ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าฟ้างุ้ม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 102:
 
==พระราชประวัติเชิงความเชื่อทางศาสนาในคัมภีร์อุรังคธาตุ==
คัมภีร์อุรังคธาตุระบุพระราชประวัติพระยาฟ้างุ้มต่างจากเอกสารทั่วไปคงเพื่ออ้างความชอบธรรมในการครองราชย์และในฐานะองค์ศาสนูปถัมภก เนื้อความปรากฏในพุทธทำนายว่าถิตะกุนปิฤษีอยู่ป่าหิมพานต์มีอายุ ๒ กัป ได้พาพระยา ๒ องค์ซึ่งปกครองเมืองกุลุนทนครไปบวชเป็นฤษีคืออมรฤษีและโยธิกฤษี พระยาสุมิตตธัมมะวงศากษัตริย์มรุกขนครจุติแล้วเกิดในเมืองพาราณสีบวชเป็นฤษีอาศัยที่เดียวกับอมรฤษีและโยธิกฤษี จากนั้นไปตั้งเมืองที่ดอยนันทกังฮีชื่อเมืองศรีสัตนาคเพราะมีนาค ๗ หัวเป็นนิมิต แต่นั้นพระพุทธศาสนาก็ตั้งมั่นอยู่ในเมืองศรีสัตนาคสืบมา อมรฤษีจุติเกิดใหม่เป็นกุมารแล้วนำลูกแมวไปไหลน้ำทิ้งจนตาย เวรกรรมนั้นได้สนองกุมารเมื่อจุติแล้วเกิดในเมืองศรีสัตนาคเป็นพระยาฟ้างุ้มหรือพระยาทุกขตะไหลน้ำ ครั้นกุมารเจริญพระชนม์จึงถูกไหลน้ำเหมือนลูกแมวจนไปถึงที่อยู่มหาเถรโดยมีพวกเทวดาเฝ้ารักษา มหาเถรนำกุมารมาเลี้ยงจนโตและสั่งสอน ฝ่ายกุมารให้คำสัตย์ต่อมหาเถรว่าจะตั้งอยู่ในคำสอน เมื่อเจริญพระชนม์กุมารกลายเป็นผู้มีความรู้ความฉลาดมากจึงมารบเอาบ้านน้อยเมืองใหญ่แล้วตั้งเป็นบ้านเมืองใหญ่โต จากนั้นตั้งพระพุทธศาสนาในดอยนันทกังฮีศรีสัตนาค พระยาทุกขตะมีความปรารถนาเป็นพุทธบิดาในอนาคตแต่มักประพฤติในทางมิจฉาจาร ครั้นสิ้นบุญแล้วเพราะมีจิตตั้งมั่นไม่หวั่นไหวจึงจุติเกิดในเมืองพาราณสีออกบวชเป็นฤษีนามทุกขตะฤษีอาศัยอยู่ในที่เดิม<ref>อุดร จันทวัน, '''นิทานอุรังคธาตุ (ฉบับลาว): อุดร จันทวัน ปริวรรตจากอักษรลาว''', จัดพิมพ์เผยแพร่โดย วิทยาลัยสงฆ์เลย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, (ขอนแก่น: หจก. โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา, ๒๕๔๗), หน้า ๑๕-๑๖.</ref><ref>พจนีย์ เพ็งเปลี่ยน, '''นิทานอุรังคธาตุฉบับหลวงพระบาง''', (กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม, ๒๕๔๓), หน้า ๔๗.</ref> พระยาฟ้างุ้มในชาติอมรฤษีเคยสร้างบารมีร่วมกับโยธิกฤษี พระยาสุมิตธัมมะวงศาเมืองมรุกขนคร พระยาปุตตจุลณีพรหมทัตเมืองจุลณีพรหมทัต พระยาจุลอินทปัฐนครเมืองอินทปัฐนคร พร้อมพระอรหันต์ทั้ง ๕ โดยร่วมนำอูบมุงหินยอดภูเพ็กมาสถาปนาพระอุรังคธาตุที่ภูกำพร้าแล้วอธิษฐานเป็นพุทธบิดาบวชในพระพุทธศาสนาให้สำเร็จพระอรหันต์ ซึ่งพระอรหันต์ทั้ง ๕ เป็นผู้อวยพรให้สมคำอธิษฐาน<ref>พระครูพุทธวงศ์ และคณะ (คณะกรรมการจัดพิมพ์หนังสือในงานฌาปนกิจศพ), '''หนังสือนิทานอุรังคะทาต: พิมพ์เผยแผ่เป็นธรรมทานเนื่องในพิธีฌาปนกิจศพอดีตสังฆนายกแห่งพระราชอาณาจักรลาว (พระลูกแก้ว คูน มะนีวงส์) วันที่ ๙ กุมภา ค.ศ. ๑๙๖๙ กงกับเดือน ๓ แรม ๗ ค่ำ ปีระกา พุทธศักราช ๒๕๑๒''', (หนองคาย: อักษรสัมพันธ์การพิมพ์, ๒๕๑๒), หน้า ๙๔-๙๖.</ref><ref>ธรรมราชานุวัตร, พระ (แก้ว อุทุมมาลา) (รวบรวมและเรียบเรียง), '''อุรังคนิทาน: ตำนานพระธาตุพนม (พิศดาร)''', บันทึกท้ายเล่มต่อโดย ธรรมชีวะ (ดร.พระมหาสม สุมโน), พิมพ์ครั้งที่ ๑๐, (กรุงเทพฯ: นีลนาราการพิมพ์, ๒๕๓๗), หน้า ๑๑๒-๑๑๕</ref><ref>ณรงค์ศักดิ์ ราวะรินทร์, '''อุรังคธาตุ จ.ศ. ๑๑๖๗ (พ.ศ. ๒๓๔๘): เอกสารวิชาการลำดับที่ ๒๘ กลุ่มงานอนุรักษ์เอกสารโบราณ สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม''', (มหาสารคาม: หจก. อภิชาติการพิมพ์, ๒๕๖๑), หน้า ๒๑๑-๒๑๓.</ref>หลังพระยาฟ้างุ้มจุติเกิดเป็นทุกขตะฤษีแล้วอุรังคธาตุนิทานยังระบุต่อไปว่าทรงเกิดเป็นกษัตริย์ล้านช้างอีก ๒ ชาติ ฤษี ๒ ชาติ คือพระยาสารโพธิ์ (พระเจ้าโพธิสาลราช) สารโพธิ์ฤษี พระยาวงศา (พระวรวงศา) และวงศาฤษีตามลำดับ<ref>สุจิตต์ วงษ์เทศ, ศรีศักร วัลลิโภดม และพิเศษ เจียจันทร์พงศ์, "ภาคผนวกที่ ๗ อุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม)", ใน '''หนังสือคู่มือครูสังคมศึกษา รายวิชา ส ๐๒๑ หลักฐานประวัติศาสตร์ในประเทศไทย ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย: หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช ๒๕๒๔ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๓๓)''', (กรุงเทพฯ: บริษัทโรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด, ๒๕๓๓), หน้า ๑๕๕.</ref>
 
==สถาปนาพระพุทธศาสนาเถรวาทลัทธิลังกาวงศ์แบบพระนครในล้านช้าง==