ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาษีอากรในประเทศไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 36:
ประมวลรัษฎากรยกเว้นกิจการบางประเภทที่ไม่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น กิจการที่ขายพืชผลทางการเกษตร การขายสัตว์และผลพลอยได้ของสัตว์ การขายปุ๋ย การขายอาหารสัตว์ การขายยาหรือเคมีภัณฑ์สําหรับพืชหรือสัตว์ การขายหนังสือพิมพ์ นิตยสารหรือตําราเรียน การให้บริการขนส่ง การให้บริการรักษาพยาบาล เป็นต้น รวมทั้งผู้ประกอบการที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี<ref name="ชัยสิทธิ์"/>{{rp|449}} ยกเว้นการนำเข้าสินค้าบางประเภท เช่น พืชผลทางการเกษตรซึ่งรวมถึงวัตถุพลอยได้จากพืช การนําเข้าปุ๋ย อาหารสัตว์ ยาหรือเคมีภัณฑ์ นค้าจากต่างประเทศที่นําเข้าไปในเขตอุตสาหกรรมการส่งออก เป็นต้น<ref name="ชัยสิทธิ์"/>{{rp|449}} กิจการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 เช่น สินค้าส่งออกที่ผลิตในเขตปลอดอากร การขายสินค้าหรือการให้บริการระหว่างผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการในเขตปลอดอากรหรือเขตอุตสาหกรรมส่งออก หรือระหว่างคลังสินค้าทัณฑ์บนด้วยกันหรือระหว่างคลังสินค้าทัณฑ์บนกับผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการในเขตปลอดอากร เป็นต้น<ref name="ชัยสิทธิ์"/>{{rp|449}}
 
การศึกษาของ TDRI พบว่า อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มที่แท้จริงนั้นเฉลี่ยต่ำกว่าร้อยละ 7 และลดลงตามรายได้ของผู้ประกอบการโดยต่ำสุดคิดเป็นอัตราเฉลี่ยร้อยละ 4<ref name="ชัยสิทธิ์"/>{{rp|449}} นอกจากนี้พบว่ากลุ่มสินค้าส่วนใหญ่มีโครงสร้างอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มแท้จริงมีอัตราลักษณะถดถอย (regressive)<ref name="ชัยสิทธิ์"/>{{rp|450}} อีกแม้ว่าโครงสร้างภาษีมูลค่าเพิ่มจะมีลักษณะก้าวหน้าเมื่อพิจารณาตามรายจ่ายครัวเรือน แต่การศึกษาหนึ่งพบว่า เมื่อพิจารณาการกระจายภาระภาษีมูลค่าเพิ่มของกลุ่มครัวเรือนตามรายได้กลับพบว่าโครงสร้างภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นแบบถดถอย (regressive) เนื่องจากผู้ประกอบการที่ผลักภาระภาษีให้ผู้บริโภคทั้งหมดทำให้ภาระภาษีของครัวเรือนที่มีรายได้น้อยที่สุดเพิ่มขึ้น<ref name="ชัยสิทธิ์"/>{{rp|455}}
 
=== ภาษีสรรพสามิต ===