ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แผ้ว สนิทวงศ์เสนี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 42:
=== สะใภ้หลวง ===
[[ไฟล์:Asdang Dejavudh and Lady Paew.jpg|thumbnail|สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา ทรงฉายคู่กับหม่อมแผ้ว]]
ขณะท่านผู้หญิงแผ้วมีอายุได้ 13 ปี ได้เข้าไปเรียนนาฏศิลป์กับ[[เจ้าจอมมารดาทับทิม ในรัชกาลที่ 5]] และทำการแสดงที่กระทรวงการต่างประเทศ ได้แสดงคู่กับคุณหญิง[[เทศ นัฏกานุรักษ์]] โดยเธอได้แสดงเป็น[[เมขลา]] ส่วนคุณหญิงนัฏกานุรักษ์แสดงเป็น[[รามสูร]] ต่อมาได้แสดงเรื่อง ''[[อิเหนา]]'' รับบทเป็น ดรสา ที่กระโดดกองไฟตายตามระตู เป็นที่ต้องพระหฤทัยของ[[สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา]] และทรงขอเธอเข้าเป็นหม่อมห้าม<ref name="swu" /> มีนามว่า '''หม่อมแผ้ว นครราชสีมา'''<ref name="สะใภ้เจ้า" /><ref name="ไทยรัฐ" /><ref name="swu" /> แม้จะเป็นการเสกสมรสกับหญิงสามัญชนแต่ก็ไม่มีผู้ใดขัดพระทัย ส่วนหนึ่งก็เพราะเจ้านายพระองค์นี้เป็นที่ห่วงใยของพระราชชนกชนนีเพราะมีพระพลานามัยไม่สู้สมบูรณ์มานาน<ref>ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย. ''วาทะเล่าประวัติศาสตร์''. กรุงเทพฯ : มติชน, 2556, หน้า 74</ref> เธอเปี่ยมสุขยิ่งในฐานะหม่อมในสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมาซึ่งขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นรัชทายาทอันดับหนึ่งแห่งกรุงสยาม<ref name="swu" /> หลังการทิวงคตของ[[สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ]]เมื่อ พ.ศ. 2463<ref>ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย. ''วาทะเล่าประวัติศาสตร์''. กรุงเทพฯ : มติชน, 2556, หน้า 75</ref> ต่อมาได้ทรงนำความกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณรับท่านผู้หญิงหม่อมแผ้วเข้าเป็นสะใภ้หลวง ถือเป็นหญิงสามัญชนที่ไม่ใช่ลูกหลานขุนนางคนแรกที่ได้เป็นสะใภ้หลวง<ref name="สะใภ้เจ้า" /> และได้พระราชทาน[[เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า]]ชั้น[[ทุติยจุลจอมเกล้า]]เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2466<ref>{{cite journal|journal= ราชกิจจานุเบกษา |volume= 40 |issue= 0ง |pages= 2631 |title= พระราชทานเครื่องราชอิศริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายใน |url= http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2466/D/2631.PDF |date= 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2466 |language= ไทย }}</ref> เธอเปี่ยมสุขยิ่งในฐานะหม่อมในสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมาซึ่งขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นรัชทายาทอันดับหนึ่งแห่งกรุงสยาม<ref name="swu" /> หลังการทิวงคตของ[[สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ]]เมื่อ พ.ศ. 2463<ref>ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย. ''วาทะเล่าประวัติศาสตร์''. กรุงเทพฯ : มติชน, 2556, หน้า 75</ref>
 
ทว่าชีวิตสะใภ้หลวงได้สิ้นสุดลง เมื่อสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมาประชวรด้วยพระโรคพระวักกะอักเสบ ก่อนทิวงคต ณ [[พระตำหนักวังสวนกุหลาบ]] [[พระราชวังดุสิต]] เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2467 สิริพระชนมายุได้ 36 พรรษา ยังความทุกข์เข้าสู่จิตใจของหม่อมแผ้วยิ่งนัก โดยเธอเคยกล่าวเกี่ยวกับความรู้สึกของตนหลังการทิวงคตของสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมาไว้ว่า "...ตอนนั้นพระองค์ท่านมีพระชนมายุได้ 36 ปี ฉันอายุได้ 25 ปี ฉันรู้สึกว้าเหว่และเศร้าโศกถึงกับเป็นลมพับไป และรู้สึกว่าโลกนี้ช่างไม่มีอะไรแน่นอนทั้งสิ้น..."<ref name="swu" />