ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ในไอร์แลนด์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Bact (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
บรรทัด 44:
[[ไฟล์:Late_blight_on_potato_leaf_2.jpg|thumb|240px|จ้ำดำที่ปรากฏบนใบ[[มันฝรั่ง]]ที่โดย[[ไฟทอฟธอรา อินเฟสทันส]]]]
[[ไฟล์:Phytophtora_infestans-effects.jpg|thumb|240px|หัวมันฝรั่งที่ถูกเชื้อราที่ในที่สุดก็จะเน่าเละส่งกลิ่นเหม็น]]
ก่อนหน้าที่ “[[ไฟทอฟธอรา อินเฟสทันส]]” หรือที่เรียกว่า “[[รามันฝรั่ง]]” จะระบาดขึ้นในไอร์แลนด์ มันฝรั่งมีโรคหลักอยู่สองโรค<ref name="James S. Donnelly p. 40">James S. Donnelly, JR, ''The Great Irish Potato Famine'', Sutton Publishing (UK 2005 RP), ISBN 0-7509-2928-6, p. 40</ref> โรคหนึ่งเรียกว่า “dry rot” หรือ “taint” อีกโรคหนึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่เรียกกันว่า “curl”<ref name="James S. Donnelly p. 40" /><ref name="Kinealy, Christine 1995. p. 31">Kinealy, Christine. ''This Great Calamity: The Irish Famine 1845–52''. Gill & Macmillan: 1995. ISBN 1-57098-034-9, p. 31</ref> นักเขียนดับเบิลยู.ซี. แพดด็อคกล่าวว่า “[[ไฟทอฟธอรา อินเฟสทันส]]” เป็น [[oomycete|ราน้ำ]] (oomycete) ที่อันที่จริงแล้วไม่ใช่ “รา” ตามที่เข้าใจกัน<ref>W.C. Paddock, "Our Last Chance to Win the War on Hunger", 1992, Advances in Plant Pathology 8:197–222.</ref>
 
ในปี ค.ศ. 1851 การสำรวจจำนวนประชากรในไอร์แลนด์ของคณะราชกรรมาธิการบันทึกความเสียหายที่ต่างระดับกันของผลผลิตมันฝรั่งที่เกิดขึ้นถึงยี่สิบสี่ครั้งตั้งแต่ปี ค.ศ. 1728 เป็นต้นมา
บรรทัด 60:
วูดแดม-สมิธสรุปว่า “''ความไม่แน่นอนของผลผลิตมันฝรั่งกลายเป็นเรื่องที่ยอมรับกันเป็นปกติในไอร์แลนด์''”<ref>Woodham-Smith (1964), p. 38</ref>
 
จะเป็นวิธีใดหรือเมื่อใดที่ “[[ไฟทอฟธอรา อินเฟสทันส]]” เข้ามาเผยแพร่ในไอร์แลนด์นั้นไม่เป็นที่ทราบ แต่พี. เอ็ม. เอ. เบิร์คเชื่อว่ามิได้เกิดขึ้นก่อน ค.ศ. 1842 และอาจจะเข้ามาเผยแพร่ในปี ค.ศ. 1844 อย่างน้อยแหล่งข้อมูลแหล่งหนึ่งเสนอว่าอาจจะมาจากทางตอนเหนือของ[[เทือกเขาแอนดีส]]ใน[[อเมริกาใต้]] โดยเฉพาะจาก[[เปรู]] จากนั้นก็เข้ามาเผยแพร่ในยุโรปโดยมากับเรือที่บรรทุก [[guano|ปุ๋ยขี้นก]] (guano) ที่เป็นสินค้าที่เป็นที่ต้องการกันมากในการใช้เป็น[[ปุ๋ย]]ในการ[[เกษตรกรรม]]ในยุโรปและบริเตนมาขาย<ref>James S. Donnelly, JR, ''The Great Irish Potato Famine'', Sutton Publishing (UK 2005 RP), ISBN 0-7509-2928-6, p. 41</ref>
 
ในปี ค.ศ. 1844 หนังสือพิมพ์ไอร์แลนด์รายงานข่าวเกี่ยวกับเชื้อโรคที่ระบาดและทำความเสียหายแก่มันฝรั่งอยู่เป็นเวลาสองปีในอเมริกา<ref name="Kinealy, Christine 1995. p. 31" /> นักเขียนเจมส์ ดอนเนลลีกล่าวว่าต้นตอของเชื้อโรคน่าจะมาจากทางตะวันออกของ[[สหรัฐอเมริกา]]ที่ในปี ค.ศ. 1843 และ ค.ศ. 1844 เชื้อราทำลายพืชผลส่วนใหญ่เกือบทั้งหมด ดอนเนลลีเสนอว่าเรือที่เดินทางมาจาก[[บัลติมอร์]] [[ฟิลาเดลเฟีย]] และ [[นิวยอร์ก]] อาจจะเป็นการนำเชื้อโรครามันฝรั่งมายังเมืองท่าในยุโรป<ref>James S. Donnelly, JR, ''The Great Irish Potato Famine'', Sutton Publishing (UK 2005 RP), ISBN 0-7509-2928-6, p. 41</ref> ดับเบิลยู.ซี. แพดด็อคเสนอว่าเชื้อโรคมากับมันฝรั่งที่บรรทุกมาในเรือที่ใช้เลี้ยงผู้โดยสารในเรือรับส่งผู้โดยสารที่แล่นระหว่างอเมริกาและไอร์แลนด์<ref>W.C. Paddock, "Our Last Chance to Win the War on Hunger", 1992, Advances in Plant Pathology 8:197–222.</ref>
 
เมื่อเชื้อโรคมาถึงไอร์แลนด์ก็ระบาดอย่างรวดเร็ว เมื่อมาถึงปลายฤดูร้อนและต้นฤดูใบไม้ร่วงของปี ค.ศ. 1845 รามันฝรั่งก็ระบาดไปทั่วบริเวณตอนเหนือและตอนกลางของยุโรป [[เบลเยียม]] [[เนเธอร์แลนด์]] ตอนเหนือของ[[ฝรั่งเศส]] และทางใต้ของ[[อังกฤษ]] เมื่อกลางเดือนสิงหาคมมันฝรั่งทั้งหมดก็โดนเชื้อรา <ref name="James S. Donnelly p. 42">James S. Donnelly, JR, ''The Great Irish Potato Famine'', Sutton Publishing (UK 2005 RP), ISBN 0-7509-2928-6, p. 42</ref>
 
เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม นิตยสาร “''Gardeners' Chronicle and Horticultural Gazette''” ก็พิมพ์รายงานที่บรรยาย 'เชื้อราที่มีลักษณะที่ไม่เหมือนปกติ' ที่พบบน[[เกาะไวท์]] อาทิตย์หนึ่งต่อมาเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม นิตยสารก็รายงานว่า 'โรคร้ายระบาดในบรรดาแปลงมันฝรั่ง...ในเบลเยียมกล่าวกันว่าแปลงมันฝรั่งถูกทำลายทั้งแปลง ในตลาดคัฟแวนท์การ์เด็นแทบจะหามันฝรั่งที่ไม่มีเชื้อโรคได้...ถ้าพูดถึงวิธีการกำจัดโรคร้ายนี้ ก็เห็นจะไม่มี...'<ref>Cecil Woodham-Smith (1962) ''The Great Hunger: Ireland 1845–9'': 39–40</ref> รายงานเหล่านี้ตีพิมพ์อย่างละเอียดในหนังสือพิมพ์ไอริช<ref>Kinealy, Christine. ''This Great Calamity: The Irish Famine 1845–52''. Gill & Macmillan: 1995. ISBN 1-57098-034-9, p. 33</ref> เมื่อวันที่ 13 กันยายน<ref>Christine Kinealy, ''This Great Calamity'', Gill & Macmillan, 1994, ISBN 0-7171-4011-3 p. 32 put the date at the 16th</ref> นิตยสาร “''Gardeners' Chronicle''” ประกาศว่า: 'เราขอประกาศข่าวใหญ่ด้วยความเศร้าใจว่าเชื้อมันฝรั่งเมอร์เรนได้ประกาศตนเองในไอร์แลนด์อย่างไม่มีข้อกังขา แต่รัฐบาลบริติชก็ยังมีความหวัง[ว่าเหตุการณ์จะดีขึ้น]อยู่ต่อไปอีกหลายสัปดาห์'<ref>Cecil Woodham-Smith (1962) ''The Great Hunger: Ireland 1845–9'': 39–40</ref>
 
ความเสียหายของพืชผลในปี ค.ศ. 1845 ประมาณกันว่าสูงถึงราว 50% ของพืชผลทั้งหมด<ref>Christine Kinealy, ''This Great Calamity'', Gill & Macmillan, 1994, ISBN 0-7171-4011-3 p. 32</ref> ถึงหนึ่งในสาม<ref>Cormac Ó Gráda, ''Ireland's Great Famine: Interdisciplinary Perspectives, '' University College Dublin Press, 2006, ISBN 1-904558-57-7 p. 7</ref> คณะกรรมาธิการแมนชันเฮาส์ (The Mansion House Committee) ใน[[ดับลิน]] ที่เป็นที่รับจดหมายจากทั่วไอร์แลนด์อ้างว่าเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1845 ทางคณะกรรมาธิการก็ได้ประเมินผลเสียหายอย่าง 'ไม่มีข้อสงสัยว่าเกิดขึ้นกับหนึ่งในสามของพืชผลมันฝรั่งทั้งหมด ... ถูกทำลายไปเสร็จสิ้นแล้ว'<ref name="James S. Donnelly p. 42" />
 
ในปี ค.ศ. 1846 สามในสี่ของพืชผลก็สูญเสียไปกับเชื้อโรค<ref name="Liam Kennedy 1999, p. 69">Liam Kennedy, Paul S. Ell, E. M. Crawford & L. A. Clarkson, Mapping The Great Irish Famine, Four Courts Press, 1999, ISBN 1-85182-353-0 p. 69</ref> เมื่อมาถึงเดือนธันวาคม ผู้คนราวสามแสนห้าหมื่นคนของผู้ที่หมดหนทางก็ได้รับการจ้างโดยรัฐบาลให้ทำงานสาธารณะ (public works)<ref>David Ross (2002) ''Ireland: History of a Nation'': 311</ref> คอร์แม็ค โอเกรดากล่าวว่าการระบาดครั้งแรกทำให้เกิดความยากเข็ญในชนบทของไอร์แลนด์ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1846 ก็เริ่มมีบันทึกเป็นครั้งแรกถึงการสูญเสียชีวิตที่เกิดจากทุพภิกขภัย<ref>Cormac Ó Gráda, ''Ireland's Great Famine: Interdisciplinary Perspectives, '' University College Dublin Press, 2006, ISBN 1-904558-57-7 p. 9</ref> ในปี ค.ศ. 1848 หัวมันฝรั่งที่ใช้ในการเพาะก็เริ่มหายากขึ้น และแทบจะไม่มีการปลูกมันฝรั่งกัน ฉะนั้นแม้ว่าอัตราพืชผลจะเป็นระดับปกติ แต่ผลผลิตทั้งหมดก็เป็นเพียงสองในสามของจำนวนการปลูกตามปกติ ซึ่งทำให้วิกฤติการณ์ของทุพภิกขภัยก็ยังคงดำเนินต่อไป เมื่อชาวไอริช 3 ล้านคนต้องพึ่งมันฝรั่งเป็นอาหารหลัก ความหิวโหยและทุพภิกขภัยก็เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้<ref name="Liam Kennedy 1999, p. 69" />
 
== ปฏิกิริยาในไอร์แลนด์ ==