ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระยาศรีสิทธิสงคราม (ดิ่น ท่าราบ)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 20:
จบการศึกษาจาก[[โรงเรียนนายร้อยทหารบก]] ด้วยการสอบได้ที่ 1 จึงได้ทุนการศึกษาไปศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยทหารบกเยอรมัน ร่วมรุ่นเดียวกับ [[พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)]] และ[[พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน)]] โดยทั้ง 3 สนิทสนมกันมาก จนได้รับ[[ฉายา]]จาก[[พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอดิศรอุดมศักดิ์]] ว่าเป็น "สามทหารเสือ" เช่นเดียวกับ [[สามทหารเสือ]] ใน[[นวนิยาย]]ชื่อเดียวกันของ[[Alexandre Dumas|อเล็กซังเดรอ ดูมาส์]] [[นักเขียน]][[ชาวฝรั่งเศส]]
 
พระยาศรีสิทธิสงคราม ได้ศึกษาที่[[จักรวรรดิเยอรมัน|ประเทศเยอรมัน]]นานถึง 10 ปี ก่อนจะเดินทางกลับมายังประเทศไทย มีความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่ราชการอย่างรวดเร็ว โดยได้รับยศเป็น [[พันเอก]] (พ.อ.) ตั้งแต่เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2471 ขณะอายุได้ 37 ปี<ref> [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2471/D/545.PDF พระราชทานยศ] </ref>และได้รับ[[บรรดาศักดิ์ไทย|บรรดาศักดิ์]]เป็น พระยา เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2474<ref> [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2474/D/472_1.PDF พระราชทานบรรดาศักดิ์ (หน้า ๔๗๓)] </ref> ขณะอายุได้ 40 ปี
 
ใน[[การปฏิวัติสยาม|การเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อปี]] [[พ.ศ. 2475]] นั้น พระยาศรีสิทธิสงครามได้ถูกชักชวนให้เข้าร่วมด้วย แต่พระยาศรีสิทธิสงครามไม่ขอเข้าร่วม เนื่องจากยึดมั่นในคำถวายสัตย์ แต่ก็ไม่ต่อต้าน โดยในวันที่ [[24 มิถุนายน]] ปีเดียวกันนั้นที่เกิดเหตุการณ์ ตัวของพระยาศรีสิทธิสงครามก็ได้ซ่อนตัวอยู่ในบ้านพักของพระยาพหลพลหยุหเสนาทั้งวัน<ref>หน้า 15, ''บันทึกพระยาทรงสุรเดช'' ([[พ.ศ. 2524]]) โดย [[นรนิติ เศรษฐบุตร]] และ[[ชาญวิทย์ เกษตรศิริ]]</ref>