ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อาริสโตเติล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 106:
 
งานเขียนของแอริสตอเติลว่าด้วยการเคลื่อนที่ยังมีอิทธิพลอยู่จนสมัยใหม่ตอนต้น กล่าวกันว่ากาลิเลโอแสดงด้วยการทดลองว่าข้ออ้างของแอริสตอเติลเรื่องวัตถุที่หนักกว่าจะตกลงสู่พื้นเร็วกว่าวัตถุที่เบากว่าไม่ถูกต้อง ส่วน[[คาร์โล โรเวลลี]] นักวิทยาศาสตร์ชาวอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 20 มีความเห็นแย้งว่า ฟิสิกส์การเคลื่อนที่ของแอริสตอเติลถูกต้องในขอบเขตความสมเหตุสมผล ที่ว่าวัตถุในสนามความโน้มถ่วงของโลกจมอยู่ในของไหลเช่นอากาศ ในระบบนี้ วัตถุที่หนักกว่าตกลงอย่างคงที่เดินทางเร็วกว่าวัตถุที่เบากว่า (ไม่ว่าคิดแรงเสียดทานหรือไม่) และวัตถุจะตกลงช้าลงในตัวกลางที่หนาแน่นกว่า
 
==== สี่เหตุ ====
แอริสตอเติลเสนอว่าเหตุผลของทุกสิ่งสามารถบอกได้ว่ามาจากปัจจัยสี่ชนิด
* เหตุวัตถุ (material cause) อธิบายวัตถุของประกอบขึ้นเป็นวัตถุ ตัวอย่างเช่น เหตุวัตถุของโต๊ะคือไม้ ไม่ใช่เหตุเกี่ยวกับการกระทำ ไม่ได้หมายความว่าโดมิโนแท่งหนึ่งล้มทับอีกแท่งหนึ่ง
* เหตุรูปนัย (formal cause) เป็นรูปของวัตถุ คือ การจัดเรียงของสสาร เป็นการบอกว่าสิ่งหนึ่งคืออะไร สิ่งนั้นตัดสินจากนิยาม รูป แปรูป สารัตถะ ภาวะสังเคราะห์หรือแม่แบบ กล่าวอย่างง่ายว่า เหตุรูปนัยคือความคิดที่อยู่ในใจของประติมากรซึ่งนำให้ปั้นประติมากรรมนั้น ตัวอย่างอย่างง่ายของเหตุรูปนัยคือภาพทางจิตหรือความคิดซึ่งทำให้ศิลปิน สถาปนิกหรือวิศวกรวาดภาพ
* สัมฤทธิเหตุ (efficient cause) เป็น "บ่อเกิดปฐมภูมิ"เสนอว่าตัวการทุกชนิด ทั้งที่ไม่มีชีวิตหรือมีชีวิต ที่เป็นบ่อเกิดของการเปลี่ยนแปลง การเคลื่อนที่หรือการหยุดนิ่ง เหตุดังกล่าวครอบคลุมนิยามสมัยใหม่ของ "สาเหตุ" ว่าเป็นตัวการหรือเหตุการณ์เฉพาะหรือสภาพหนึ่ง
* อันตเหตุ (final cause, telos) เป็นวัตถุประสงค์ สาเหตุที่มีหรือทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ตรงกับความคิดเหตุจูงใจ (motivating cause) สมัยใหม่ เช่น ความจงใจ (volition) ในกรณีสิ่งมีชีวิต ส่อความถึงการปรับตัวกับวิถีชีวิตเฉพาะ
 
== อ้างอิง ==