ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
"พระราชพงศาวดาร" เป็นพงศาวดารชนิดหนึ่ง / สมเด็จพระพนรัตน์นี้ไม่ได้มีนามเดิมว่าแก้ว ดูเชิงอรรถเล่มดังกล่าวหน้า (๕๑)
บรรทัด 40:
}}
 
'''''พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ''''' เป็น[[พงศาวดาร|พระราชพงศาวดารไทย]]ซึ่ง[[พระยาปริยัติธรรมธาดา (แพ ตาละลักษมณ์)|หลวงประเสริฐอักษรนิติ์ (แพ ตาละลักษมณ์)]] พบต้นฉบับที่บ้านราษฎรแห่งหนึ่งและนำมาให้[[หอพระสมุดวชิรญาณ]]ใน พ.ศ. 2450 หอพระสมุดจึงตั้งชื่อว่า ''ฉบับหลวงประเสริฐ'' ให้เป็นเกียรติแก่ผู้พบ<ref name = ":11"/>
 
[[บานแผนก]]ของพงศาวดารกล่าวว่า พงศาวดารนี้เกิดจากการที่มีรับสั่งใน จ.ศ. 1042 (พ.ศ. 2223) ให้คัดจดหมายเหตุต่าง ๆ เข้าด้วยกัน<ref name = ":2"/> และนักประวัติศาสตร์เห็นว่า ผู้มีรับสั่ง คือ [[สมเด็จพระนารายณ์มหาราช]]แห่ง[[กรุงศรีอยุธยา]] เพราะปีที่ระบุไว้ตรงกับรัชสมัยของพระองค์<ref name = ":10"/><ref name = ":15"/><ref name = ":16"/><ref name = ":4"/> นอกจากนี้ พงศาวดารไม่ได้เอ่ยถึงผู้แต่ง แต่นักประวัติศาสตร์ตะวันตกบางคนเชื่อว่า เป็นผลงานของโหรหลวงที่มีบรรดาศักดิ์ว่า "โหราธิบดี"<ref name = ":12"/><ref name = ":13"/>
 
เนื้อหาของพงศาวดารว่าด้วยเหตุการณ์เกี่ยวกับกรุงศรีอยุธยา ตั้งแต่การสร้างพระพุทธรูป[[พระพุทธไตรรัตนนายก_ (วัดพนัญเชิง)|เจ้าพแนงเชีง]]ใน จ.ศ. 686 (พ.ศ. 1867) ตามด้วยการสถาปนากรุงศรีอยุธยาใน จ.ศ. 712 (พ.ศ. 1893) มาจนค้างที่รัชกาล[[สมเด็จพระนเรศวรมหาราช]]คราวที่ทรงยกทัพไปอังวะใน จ.ศ. 966 (พ.ศ. 2147) ต้นฉบับมีเนื้อหาเท่านี้ แต่[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ]] ทรงเชื่อว่า น่าจะมีต่อ จึงทรงเพียรหา กระทั่งทรงได้ฉบับคัดลอกในสมัย[[กรุงธนบุรี]]มาเมื่อ พ.ศ. 2456 ซึ่งมีเนื้อหาเท่ากัน จึงทรงเห็นว่า เนื้อหาที่เหลือคงสูญหายมาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรีเป็นอย่างน้อยแล้ว<ref name = ":0"/>
 
พงศาวดารนี้เป็นที่เชื่อถือด้านความแม่นยำ<ref name = ":10"/><ref name = ":7"/><ref name = ":6"/> เหตุการณ์และวันเวลาที่ระบุไว้สอดคล้องกับเอกสารต่างประเทศ<ref name = ":14"/> ทั้งให้ข้อมูลที่ไม่ปรากฏในพงศาวดารสมัยหลัง<ref name = ":7"/> นอกจากนี้ ยังเขียนโดยใช้ศิลปะทางภาษาน้อยที่สุด และหลีกเลี่ยงการแทรกความคิดความรู้สึกส่วนตัวของผู้แต่งลงไป<ref name = ":6"/> อย่างไรก็ดี เนื้อหาที่เขียนแบบย่อ ๆ ไม่ลงรายละเอียด และไม่พรรณนาเหตุการณ์ให้สัมพันธ์กันนั้น ถูกวิจารณ์ว่า เข้าใจยาก<ref name = ":6"/> และแทบไม่เป็นประโยชน์ต่อนักประวัติศาสตร์ที่พยายามจำลองภาพในอดีตของไทย<ref name = ":17"/>
บรรทัด 93:
==คุณค่า==
 
กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเห็นว่า พงศาวดารฉบับนี้น่าเชื่อถือกว่าฉบับอื่น ๆ<ref name = ":7">[[#ปพ|''ประชุมพงศาวดาร ฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 1'', 2542]], น. 210: "พระราชพงษาวดาร ฉบับหลวงประเสริฐ แม้ความที่กล่าวเปนอย่างย่อ ๆ มีเนื้อเรื่องที่ไม่ปรากฏในพระราชพงษาวดารฉบับอื่นออกไปอิกมาก แลที่สำคัญนั้น ศักราชในฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติแม่นยำ กระบวนศักราชเชื่อได้แน่กว่าพระราชพงษาวดารฉบับอื่น ๆ หนังสือพระราชพงษาวดาร ฉบับหลวงประเสริฐ จึงเปนหลักแก่การสอบหนังสือพงษาวดารได้เรื่องหนึ่ง".</ref> ทั้งเนื้อหาก็ตรงกับเอกสารต่างประเทศ<ref name = ":14">[[#ปพ|''ประชุมพงศาวดาร ฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 1'', 2542]], น. (17): "หนังสือพระราชพงษาวดาร ฉบับหลวงประเสริฐ นี้ ทั้งเนื้อเรื่องแลศักราชผิดกับพระราชพงษาวดาร ฉบับพิมพ์ 2 เล่ม แลฉบับพระราชหัดถเลขา อยู่หลายแห่ง ข้าพเจ้าได้สอบสวนกับหนังสือพงษาวดารประเทศอื่น เห็นเนื้อความแลศักราชที่ลงไว้ในฉบับหลวงประเสริฐแม่นยำมาก ข้าพเจ้าเชื่อว่า ศักราชที่ลงไว้ในฉบับหลวงประเสริฐเปนถูกต้องตามจริง".</ref> สอดคล้องกับที่[[กรมศิลปากร]]ระบุว่า พงศาวดารฉบับนี้ "ได้รับความเชื่อถือว่า แม่นยำ ทั้งในเชิงเนื้อหาและศักราช"<ref name = ":10"/> และพิเศษ เจียจันทร์พงษ์ ว่า "สาระโดยทั่วไปของหนังสือพงศาวดารเล่มนี้จึงได้รับการเชื่อถือมากที่สุด"<ref name = ":6">[[#พจ|พิเศษ เจียจันทร์พงษ์, 2546]], น. (8).</ref> ในขณะที่พงศาวดารฉบับอื่น ๆ ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยหลัง คือ สมัยรัตนโกสินทร์นั้น ลงวันเวลาไว้คลาดเคลื่อนไปราว 4–20 ปี<ref>[[#พห|''พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม 1'', 2534]], น. 8.</ref><ref>[[#นช|นาฎวิภา ชลิตานนท์, 2524]], น. 230.</ref> และเพราะสับสนวันเวลา พงศาวดารสมัยรัตนโกสินทร์จึงลงเหตุการณ์ไว้สับสนตามไปด้วย เช่น ระบุว่า [[สมเด็จพระราเมศวร]]ขึ้นครองราชย์แล้วทรงยกทัพไปล้อมเชียงใหม่ เอาปืนใหญ่ถล่มกำแพงเมือง ซึ่งกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงตั้งข้อสงสัย เพราะปืนใหญ่เพิ่งมีใช้ในยุโรปราวเก้าปีก่อนเหตุการณ์นั้น<ref>[[#พห|''พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม 1'', 2534]], น. 210.</ref> และ[[ศานติ ภักดีคำ]] เห็นว่า เป็นการนำเหตุการณ์ของพระราเมศวรอีกพระองค์ คือ [[สมเด็จพระเอกาทศรถ]] มาลงไว้ที่พระราเมศวรพระองค์นี้<ref>[[#พนร|สมเด็จพระพนรัตน์ (แก้ว), 2558]], น. 14.</ref>
 
พงศาวดารฉบับนี้ยังให้ข้อมูลซึ่งไม่ปรากฏในพงศาวดารสมัยรัตนโกสินทร์<ref name = ":7"/> เช่น กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงตั้งข้อสังเกตว่า พงศาวดารสมัยรัตนโกสินทร์ระบุว่า พระมหากษัตริย์พม่าที่ยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาสองครั้งในสมัย[[สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ]] คือ "พระเจ้าลิ้นดำ" ([[พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้]]) พระองค์เดียว แต่พงศาวดารฉบับนี้ระบุชัดเจนว่า เป็นพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ กับ[[พระเจ้าบุเรงนอง]] ซึ่งสอดคล้องกับเอกสารพม่า<ref name = ":8">[[#ดร2|ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา, 2515]], น. 442.</ref> หรือกรณีที่พงศาวดารสมัยรัตนโกสินทร์ระบุว่า [[สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ]]เสวยราชย์ที่กรุงศรีอยุธยาแล้วทรงสร้างวัดจุฬามณี ทำให้เชื่อกันมาแต่เดิมว่า วัดนี้อยู่ที่อยุธยา ในสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]เคยพากันตามหาวัดนี้ที่อยุธยาก็ไม่พบ กระทั่งมาได้พงศาวดารฉบับนี้ที่ระบุว่า สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงย้ายขึ้นไปครองราชย์ที่พิษณุโลกแล้วทรงสร้างวัดจุฬามณี จึงรู้ว่า เป็น[[วัดจุฬามณี (พิษณุโลก)|วัดจุฬามณี]]ที่พิษณุโลก<ref>[[#ดร2|ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา, 2515]], น. 441.</ref><ref>[[#พห|''พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม 1'', 2534]], น. 229.</ref>
บรรทัด 145:
* <div id="พห">''พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม 1''. (2534). (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร. {{isbn|9744171448}}.</div>
* <div id="พจ">พิเศษ เจียจันทร์พงษ์. (2546). "คำนำเสนอพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับวันวลิต พ.ศ. 2182". ใน วันวลิต, ''พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับวันวลิต พ.ศ. 2182'' [น. (7)–(27)]. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มติชน. {{isbn|9743229221}}.</div>
* <div id="พนร">สมเด็จพระพนรัตน์ (แก้ว). (2558). ''พระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์วัดพระเชตุพน ตรวจสอบชำระจากเอกสารตัวเขียน''. กรุงเทพฯ: มูลนิธิ "ทุนพระพุทธยอดฟ้า" ในพระบรมราชูปถัมภ์. {{isbn|9786169235101}}.</div>
* <div id="สว">สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2540). ''ท้าวศรีสุดาจันทร์ "แม่หยัวเมือง" ใครว่าหล่อนชั่ว?''. กรุงเทพฯ: มติชน. {{isbn|9747311704}}.</div>