ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฟองมัน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
เพิ่มเติมเนื้อหาและอ้างอิง
บรรทัด 8:
:: จาก [[นิราศภูเขาทอง]]
 
นอกจากเครื่องหมายฟองมันที่เป็นรูปวงกลมแล้ว ในสมัยโบราณยังนิยมใช้เครื่องหมาย '''ฟองมันฟันหนู''' ( {{unicode|๏̎}}๏<span style='position: relative; left: -.5em;'>”</span>) นั่นคือ มีเครื่องหมาย [[ฟันหนู]] (") วางอยู่บนฟองมัน ใช้กำกับเมื่อจะขึ้นต้นบท หรือตอน โดยมีชื่อเรียกอื่นอีก เช่น '''ฟันหนูฟองมัน''' หรือ '''ฝนทองฟองมัน''' บางแห่งใช้เครื่องหมายวงกลมเล็ก ( {{unicode|๐̎}}๐<span style='position: relative; left: -.5em;'>”</span>) มีฟันหนูวางอยู่ข้างบน เรียกว่า '''ฟองดัน''' ก็มี
 
== รูปแบบ ==
เครื่องหมายฟองมันที่พบทั้งหมด มี 3 แบบ คือ<ref>{{cite thesis|type=อ.ม.|author=กอบกุล ถาวรานนท์|date=2521|title=การเว้นวรรคในการเขียนหนังสือไทย|chapter=บทที่ 2 ประวัติความเป็นมาของการเว้นวรรค|publisher=จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย|url=http://cuir.car.chula.ac.th/bitstream/123456789/17979/5/Kobkool_Th_ch2.pdf|access-date=24 พฤศจิกายน 2562}}</ref>
* วงกลมวงเดียว
* วงกลม 2 วงซ้อนกัน
* วงกลมและมีจุดตรงกลาง
แบบแรกพบใน[[สมัยสุโขทัย]] สองแบบหลังพบในสมัยอยุธยา ส่วนใน[[สมัยรัตนโกสินทร์]]พบทั้ง 3 แบบ
ในสมัยสุโขทัยจะมีการเขียนอักษรอยู่ 2 ลักษณะ คือ เขียนเรียงต่อไปจนจบเรื่องโดยไม่มีการ[[เว้นวรรค]] หรือ มีการเว้นวรรคควบคู่กับการใช้เครื่องหมายฟองมัน [[ศิลาจารึก]]ที่พบว่ามีการใช้เครื่องหมายเหล่านี้ อาทิ
ศิลา[[จารึกพ่อขุนรามคำแหง]] (ด้านที่ 3 และ 4), ศิลาจารึกวังชิ้น, ศิลาจารึกนครชุม, ศิลาจารึกเขาสุมณกูฏ, ศิลาจารึกวัดช้างล้อม, ศิลาจารึกวัดลำปางหลวง
การใช้ฟองมันสมัยสุโขทัยมีดังนี้
* ใช้คั่นข้อความต่างภาษากัน เช่น ขึ้นต้น[[ภาษาบาลี]]พอจะแปลเป็นภาษาไทยก็ใช้ฟองมันคั่นไว้ หรือเมื่อจบภาษาไทยจะขึ้นภาษาบาลีก็คั่นข้อความไว้
* ใช้นำหน้าข้อความตอนใหม่ คือเขียนติดกันไปเรื่อย ๆ เมื่อขึ้นความตอนใหม่ก็คั่นด้วยฟองมัน แล้วเขียนต่อเลย ไม่ขึ้นบรรทัดใหม่หรือย่อหน้าใหม่
* ใช้นำหน้าข้อความที่เป็นกฎหมายแต่ละมาตรา โดยจะใช้ฟองมันคั่นข้อความแล้วตามด้วยมาตรา เช่น "...ไว้กลางเมือง ๐ มาตราหนึ่ง..."
* ใช้นำหน้าข้อความที่กล่าวถึงศักราช เช่น "...สรรพานตราย ๐ สักราชแก่พระเจ้า..."
* ใช้นำหน้ารายการต่าง ๆ เพื่อแยกออกเป็นส่วน ๆ เช่น "...๐ จรามขันอันหนึ่ง ๐ ฟูก้อนหนึ่ง ๐ หมอนอันหนึ่ง ๐ บังงาอันหนึ่ง ๐ ...."
* ใช้แยกคำที่มีรูปเดียวกันและอยู่ชิดกัน เช่น "...ญิบหมื่นสี่พันหกสิบเดือน ๐ เดือนอันพระได้เป็นพระพุท..."
* ใช้แยกอักษรซึ่งมีรูปเดียวกันและอยู่ชิดกัน เช่น "...กระทำบุนยธรรมบ่ขาดสักเมื่อ ๐ อยู่ในสองแควได้เจ็ดเข้า..."
ใน[[สมัยอยุธยา]]มีการเพิ่มการใช้สำหรับเริ่มเรื่องขึ้นมา และสมัยต้นรัตนโกสินทร์ใช้สำหรับนำหน้าข้อย่อยแต่ละข้อเพิ่มขึ้น
ชื่ออื่นที่ปรากฏในเอกสารเก่านอกจากฟองมันแล้วมี ฟองมัณฑ์ ฟองมันท์ ฟองดัน ตาไก่ ตานกแก้ว<ref>{{cite book|author=นิยะดา เหล่าสุนทร|title=วัตนาการของแบบเรียนภาษาไทย|date=2552|publisher=ลายคำ|place=กรุงเทพฯ|isbn=9789746438452}}</ref>
 
ฟองมันไม่มีปรากฏบน[[แป้นพิมพ์]]ภาษาไทย แต่มีอยู่ในรหัสอักขระ [[TIS 620]] ที่ 0xEF (239) และรหัส[[ยูนิโคด]]ที่ U+0E4F <ref>[http://www.unicode.org/charts/PDF/U0E00.pdf Unicode chart: Range 0E00–0E7F]</ref>
 
== ฟองมันในภาษาอื่น ==
ภาษาอื่นที่ใช้ฟองมันคือ[[ภาษาเขมร]] ({{lang|km|៙|italic=no}}) มีชื่อเรียกว่า ''กุกฺกุฎเนตฺร'' ({{lang-km|កុក្កុដនេត្រ}}) หรือ ''แภนฺกมาน่'' ({{lang-km|ភ្នែក​មាន់}}) ซึ่งแปลว่า ''ตาไก่'' ใช้เมื่อขึ้นต้นบทเหมือนกับภาษาไทย ปัจจุบันใช้น้อย
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
* หลักเกณฑ์การใช้เครื่องหมายวรรคตอนและเครื่องหมายอื่นๆอื่น ๆ หลักเกณฑ์การเว้นวรรค หลักเกณฑ์การเขียนคำย่อ. [[ราชบัณฑิตยสถาน]]. พิมพ์ครั้งที่ 5 (แก้ไขเพิ่มเติม) พ.ศ. 2533.
 
[[หมวดหมู่:เครื่องหมายวรรคตอนไทย|๏]]
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ฟองมัน"