ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ธงชาติไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 8837025 สร้างโดย 2405:9800:BC10:46AB:A0D5:CF1C:9400:F550 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 41:
ปกติคนต่างชาติที่ล่องมาทางเรือจะไปอยุธยา ต้องผ่านเจ้าพระยา ซึ่งเรื่องที่เกิดขึ้นนั้นเกิดที่ป้อมวิไชยเยนทร์ หรือป้อมฝรั่ง เพราะพระยาวิชเยนทร์ เกณฑ์แรงงานฝรั่งมาสร้างไว้ ปัจจุบันคือ ป้อมวิไชยประสิทธิ์ ตั้งอยู่ปากคลองบางกอกใหญ่ ปกติเรือสินค้าสำคัญ เรือที่มากับราชทูตที่จะผ่านต้องมีธรรมเนียมประเพณีคือ ชักธงประเทศของเขาบนเรือ เพื่อแสดงสัญลักษณ์ว่า มาถึงแล้ว เมื่อเรือฝรั่งเศสชักธงชาติของตัวเองขึ้น ฝ่ายสยามยิง[[สลุต]]คำนับตามธรรมเนียม ซึ่งขณะเดียวกันสยามเองต้องชักธงขึ้นด้วย เพื่อตอบกลับว่า ยินดีต้อนรับ แต่ตอนนั้นทหารประจำป้อมวิไชยเยนทร์ไม่เคยพบประเพณีแบบนี้ และสยามไม่มีธงสัญลักษณ์ที่ใช้เป็นธงชาติมาก่อน จึงคว้าผ้าที่วางอยู่แถวนั้น ซึ่งดันหยิบธงชาติฮอลันดาชักขึ้นเสาแบบส่งเดช เมื่อทหารฝรั่งเศสเห็นก็ตกใจไม่ยอมชักธงและไม่ยอมยิงสลุต จนกว่าจะเปลี่ยน เพราะการที่ได้ชักเอา[[ธงชาติเนเธอร์แลนด์|ธงชาติฮอลันดา]] (ปัจจุบันคือ[[ประเทศเนเธอร์แลนด์]]) ซึ่งในขณะนั้น[[ประเทศฝรั่งเศส|ฝรั่งเศส]]กับ[[ประเทศเนเธอร์แลนด์|ฮอลันดา]]เป็นศัตรูกัน) ฝ่ายไทยได้แก้ปัญหาโดยชักผ้า[[สีแดง]]ขึ้นแทน[[ธงชาติเนเธอร์แลนด์|ธงชาติฮอลันดา]] ฝรั่งเศสจึงยอมยิงสลุตคำนับตอบ เหตุการณ์ดังกล่าวจึงถือกันว่าเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ธงชาติไทย<ref name="ความเป็นมา">{{cite web |url=http://www.t-h-a-i-l-a-n-d.org/thaiflag/newsite/detail.php?id=4 |title= ประวัติ ความเป็นมา และรูปแบบธงชาติไทย |author= พิพิธภัณฑ์ธงชาติไทย (ธงไตรรงค์) |date= |work= |publisher= |accessdate=14 เมษายน 2013}}</ref> โดยทหารสยามประจำป้อมก็เปลี่ยนเป็นผ้าสีแดงที่หาได้ในตอนนั้น และต้นกำเนิดธงก็เริ่มขึ้น นับจากนั้น ธงที่ใช้ไม่ว่าจะใช้บนเรือหลวง เรือราษฎร ใช้บนป้อมประจำการก็ล้วนเป็นสีแดง
 
=== [[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช|รัชกาลที่ 1]] - พ.ศ.รัชกาลที่ 23252 ===
ในสมัยต้น'''[[อาณาจักรรัตนโกสินทร์|กรุงรัตนโกสินทร์]]''' ทั้งเรือหลวงและเรือค้าขายของเอกชนยังคงใช้ธงสีแดงล้วนเป็นเครื่องหมายเรือสยาม จึงได้มีการนำสัญลักษณ์ต่าง ๆ มาประดับบนธงพื้นสีแดงเพิ่มเติมเพื่อใช้เป็นธงสำหรับเรือหลวง ในกฎหมายธงสมัยรัชกาลที่ 1 ได้กล่าวว่า "''[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช]] ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เพิ่มรูป[[จักร]][[สีขาว]]ลงใน[[ธงแดง]] สำหรับใช้เป็นธงของเรือหลวง''" สาเหตุที่พระองค์กำหนดให้ใช้ "จักรสีขาว"ลงไว้กลางธงผ้าพื้นแดงสำหรับชักในเรือกำปั่นหลวง เพื่อแสดงความแตกต่างระหว่างเรือของพระมหากษัตริย์ กับเรือของราษฎรสยาม ที่ใช้ธงผ้าพื้นแดงเกลี้ยง
 
บรรทัด 62:
แต่ต่อมามีการค้นพบหลักฐานใหม่เป็นหนังสือพิมพ์ Supplement of The Singapore Free Press ฉบับวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2386 โดยได้อ้างอิงจากหนังสือพิมพ์ The Canton Press ฉบับวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2386 ระบุว่า มีกองเรือของ[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]] รัชกาลที่ 3 จำนวน 3 ลำ นำ[[เครื่องราชบรรณาการ]]มาแวะที่ท่าเรือ[[นิคมช่องแคบ|สิงคโปร์]]เพื่อที่จะเดินทางไปยัง[[ราชวงศ์ชิง|ประเทศจีน]] เพื่อถวาย[[เครื่องราชบรรณาการ]]แด่[[จักรพรรดิเต้ากวง|องค์จักรพรรดิจีน]] ซึ่งท้ายเรือนั้นมีการประดับธงช้างเผือกแบบไม่มีจักร จึงเป็นหลักฐานที่ยืนยันได้ว่าได้เริ่มการใช้ธงช้างเผือกเป็นครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
และต่อมามีการค้นพบหลักฐานใหม่อีก 3 ครั้ง ซึ่งระบุเวลาที่เก่าแก่ลงมาเรื่อย ๆ ดังนี้
 
# ผังธงโลกโบราณ ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2383 ที่[[ประเทศฝรั่งเศส]]<ref>{{Cite web|url=https://artsandculture.google.com/asset/%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%98%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81/UAHacKbZcdBOWA?hl=th|title=ผังธงโลกพิมพ์ในฝรั่งเศสปี พ.ศ. 2383|author=พฤฒิพล ประชุมผล|website=artsandculture.google.com|accessdate=28 กันยายน 2562}}</ref>
# ผังธงโลกโบราณ ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2375<ref>{{Cite web|url=https://www.facebook.com/www.thaiflag.org/posts/2481825821883893|title=บันทึกประวัติศาสตร์ธงช้างเผือกใหม่|author=พฤฒิพล ประชุมผล|website=www.facebook.com|date=19 สิงหาคม 2562|accessdate=28 กันยายน 2562}}</ref>
# ผังธงโลกโบราณ ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2373 ค้นพบที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติเยอรมนี แต่ระบุชื่อธงใต้ธงช้างเผือกผิด โดยระบุเป็น[[ธงชาติพม่า]] ซึ่งขณะนั้นพม่าใช้ธงนกยูงสมัย[[ราชวงศ์โกนบอง]]เป็นธงชาติ ธงช้างเผือกนี้จึงต้องเป็นธงชาติของสยาม จึงเป็นหลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดในปัจจุบัน<ref>{{Cite web|url=https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2521204297946045&set=a.1131895730210249&type=3&theater|title=ผังธงโลก 2373|author=พฤฒิพล ประชุมผล|website=www.facebook.com|date=10 กันยายน 2562|accessdate=28 กันยายน 2562}}</ref>
<center>
<gallery heights="120" perrow="3" widths="180">