ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ซากาโมโตะ เรียวมะ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Anonimeco (คุย | ส่วนร่วม)
แก้ในแม่แบบชื่อญี่ปุ่น
Sakamotoyoko (คุย | ส่วนร่วม)
→‎ปฐมวัย: เพิ่มเติม
บรรทัด 47:
ซากาโมโตะ เรียวมะเกิดในปี [[ค.ศ. 1836]] ตรงกับศักราชเท็มโป ปีที่ 6 ณ เมืองโคจิ [[แคว้นโทซะ]] (ปัจจุบันแคว้นนี้ได้แก่พื้นที่[[จังหวัดโคจิ]] บน[[เกาะชิโกกุ]]) เขาเป็นบุตรของครอบครัวตระกูล[[ซามูไร]]ชั้นโกชิ ซึ่งมีบรรพบุรุษเป็นชนชั้นพ่อค้าทำอาชีพกลั่น[[สาเก]]ขาย และได้เลื่อนขึ้นเป็นซามูไรโดยการซื้อตำแหน่ง (ซามูไรประเภทนี้นับเป็นซามูไรระดับต่ำที่สุดใน[[ระบบศักดินาญี่ปุ่น]]) มีพี่สาวชื่อ ซากาโมโตะ โอโตเมะ ในวัยเด็กนั้นเรียวมะมักถูกรังแกเวลาอยู่ที่โรงเรียน พี่สาวคนหนึ่งของเรียวมะจึงย้ายให้เขาไปเรียนอยู่ในสำนักดาบแทน จนกระทั่งเมื่อเจริญวัยขึ้น เขาก็ได้เป็นครูดาบอยู่ในแคว้นโทซะแห่งนั้น
 
ต่อมาในปี [[ค.ศ. 1853]] เรียวมะได้เดินทางไปที่นครเอะโดะเพื่อฝากตัวเป็นศิษย์ของ[[จิบะ ซาดากิจิ]] เจ้าสำนัก[[เค็นจุตสึ|ดาบ]]สาย[[โฮะคุชินอิตโตริว]] อันเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่พลเรือจัตวา[[แมทธิว แคลเบรธ เพอร์รี]] แห่ง[[ประเทศสหรัฐอเมริกา]] ได้นำกองเรือรบมาเยือน[[ประเทศญี่ปุ่น]] เพื่อบังคับให้ญี่ปุ่นเปิดประเทศค้าขายกับชาวตะวันตกอีกครั้งหลังจากโดดเดี่ยวตนเองมานานหลายร้อยปี ในระยะดังกล่าวเรียวมะได้ถูกชักจูงให้เกิดความรู้สึกรักชาติจากสำนักเรียนของซามูไรซึ่งสนับสนุนแนวคิดทางการเมืองกลุ่ม[[ซนโนโจอิ]] หรือ "เทิดทูนจักรพรรดิ ขับไล่คนป่าเถื่อนเถื่อน" (คนเถื่อนในที่นี้คือ ชาวตะวันตก)
 
เมื่อเรียวมะสำเร็จวิชาดาบและเดินทางกลับมาที่โทซะ เขาถูกชักชวนให้เข้าร่วมกลุ่ม[[โทซะคินโนโท]] ซึ่งเป็นกลุ่มซามูไรระดับล่างหัวรุนแรงในแคว้นโทซะภายใต้การนำของ[[ทาเกจิ ซูอิซัง]] (มีอีกชื่อหนึ่งว่า "ทาเกจิ ฮัมเปตะ") ผู้ยึดมั่นในแนวคิดเทิดทูนพระจักรพรรดิและต่อต้าน[[รัฐบาลโชกุนโทกูงาวะ]] ทว่าเมื่อสถานการณ์บีบคั้นมากขึ้น เนื่องจากแนวทางการขับไล่ต่างชาติของซามูไรระดับล่างไม่ได้รับการตอบสนองจากชนชั้นปกครองในแคว้น ประกอบกับความขัดแย้งทางความคิดของเรียวมะซึ่งไม่เห็นด้วยกับแนวทางใช้ความรุนแรงของทาเกจิ เขาจึงตัดสินใจหนีออกจากแคว้นโทซะ และใช้ชีวิตร่อนเร่ไปยังที่ต่าง ๆต่างๆ ในฐานะ[[โรนิน]]หรือซามูไรไร้นาย แล้วเนื่องจากในยุคนั้น การเดินทางออกจากแคว้นบ้านเกิดของตนโดยไม่มีหนังสืออนุญาตถือเป็นเรื่องผิดกฏหมาย เรียวมะจึงกลายเป็นผู้ร้ายที่มีค่าหัวไป<ref>Hongo, Jun, "[http://search.japantimes.co.jp/cgi-bin/nn20100427i1.html Sakamoto, the man and the myth]", ''[[Japan Times]]'', April 27, 2010, p. 3.</ref>
 
== ศิษย์ของคัตสึ ไคชู ==
บรรทัด 70:
เรื่องราวการพบกันระหว่างเรียวมะกับคัตสึที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายกล่าวว่า เรียวมะซึ่งเป็นโรนินที่มีความคิดแบบ[[ซนโนโจอิ]] ได้ตัดสินใจที่จะฆ่าคัตสึเพราะเห็นว่าสนับสนุนให้ชาวต่างชาติเข้ามาย่ำยีประเทศ แต่ในวันที่เขาลอบเข้าไปในจวนของคัตสึนั้น คัตสึได้ขอให้เรียวมะฟังแนวคิดที่เขามีต่อประเทศญี่ปุ่นเสียก่อนแล้วจึงค่อยฆ่าเขา ซึ่งนั่นก็คือแนวคิดการเรียนรู้วิทยาการและอารยธรรมให้เท่าเทียมกับตะวันตก แล้วนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับญี่ปุ่น เพื่อเสริมสร้างกำลังอำนาจของญี่ปุ่นระยะยาวด้วยกองทัพเรือที่เข้มแข็ง อันจะเป็นหลักประกันให้แก่เอกราชของญี่ปุ่นได้ เรียวมะเมื่อได้ฟังดังนี้แล้ว จึงกลับใจขอฝากตัวเป็นลูกศิษย์ และทำงานเป็นทั้งผู้ช่วยและผู้คุ้มกันของคัตสึ ไคชู<ref>『坂本龍馬と海援隊』(新・歴史群像シリーズ 20)(学研パブリッシング、2009年)p.80</ref>
 
อย่างไรก็ตาม มีหลักฐานในอีกทางหนึ่งที่กล่าวถึงการพบกันระหว่างเรียวมะกับคัตสึที่แตกต่างออกไป ซึ่งระบุว่า ในวันที่ [[5 ธันวาคม]] [[ค.ศ. 1862]] เรียวมะกับพรรคพวกได้ขอเข้าพบ[[:en:Matsudaira Shungaku|มัตสึไดระ ชุงงากุ]] [[ไดเมียว]]แห่ง[[แคว้นเอจิเซ็ง]] (ปัจจุบันแคว้นนี้คือ[[จังหวัดฟูกูอิ]]) ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญในรัฐบาลโชกุน โดยผ่านการแนะนำจากจิบะ จูตาโร บุตรชายของ[[จิบะ ซาดากิจิ]] ผู้เป็นครูดาบของเรียวมะ เพื่อหาทางให้เรียวมะได้พบกับคัตสึ<ref>福井藩記録『続再夢紀事』</ref><ref>[http://www.shotentai.com/ryoma/ryoma-4.html 亀山社中設立、薩長同盟成立], [http://www.shotentai.com/ 翔天隊.com]</ref> หลังจากนั้นในวันที่ [[9 ธันวาคม]] ปีเดียวกัน เรียวมะพร้อมด้วยเพื่อน 2 คน คือ [[คาโดตะ ทาเมโนซูเกะ]] และ[[คนโด โจจิโร]] จึงได้เข้าพบคัตสึพร้อมกับจดหมายแนะนำตัวจากมัตสึไดระ และได้ฝากตัวเป็นลูกศิษย์ของคัตสึในคราวนั้น เพียงแต่ตำนานเรื่องที่เรียวมะเข้าพบคัตสึเพื่อจะสังหารเป็นเรื่องที่โด่งดังและตราตรึงผู้คนมากกว่า<ref>『枢密備忘』</ref><ref>『海舟日記』</ref>
 
จะอย่างไรก็ตาม ในที่สุดเรียวมะก็ได้ติดตามคัตสึ ไคชู และเข้ารับการฝึกหัดการเดินเรือที่ศูนย์ฝึกทหารเรือในหมู่บ้านโคเบะ (ปัจจุบันคือเมือง[[โคเบะ]] [[จังหวัดเฮียวโงะ]]) ซึ่งคัตสึได้จัดตั้งขึ้นตามแนวคิดการสร้างกองทัพเรือแบบชาติตะวันตก