ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ราชวงศ์เมรอแว็งเฌียง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 8896291 สร้างโดย 2001:44C8:45C8:4666:1:0:DD9F:86C1 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
Anonimeco (คุย | ส่วนร่วม)
ปรับปรุงบางส่วน
 
บรรทัด 3:
'''ราชวงศ์เมรอแว็งเฌียง''' ({{lang-en|Merovingian}}; {{lang-fr|Mérovingiens}}; [[ค.ศ. 481]] - [[ค.ศ. 751]]; [[พ.ศ. 1024]] - [[พ.ศ. 1294]]) เป็นราชวงศ์ของชนเผ่าแฟรงก์หรือฟรอง ปกครองดินแดนฝรั่งเศสเป็นราชวงศ์แรกหลังเข้ายึดดินแดนโกล กษัตริย์พระองค์แรกของราชวงศ์คือพระเจ้า[[โคลวิสที่ 1]] (''Clovis I'') ทรงประกาศพระองค์เป็นคริสต์ศาสนิกชน ได้รับการสถาปนาเป็นกษัตริย์จากสมเด็จพระสันตะปาปา พระเจ้า[[โคลวิสที่ 1|โคลวิส]]ทรงขยายอาณาเขตของฝรั่งเศสไปเกือบครอบคลุมอาณาเขตประเทศในปัจจุบันและดินแดนทางตะวันตกของเยอรมนี หลังสิ้นพระชนม์อาณาจักรฝรั่งเศสแบ่งแยกเป็นส่วน ๆ อยู่ภายใต้การปกครองของพระโอรสหลายพระองค์ ก่อนที่จะรวมเป็นปึกแผ่นอีกครั้งในสมัยพระเจ้าโกลแตร์ที่ 1 (Clotaire I)
 
กษัตริย์ในยุคหลังที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือพระเจ้าดาโกแบร์ที่ 1 (Dagobert I) (ครองราชย์ พ.ศ. 1172-1182) หลังจากรัชสมัยของพระองค์ อาณาจักรฝรั่งเศสถูกแบ่งแยกเป็นเขตต่าง ๆ อยู่ในอำนาจของขุนนางนักรบหลายตระกูล ตระกูลที่มีอำนาจมากที่สุดคือตระกูลคาโรลินเจียนการอแล็งเฌียง (Carolingian) ขุนนางในตระกูลนี้เริ่มดำรงตำแหน่งสำคัญในราชสำนักและควบคุมกษัตริย์เมโรวินเจียนรอแว็งเฌียงจนไร้พระราชอำนาจ ในที่สุด เปแปง หัวหน้าตระกูลจึงถอดถอนพระเจ้าชิลเดริกที่ 3 (Childeric III) ออกจากราชบัลลังก์และตั้งตนเป็นกษัตริย์องค์ใหม่แห่งราชวงศ์คาโรลินเจียนการอแล็งเฌียง
 
== ต้นกำเนิด ==
บรรทัด 13:
 
=== กษัตริย์แห่งชาวแฟรงก์ ===
กษัตริย์แฟรงก์คนแรกที่รู้ชื่อ คือ พระเจ้าโคลดิโอ พระองค์ยึดครองกอลจนถึงแม่น้ำซอมม์และตั้งนคร[[ตูร์แน]]เป็นเมืองหลวง ผู้สืบทอดตำแหน่งต่อจากพระองค์ คือ พระเจ้าเมโรเวก ชื่อของพระองค์เป็นที่มาของชื่อราชวงศ์เมโรวิงเจียนรอแว็งเฌียงที่ปกครองชาวแฟรงก์จนถึงปี ค.ศ. 751 พระเจ้าเมโรเวกมีพระโอรส คือ พระเจ้าชิลเดอริก บาซินา พระมเหสีของกษัตริย์แห่งทูริงเงินทิ้งพระสวามีมาสมรสกับพระเจ้าชิลเดอริก ทั้งคู่มีพระราชบุตรด้วยกัน คือ [[โคลวิสที่ 1|พระเจ้าโคลวิส]]
[[ไฟล์:Chlodwigs taufe.jpg|thumb|ภาพพิธีศีลล้างบาปของพระเจ้าโคลวิส โดย[[นายช่างแห่งนักบุญไจลส์|นายช่างแห่งเซนต์ไจลส์]] คริสต์ศตวรรษที่ 15]]
พระเจ้าโคลวิสขึ้นครองบัลลังก์ในปี ค.ศ. 481 ขณะพระชนมายุ 15 พรรษา ในตอนนั้นราชอาณาจักรของพระองค์เป็นเพียงมุมเล็กๆเล็ก ๆ มุมหนึ่งของกอล ชาวแฟรงก์อีกกลุ่มหนึ่งปกครอง[[ไรน์ลันท์]] ในกอลตอนใต้มีราชอาณาจักรของ[[ชาววิซิกอท]]และ[[ชาวบูร์กอญ]] กอลตะวันตกเฉียงเหนือยังอยู่ภายใต้การปกครองของ[[จักรวรรดิโรมัน|ชาวโรมัน]]ซึ่งอ่อนแอมาก พระเจ้าโคลวิสจึงรุกรานพื้นที่ส่วนนั้นจนได้สมบัติมามากมาย จากนั้นพระองค์นำทัพไปปราบกองทัพโรมันที่นครซวยซงในปี ค.ศ. 486 ตลอดสิบปีต่อมาทรงพิชิตดินแดนอย่างต่อเนื่องจนแผ่ขยายไปถึง[[แคว้นเบรอตาญ]]และ[[แม่น้ำลัวร์]] พระองค์ปล่อยให้ชาวกอลเหล่านั้นปกครองดินแดนของตัวเองและให้ความเคารพนักบวชของศาสนาคริสต์นิกายออร์ธอด็อกซ์ ในปี ค.ศ. 493 พระองค์สมรสกับโคลทิลด์ พระนางเป็นชาวคริสต์และต่อมาได้เปลี่ยนศรัทธาของพระองค์จากลัทธิเพแกนเป็นศาสนคริสต์นิกายไนซีน บิชอปรามีได้ประกอบพิธีศีลล้างบาปให้พระองค์ที่นคร[[แร็งส์]] ทหาร 3000 นายได้เปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์ตามพระเจ้าโคลวิส การเปลี่ยนศาสนาอาจเป็นกุศโลบายเพื่อยึดครอง[[บริเวณเมดิเตอร์เรเนียน]] ประชาชนชาววิซิกอทและชาวบูร์กอญซึ่งนับถือศาสนาคริสต์นิกายออร์ธอด็อกซ์ไม่ไว้ใจผู้ปกครองที่นับถือ[[ลัทธิเอเรียส]]จึงสานสัมพันธไมตรี ทั้งในทางลับและอย่างเปิดเผย กับกษัตริย์แฟรงก์ซึ่งเป็นชาวคริสต์
 
[[พระเจ้าอลาริกที่ 2]] เล็งเห็นปัญหาและพยายามหาทางแก้ พระองค์ได้เชิญพระเจ้าโคลวิสมาประชุมร่วมกันที่อ็องบวซเพื่อจับมือเป็นพันธมิตรกัน แต่เมื่อกลับไปนคร[[ตูลูซ]] พระเจ้าอลาริกจับกุมบิชอปออร์ธอด็อกซ์จำนวนหนึ่งด้วยข้อหาสมคบคิดกับชาวแฟรงก์ พระเจ้าโคลวิสจึงเรียกประชุมสภาอัยการศึกและประกาศทำสงครามพิชิตชาวเอเรียส ในปี ค.ศ. 507 พระเจ้าอลาริกที่ 2 ถูกพระเจ้าโคลวิสสังหารและยึดสมบัติมากมายของพระองค์ไปจากนครตูลูซ พระเจ้าโคลวิสพักรบในช่วงฤดูหนาว จากนั้นทรงยกทัพไปปิดล้อมอ็องกูแลมซึ่งเจ้าเมืองยอมทำข้อตกลงกับพระองค์แต่โดยดี ชาวเอเรียสที่ถูกพิชิตถูกเปลี่ยนให้นับถือศาสนาคริสต์นิกายออร์ธอด็อกซ์ พระเจ้าโคลวิสได้ย้ายเมืองหลวงของพระองค์มาอยู่ที่นครปารีส ทรงสวรรคตในอีกสี่ปีต่อมาด้วยพระชนมายุ 45 พรรษา
 
== ยุคเรืองอำนาจของราชวงศ์เมโรวิงเจียนรอแว็งเฌียง ค.ศ. 511-614 ==
[[ไฟล์:Galswinthe & Chilperic00.jpg|thumb|ภาพพระเจ้าชิลเปอริกที่ 1 ฆ่ารัดคอพระนางกัลสวินทา จากมหาพงศาวการฝรั่งเศส ปี ค.ศ. 1375–1380]]
พระเจ้าโคลวิสมีพระโอรสหลายคน เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดสงครามแย่งชิงบัลลังก์ พระองค์ได้แบ่งราชอาณาจักรให้แก่พระโอรสทุกคน โดยยกปารีสให้[[ชิลเดอแบร์ที่ 1|ชิลเดอแบร์]], ยกออร์เลอ็องให้[[โคลโดแมร์]], ยกซวยซงให้[[พระเจ้าโคลทาร์ที่ 1|โคลทาร์]] และยกแม็สกับแร็งส์ให้[[เทอเดอริกที่ 1|เทอเดอริก]] กลุ่มอนารยชนเข้ายึด[[ทือริงเงิน]]ในปี ค.ศ. 530 ต่อด้วย[[แคว้นบูร์กอญ|บูร์กอญ]]ในปี ค.ศ. 534, [[พรอว็องส์]]ในปี ค.ศ. 536, [[รัฐบาวาเรีย|ไบเอิร์น]]และ[[ชวาเบิน]]ในปี ค.ศ. 555 พระเจ้าโคลทาร์ที่ 1 มีพระชนมายุยืนยาวกว่าพี่น้องทุกคน พระองค์จึงได้ครองครองราชอาณาจักรทั้งหมด กอลที่พระองค์ปกครองใหญ่กว่า[[ราชอาณาจักรฝรั่งเศส]]ในยุคต่อมา พระองค์สวรรคตในปี ค.ศ. 561 กอลถูกแบ่งอีกครั้งให้แก่พระโอรสสามคน คือ [[ซิเกอแบร์ที่ 1|ซิเกอแบร์]] ได้แร็งส์และแม็สที่รวมกันเป็นออสเตรเซีย (หรือพื้นที่ทางตะวันออก), [[กุนแทรม]] ได้บูร์กอญ และ[[ชิลเพริคที่ 1|ชิลเปอริก]] ได้ซวยซงที่เปลี่ยนชื่อเป็นเนิสเตรีย (หรือพื้นที่ทางตะวันตกเฉียงเหนือ)
บรรทัด 27:
พระเจ้าชิลเปอริกเป็นคนโหดเหี้ยม ฆ่าคนได้ราวกับผักปลา ทรงหมกมุ่นในกาม ละโมบโลภมาก และกระหายในทองคำ ทรงคบค้ากับชาวยิว หมางเมินศาสนาคริสต์ ทรงขายดินแดนในปกครองของบิชอปชาวคริสต์ให้แก่ผู้ที่เสนอราคาสูงสุด พระองค์ถูกแทงจนสวรรคตในปี ค.ศ. 584 ผู้ลงมืออาจเป็นคนของพระนางบรุนฮิลดา พระโอรสของพระองค์ได้ขึ้นครองราชย์เป็น[[พระเจ้าโคลทาร์ที่ 2]] แต่ด้วยยังเป็นทารก พระนางเฟรอเดอกุนดาจึงบริหารเนิสเตรียแทน พระนางมีทักษะฝีมือแต่คดโกงและโหดเหี้ยม ทรงส่งนักบวชหนุ่มไปสังหารพระนางบรุนฮิลดา แต่นักบวชหนุ่มทำไม่สำเร็จจึงถูกพระนางตัดมือตัดเท้า ในปี ค.ศ. 614 พระเจ้าโคลทาร์ที่ 2 สนับสนุนให้เหล่าขุนนางออสเตรเซียก่อปฏิวัติต่อพระนางบรุนฮิลดา พระนางถูกถอดจากตำแหน่งในวัย 80 พรรษาและถูกทรมานอยู่สามวันก่อนสวรรคต พระเจ้าโคลทาร์ที่ 2 ได้ครองทั้งสามอาณาจักร ทำให้ดินแดนแฟรงก์ถูกรวมเป็นหนึ่งเดียวอีกครั้ง
 
การลอบสังหาร, การทำปิตุฆาต, การเข่นฆ่าพี่น้อง, การทรมาน, การทำให้พิการ, การทรยศหักหลัง, การคบชู้ และการร่วมประเวณีกันในเครือญาติเกิดขึ้นซ้ำๆซ้ำ ๆ ในราชวงศ์เมโรวินเจียนรอแว็งเฌียงจนทำให้ประชาชนเริ่มเสื่อมศรัทธา ไล่มาตั้งแต่พระเจ้าชิลเปอริกที่สั่งทรมานซิกิลาผู้เป็นชาวกอทอย่างโหดเหี้ยมทารุณ, พระเจ้า[[ชาริแบร์ที่ 1|ชาริแบร์]]ที่มีสนมเป็นสองพี่น้องซึ่งคนหนึ่งเป็นแม่ชี และ[[พระเจ้าดาโกแบร์]]ซึ่งมีพระมเหสีพร้อมกันสามคนในเวลาเดียว แต่กษัตริย์เมโรวิงเจียนรอแว็งเฌียงอาจมีกรรมพันธุ์เป็นหมัน ในบรรดาพระโอรสสี่คนของพระเจ้าโคลวิสมีพระเจ้าโคลทาร์เพียงคนเดียวที่มีลูก ในบรรดาพระโอรสสี่คนของพระเจ้าโคลทาร์ก็มีพระโอรสเพียงคนเดียวที่มีลูก กษัตริย์หลายคนสมรสตอนพระชนมายุ 15 พรรษาและสวรรคตก่อนพระชนมายุ 28 พรรษา ในปี ค.ศ. 614 ราชวงศ์เมโรวิงเจียนรอแว็งเฌียงเริ่มเสื่อมอำนาจและถูกแทนที่
 
== การขึ้นมาของราชวงศ์การอแล็งเฌียง ==
[[ไฟล์:Beaux-Arts de Carcassonne - Le dernier des Mérovingiens - Evariste-Vital Luminais -Joconde 04400000403.jpg|thumb|ภาพพระเจ้าชิลเดริกกำลังถูกกล้อนผม ในภาพวาด ''เมรอแว็งเฌียงคนสุดท้าย'' ของเอวารีสตา วีตัล ลิวมีเน]]
ราชวงศ์เมโรวิงเจียนรอแว็งเฌียงดูยิ่งใหญ่เมื่อเข้าสู่ยุคของพระเจ้าโคลทาร์ที่ 2 ไม่เคยมีราชวงศ์ใดปกครองดินแดนใหญ่โตขนาดนี้มาก่อน แต่ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความช่วยเหลือจากกลุ่มขุนนางออสเตรเซียและบูร์กอญ พระเจ้าโคลแทร์จึงให้อิสระแก่กลุ่มดังกล่าวมากขึ้น ชาวออสเตรเซียและชาวบูร์กอญได้ปกครองดินแดนที่ใหญ่ขึ้นและได้เลือกขุนนางคนหนึ่ง คือ เปแป็งที่ 1 ผู้อาวุโส เป็น “[[สมุหราชมนเทียร]]” เป็นผู้ควบคุมดูแลครัวเรือนของกษัตริย์และพระราชอาณาเขต ในช่วงที่กษัตริย์เมโรวิงเจียนรอแว็งเฌียงหมกมุ่นอยู่กับโลกีย์และการเข่นฆ่ากันเอง สมุหราชมนเทียรเริ่มมีอำนาจมากขึ้นเรื่อยๆเรื่อย ๆ จนเริ่มกลืนกินราชสำนัก กองทัพ และระบบการเงิน ในยุคของพระเจ้าดาโกแบร์ (ค.ศ. 628-639) สมุหราชมนเทียรถูกจำกัดอำนาจ พระเจ้าดาโกแบร์เป็นกษัตริย์ที่ดูแลทั้งคนรวยและคนจนอย่างเท่าเทียม ทรงทำทุกอย่างเพื่อให้ประชาชนอยู่ดีกินดี แต่ทรงมีพระราชินีสามคนในเวลาเดียวกันและมีชายานอกสมรสอีกมากมาย ทั้งยังทรงมัวเมาในกาม หลังยุคของพระองค์ กษัตริย์เมโรวิงเจียนกลายรอแว็งเฌียงกลายเป็นเพียง “กษัตริย์ไม่เอาถ่าน” อำนาจตกไปอยู่ที่สมุหราชมนเทียรอีกครั้ง [[เปแป็งแห่งเอร์สตัล|เปแป็งที่ 2 ผู้อ่อนวัยกว่า]]ปกครองกอลทั้งหมดยกเว้น[[แคว้นอากีแตน|อากีแตน]] บุตรชายของเปแป็งที่ 2 คือ [[ชาร์ล มาร์แตล]] ครองตำแหน่งเป็นสมุหราชมนเทียรและดยุคแห่งออสเตรเซีย ปกครองกอลทั้งหมดในยุคของ[[พระเจ้าโคลทาร์ที่ 4]] (ค.ศ. 717-719) ชาร์ลได้ขับไล่ชาวฟริเชียและชาวซัคเซินที่เข้ามารุกรานกอลและทำสงครามในตูร์จนสามารถปกป้องยุโรปส่วนคริสต์จากชาวมุสลิม แต่เมื่อเกิดวิกฤตทางการเงิน ชาร์ลได้ริบดินแดนมาจากคริสตจักร ขายดินแดนในปกครองของบิชอปให้เหล่าแม่ทัพ ตั้งค่ายทหารในพื้นที่อาราม และตัดหัวพระที่ต่อต้านตน
 
ในปี ค.ศ. 751 [[พระเจ้าเปแป็งพระวรกายเตี้ย|เปแป็งที่ 3]] บุตรชายของชาร์ลซึ่งเป็นสมุหราชมนเทียรใน[[พระเจ้าชิลเดริกที่ 3|พระเจ้าชิลเดอริกที่ 3]] ได้ส่งทูตไปเข้าเฝ้า[[สมเด็จพระสันตะปาปาซาคารี]]เพื่อถามว่าการปลดหุ่นเชิดจากราชวงศ์เมโรวิงเจียนออกรอแว็งเฌียงออกจากตำแหน่งเพื่อขึ้นเป็นกษัตริย์แทนเป็นการกระทำที่เป็นบาปหรือไม่ ในตอนนั้นพระสันตะปาปาซาคารีกำลังต่อกรอยู่กับชาวลอมบาร์ดและต้องการการสนับสนุนจากแฟรงก์จึงตอบไปว่าไม่เป็นบาป เปแป็งจึงเรียกประชุมกลุ่มขุนนางและเหล่าพระราชาคณะที่ซวยซง ที่ประชุมได้เลือกเปแป็งเป็นกษัตริย์แห่งชาวแฟรงก์ กษัตริย์ไม่เอาถ่านคนสุดท้ายถูกกล้อนผมและส่งเข้าอาราม นำมาสู่จุดเริ่มต้นของราชวงศ์การอแล็งเฌียงที่ปกครองตั้งแต่ ค.ศ. 751-987
 
== อ้างอิง ==