ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Phyblas (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
พงศ์พิสุทธิ์ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 77:
ก่อนที่ดินแดนคองโกจะตกอยู่ภายใต้การปกครองของชาติตะวันตก ดินแดนคองโกเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของ[[ชาวปิ๊กมี่]] (Pygmy) จากนั้น[[ชนเผ่าบันตู]] (Bantu) ได้เริ่มเข้ามายึดครองพื้นที่และตั้งถิ่นฐานในบริเวณนี้ และเริ่มมีการจัดระบบการปกครองโดยมีกษัตริย์เป็นประมุข มีการทำเกษตรกรรม และการใช้วัสดุอุปกรณ์ที่ทำจากเหล็ก ในศตวรรษที่ 16 ดินแดนคองโกแบ่งการปกครองออกเป็นหลายราชอาณาจักร โดยอาณาจักรที่มีความสำคัญ ได้แก่ [[ราชอาณาจักรลูบา]] (Luba Kingdom) และ[[สหพันธรัฐคูบา]] (Kuba Federation) ซึ่งทั้งสองอาณาจักรได้เจริญรุ่งเรืองถึงที่สุดในศตวรรษที่ 18 เมื่อเข้าสู่ช่วงต้นศตวรรษที่ 19 ดินแดนคองโกเริ่มเสื่อมถอยลง เนื่องจากมีหลากหลายชนชาติ อาทิ อาหรับ สวาฮิลี Nyamwezi เข้าไปทำการค้า และเข้าปล้นสะดมชนพื้นเมืองเพื่อบังคับให้เป็นทาส รวมทั้งฆ่าช้างเพื่อเอางา นอกจากนี้ ยังเริ่มแผ่ขยายอิทธิพลของตนจนแทรกซึมไปทั่วดินแดนคองโก ทำให้ดินแดนคองโกอ่อนแอลง
 
ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 สมเด็จพระเจ้าเลโอโปลด์ที่ 2 แห่งเบลเยียมได้มอบหมายให้นาย [[Henry Mortan Stanley]] เดินทางสำรวจที่ลุ่มแม่น้ำคองโก ซึ่งเป็นดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก และแหล่งทรัพยากร ตลอดจนแร่ธาตุที่สำคัญมากมาย โดยเฉพาะเพชร จากนั้นเบลเยี่ยมเบลเยียมจึงเข้ายึดครองดินแดนคองโก โดยกำหนดให้คองโกมีสถานะเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และเป็นแหล่งทรัพยากรของ สมเด็จพระเจ้าเลโอโปลด์ที่ 2 และใน [[การประชุมเบอร์ลิน]] ปี 2427-2428 (ค.ศ. 1884-1885) ชาติตะวันตกให้การรับรองว่าดินแดนคองโกเป็นของกษัตริย์เบลเยียม โดยมีชื่อว่า [[เสรีรัฐคองโก]] หลังจากนั้น เบลเยียมได้สร้างเส้นทาง[[คมนาคม]]เพื่ออำนวยความสะดวกในการขนถ่ายสินค้า และได้นำทรัพยากรจากคองโกไปใช้เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังดัดแปลงรูปแบบเกษตรกรรมโดยให้ชาวคองโกเน้นการปลูกและแปรรูปยางพาราเพื่อส่งไปยังเบลเยี่ยมเบลเยียมที่อยู่ในช่วงพัฒนาประเทศ และเริ่มให้บริษัทเอกชนเบลเยี่ยมเข้ามาทำเหมืองแร่ อาทิ เพชร อัญมณี และแร่ธาตุที่สำคัญอื่นๆ
 
ความต้องการบริโภคทรัพยากรธรรมชาติและการกดขี่แรงงานชาวกองโกอย่างหนัก ทำให้ในปี 2451 (ค.ศ. 1908) ชาติตะวันตกอื่นๆ ไม่พอใจ และกดดันให้เบลเยี่ยมเปลี่ยนสถานะของคองโกจากทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เบลเยียมมาเป็นประเทศอาณานิคมของรัฐบาลเบลเยียมโดยใช้ชื่อเป็น [[คองโกของเบลเยียม]] แทน การเปลี่ยนสถานะประเทศส่งผลให้สภาพความเป็นอยู่ของชาวคองโกดีขึ้น โดยประชาชนได้รับการศึกษาและได้ใช้ประโยชน์จากระบบสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ที่เบลเยียมสร้างไว้ ต่อมานาย [[Joseph Kasavubu]] และนาย [[ปาทริส ลูมูมบา]] ได้มีบทบาทแข็งขันในการเรียกร้องเอกราชให้คองโก นอกจากนี้ ฝรั่งเศสยังสนับสนุนชาวคองโกให้ลงประชามติเพื่อกำหนดสถานะของชาติตนได้ การพยายามเรียกร้องเอกราชเป็นเหตุให้เกิดการจลาจลในกรุง[[กินซาชา]]ในปี 2502 (ค.ศ. 1959) ซึ่งเบลเยี่ยมเบลเยียมไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ ทำให้เบลเยี่ยมเบลเยียมได้มอบเอกราชให้แก่คองโกในวันที่ 30 มิถุนายน 2503 (ค.ศ. 1960)
 
หลังจากได้รับเอกราช คองโกได้จัดการเลือกตั้ง โดยนาย Lulumba ได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีและนาย Kasavubu เป็นประมุขของรัฐ อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ภายในประเทศคองโก ยังอยู่ในความไม่สงบ เนื่องจากยังคงมีการต่อสู้ระหว่างรัฐบาลกับกลุ่มกบฏต่างๆ และสถานการณ์ทวีความซับซ้อนมากขึ้นเมื่อกองกำลังทหารเบลเยี่ยมที่ถูกส่งเข้ามายังคองโก โดยให้เหตุผลว่า เพื่อปกป้องชาวเบลเยี่ยมเบลเยียมและภาคเอกชนที่ยังไม่สามารถกลับเบลเยี่ยมได้เบลเยียมได้
 
ความไม่สงบได้แพร่ขยายไปยังหลายพื้นที่และเกิดการแย่งชิงอำนาจ ทำให้เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2503 (ค.ศ. 1960) [[คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ]] (United Nations Security Council: UNSC) ได้รับรองข้อมติ UNSC ที่ 143 (1960) จัดตั้งภารกิจสหประชาชาติในคองโก (United Nations Operation in Congo: ONUC) เพื่อยืนยันการถอนกองกำลังเบลเยี่ยมเบลเยียมออกจากคองโก สนับสนุนรัฐบาลจัดระเบียบ ความเรียบร้อยภายในรัฐ และ รักษาบูรณภาพแห่งดินแดนคองโก อย่างไรก็ตาม โดยที่ภารกิจสหประชาชาติไม่สามารถละเมิดกิจการภายในประเทศได้ ความขัดแย้งระหว่างผู้นำประเทศได้ก่อตัวขึ้นส่งผลให้นาย Kasavubu ปลดนาย Lulumba ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ต่อมาเมื่อวันที่ 14 กันยายน Colonel Joseph Mobutu (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น Mobutu Sese Seko) ผู้บัญชาการทหารคองโกได้ปลดนาย Kasavubu ออกจากตำแหน่ง
 
ความขัดแย้งในคองโกยังดำเนินต่อไปและมีการแบ่งดินแดนออกเป็นส่วนย่อย จนกระทั่งปี 2508 (ค.ศ. 1965) นาย Mobutu ได้เข้าควบคุมพื้นที่ได้สำเร็จและขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี สังกัดพรรค Popular Movement of the Revolution (MPR) โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 7 ปี
 
หลังจากเข้ารับตำแหน่ง นาย Mobutu บริหารประเทศแบบรวมศูนย์ โดยได้ยกเลิกสำนักนายกรัฐมนตรี ให้ประธานาธิบดีมีอำนาจจัดตั้งรัฐบาล วางนโยบายส่งเสริมความเป็นแอฟริกันที่แท้จริง (African Authenticity) วางแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศด้วยการส่งเสริมให้ต่างชาติเข้ามาลงทุน รักษาความสัมพันธ์อันดีกับประเทศตะวันตก และสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีน และได้เปลี่ยนชื่อประเทศเป็นซาอีร์ (Zaire) ในปี 2514 (ค.ศ. 1971) อย่างไรก็ตาม การบริหารงานของนาย Mobutu เต็มไปด้วยความผิดพลาด ทำให้เกิดปัญหาการคอร์รัปชั่น การบริโภคทรัพยากรธรรมชาติอย่างสิ้นเปลือง การนำคนเผ่าเดียวกันกับตน (เผ่า Ngbanda) มาบริหารประเทศจนก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างชนเผ่าภายในประเทศ จากเหตุผลดังกล่าว ทำให้ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลนาย Mobutu นำโดยกลุ่มต่อต้านที่ใหญ่ที่สุด คือ กลุ่ม Front Liberation Nationale du Congo (FNLC) พยายามทำรัฐประหารเพื่อแยกดินแดน Katanga (อยู่ทางตอนใต้ของประเทศ) แต่ไม่สำเร็จ เนื่องจากรัฐบาลนาย Mobutu ได้รับความช่วยเหลือจากกองกำลังทหารของฝรั่งเศส เบลเยี่ยมเบลเยียม และโมร็อกโก
 
นาย Mobutu พยายามแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นภายในประเทศโดยการวางนโยบายปฏิรูปทางการเมือง ทำให้ชาติตะวันตกเกิดความพอใจและเริ่มบริจาคเงินช่วยเหลือซาอีร์มากขึ้น แต่ประเทศกลับไม่พัฒนาอย่างที่ควรจะเป็น เนื่องจากนาย Mobutu ได้ยกเลิกโครงการพัฒนาประเทศต่างๆ ส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศเลวร้ายลงเรื่อย และในปี 2533 (ค.ศ. 1990) นาย Mobutu อนุญาตให้จัดตั้งพรรคการเมืองอื่นในซาอีร์ได้ แต่นาย Mobutu มีอำนาจเหนือพรรคการเมืองทั้งหมด ทำให้กลุ่มผู้ต่อต้านนาย Mobutu มีจำนวนมากขึ้น และต้องการขับไล่นาย Mobutu ให้พ้นจากตำแหน่ง