]]จากกรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ (ม. 1 รอ.) เมื่อเดินทางมาถึง เพื่อต้อนขึ้น[[รถบรรทุก]]ไปยัง[[ลานพระบรมรูปทรงม้า]]เพื่อลวงเอากำลังมาเปลี่ยนแปลงการปกครอง ตามแผนของพระยาทรงสุรเดช จึงทำให้แผนการ[[ปฏิวัติ]]สำเร็จลุล่วงด้วยดี
บรรทัด 39:
ในวันที่ [[1 เมษายน]] [[พ.ศ. 2476]] ได้เกิด[[รัฐประหารในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2476|เหตุการณ์พระยามโนปกรณ์นิติธาดาสั่งปิดรัฐสภา และงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา]] พระยาทรงสุรเดช 1 ใน 4 ทหารเสือที่มีบทบาทสูงสุดในการปฏิวัติ มีความขัดแย้งกับคณะราษฎรฝ่ายทหารคนอื่น ๆ จึงชักชวนให้พระยาฤทธิอัคเนย์ และพระประศาสน์พิทยายุทธ ลาออกจากตำแหน่ง ซึ่งความขัดแย้งนี้ ต่อมาได้เป็นปฐมเหตุของการ[[รัฐประหารในประเทศไทย มิถุนายน พ.ศ. 2476|รัฐประหารในวันที่ 20 มิถุนายน]] ปีเดียวกัน<ref>[http://www.dailyworldtoday.com/newsblank.php?news_id=7830 จากรัฐประหาร20มิถุนายน2476สู่ความร้าวฉานในคณะราษฎร จาก[[โลกวันนี้]]]</ref>
 
ในรัฐบาลที่มี พระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นนายกรัฐมนตรี พระยาฤทธิอัคเนย์ ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการ[[กระทรวงเกษตราธิการ]] ถึง 2 สมัยพร้อมกันนี้ยังได้รับแต่งตั้งเป็น ข้าหลวงใหญ่เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2477<ref> [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2477/D/206.PDF ประกาศ ตั้งข้าหลวงใหญ่] </ref>
 
ต่อมาเมื่อ จอมพล [[ป.พิบูลสงคราม]] ขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในปี [[พ.ศ. 2482]] เกิดกรณี[[กบฏพระยาทรงสุรเดช]] ได้มีการกำจัดนักการเมืองและทหารฝ่ายที่อยู่ตรงข้าม จอมพล ป. พระยาฤทธิอัคเนย์ ได้ถูกแต่งตั้งให้เป็นกรรมการในคณะศาลพิเศษที่ถูกตั้งขึ้นมาพิจารณาในกรณีนี้ และได้ถูกแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิบดี[[กรมราชทัณฑ์]]ด้วย แต่ต่อมา ก็ต้องลี้ภัยการเมืองไปพำนักอยู่ยังเมือง[[ปีนัง]] [[ประเทศมาเลเซีย]] ด้วย ร้อยเอก ชลอ เอมะศิริ หลานชายของตนเองเป็นผู้ถูกจับกุมด้วย ตัวของพระยาฤทธิอัคเนย์มีรางวัลนำจับจากทางรัฐบาลเป็นจำนวนเงิน 10,000 บาท ซึ่งพระยาฤทธิอัคเนย์ก็ได้หลบภัยการเมืองจนสิ้นสุด[[สงครามโลกครั้งที่ 2]]