ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าจอมมารดาทับทิม ในรัชกาลที่ 5"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
บริการเปลี่ยนหมวดหมู่อัตโนมัติด้วยบอต
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 32:
ในสมัยนั้น ถือกันว่าคุณท้าววรคณานันท์ (หุ่น) เป็นเจ้าสำนักที่ฝึกหัดเด็กดีที่สุด เพราะเป็นเจ้าจอมละครมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2 และได้เป็นผู้ใหญ่อยู่ในพระราชวังในรัชกาลหลังๆ ต่อมาจึงทำให้เคยชินกับขนบธรรมเนียมภายในพระบรมมหาราชวังเป็นอย่างยิ่ง ด้วยเหตุนี้จึงนับได้ว่าเจ้าจอมมารดาทับทิมได้ครูดี ได้โรงเรียนดี และได้สิ่งแวดล้อมทั้งมวลดีด้วย
 
ภายหลังพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์ให้หัดละครในรุ่นเล็กขึ้นใหม่ เพื่อเอาไว้ให้หนุนแทนละครชั้นใหญ่ซึ่งลดน้อยไป เพราะเหตุไปเป็นเจ้าจอมมารดาบ้าง หรือล้มตายบ้าง ท่านผู้ใหญ่ในพระราชวัง สังเกตมานานแล้วว่าเจ้าจอมมารดาทับทิมมีแววฉลาด และมีพรสวรรค์สำหรับความเป็นศิลปิน จึงแนะนำให้รับราชการเป็นละครหลวง ซึ่งทั้งนี้[[เจ้าจอมมารดาเที่ยง]]ผู้เป็นพี่ก็เห็นดีด้วย ด้วยใจรักเป็นทุน เจ้าจอมมารดาทับทิมจึงตั้งหน้าฝึกหัดฟ้อนรำพร้อม ๆ กับศึกษาวิชาอื่นๆอื่น ๆ คู่ควบไปด้วย เมื่อละครหลวงชั้นเล็กออกโรงปลายสมัยรัชกาลที่ 4 คนทั้งปวงก็พากันชมเชยว่าเจ้าจอมมารดาทับทิมสามารถรรำได้งดงามกว่าคนอื่น ซึ่งเป็นละครชั้นเดียวกันเป็นอันมาก
 
เมื่อปี พ.ศ. 2411 เจ้าจอมอายุได้ 11 ปี พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต และเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว เจ้าจอมมารดาทับทิมก็ยังเป็นละครหลวงอยู่ และมีลีลาการฟ้อนรำเป็นที่เลื่องลือกันทั่วไป จนได้ชื่อว่าเป็นนางเอกละครหลวงที่ดีที่สุดคนหนึ่งต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ชุบเลี้ยงเจ้าจอมมารดาทับทิมเป็นเจ้าจอม ประจวบกับเจ้าจอมมารดาเที่ยงออกไปอยู่วังกรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร พระองค์หญิงโสมาวดี (กรมหลวงสมรรัตน์สิริเชษฐ) พระราชธิดาองค์ใหญ่ ซึ่งครอบครองตำหนักต่อมา ทรงพระเมตตารับเจ้าจอมมารดาทับทิมจากสำนักท้าววรคณานันท์ และจัดเรือนในบริเวณตำหนักหลังหนึ่งกับทั้งคนสำหรับใช้สอย ให้ครอบครองสมกับบรรดาศักดิ์ สาเหตุที่ต้องสละการแสดงละครนั้น เพราะเหตุว่าเจ้าจอมมารดาทับทิมทรงครรภ์ พระเจ้าลูกเธอ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้พระราชทานตำหนักเจ้านายให้อยู่เป็นอิสระอย่างเจ้าจอมมารดา
 
ท่านมีประสูติกาลพระราชโอรสธิดาทั้งหมด 3 พระองค์ คือ
บรรทัด 45:
อย่างไรก็ตาม เจ้าจอมมารดาทับทิมก็มีสิ่งที่แปลกกว่าคนอื่นอยู่อย่างหนึ่ง คือ ชอบไปเที่ยวตามหัวเมือง ถ้าอยู่กับบ้านกับวังนาน ๆ คล้าย ๆ กับจะเจ็บป่วย แต่ถ้าได้แปรสถานไปที่อื่น กลับฟื้นมีความสบายด้วยเหตุนี้เอง เมื่อใดที่พระโอรสธิดาสังเกตเห็นว่า เจ้าจอมมารดามีอาการไม่สบายเป็นปกติ ก็มักชวนแปรสถานไปที่อื่นอย่างน้อยปีละหนหนึ่ง
 
ทางฝ่ายทะเล เจ้าจอมมารดาทับทิมชอบไปที่สมุทรปราการ และที่หนองแกใต้หัวหิน ซึ่งเสด็จในกรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร พระราชโอรสพระองค์เล็ก มีสวนและทรงสร้างตำหนักที่พักไว้ที่นั่นโดยเฉพาะในฤดูร้อน เจ้าจอมมารดามักแปรสถานไปอยู่ที่นั่นเป็นเวลานาน ๆ แทบทุกปีสำหรับการไปต่างประเทศ เจ้าจอมมารดาเคยไปเยี่ยมพระโอรสและธิดาถึงปีนัง ทั้ง ๆ ที่อายุเกือบจะ 80 อยู่แล้ว กลับชมว่าปีนังอากาศดี เลยพักอยู่ที่ตำหนักพระองค์หญิงประเวศฯ ถึง 13 เดือน
 
ในการฉลองอายุครบรอบ 80 ปี เจ้าจอมมารดาทับทิมไม่พอใจที่จะให้จัดทำขึ้นในกรุงเทพฯ ด้วยเหตุว่าได้เคยรับไว้กับ[[สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส)]] [[วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร]] ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่พระพรหมมุนี ซึ่งเป็นเจ้าคณะมณฑลอีสาน ว่าจะสร้างสำนักวิปัสสนาที่ในวัดสุปัฏน์ อุบล จึงปรารภว่าจะไปทำบุญฉลองอายุที่เมืองอุบลฯ แต่ยังไม่ทันถึงกำหนดงานก็มีอาการทุพพลภาพยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน เกรงว่าจะเดินทางโดยรถไฟไปไกลไม่ได้ จึงล้มความคิดจะไปทำบุญฉลองอายุที่อุบลฯ เปลี่ยนเป็นบริจาคทรัพย์ตามที่จำนวนกะไว้ อาการทุพพลภาพที่ว่านี้ เป็นการเริ่มต้นของโรคชรา หมอก็รู้ว่ายากที่จะกลับฟื้นดีได้ แต่เจ้าจอมมารดาทับทิมว่า ใคร่จะแปรสถานไปรักษาตัวที่บางปะอิน ผู้รักษาพยาบาลเห็นว่าอาการร้ายแรง ถ้าแปรสถานจะทำให้โรคกำเริบก็ทัดทานไว้ แต่ไม่สำเร็จ เจ้าจอมมารดาทับทิมได้ลงเรือไปบางปะอินในวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2480