ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 41:
โดยตลอดในวัยเด็กพระเจ้าเฮนรีมักจะหาคู่สมรสให้โดยตลอด เมื่อพระนางมีพระชนมายุ 2 ชันษา พระนางต้องสัญญาว่าจะอภิเสกสมรสกับ [[เจ้าชายดูรฟิน ฟรานซิส]] ซึ่งเป็นโอรสของ [[พระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1 แห่งฝรั่งเศส]] แต่ 3 ปีผ่านไปข้อตกลงต้องเป็นอันยกเลิก
 
[[ไฟล์:Mary_I_by_Master_JohnMary I by Master John.jpg|thumb|left|200px|เจ้าหญิงแมรี่ในค.ศ. 1544]]
ขณะที่การครองคู่ของพระบิดาและพระมารดาเริ่มไม่ค่อยดี เพราะสมเด็จพระราชินีแคทเธอรีนมิได้ทรงประสูติพระโอรสตามที่พระเจ้าเฮนรี่ทรงปรารถนา พระเจ้าเฮนรี่พยายามอย่างยิ่งที่จะทำให้การอภิเษกสมรสของพระองค์กับพระนางแคทเธอรีนเป็นอันโมฆะ แต่ต้องผิดหวังเพราะ[[สมเด็จพระสันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 7]] ไม่ยินยอม การตัดสินใจของสันตะปาปาถูกบีบบังคับด้วยอำนาจของจักรพรรดิชารล์ที่ 5 แมรีนั้นแต่เดิมนั้นได้หมั้นกับหลานของพระมารดาของพระนาง พระเจ้าเฮนรีได้เรียกร้องว่า การอภิเษกสมรสของพระองค์กับพระนางแคทเธอรีนนั้นไม่บริสุทธิ์ เพราะพระนางเคยอภิเษกสมรสมาก่อนแล้ว แม้ว่าทั้งคู่ทรงอภิเษกสมรสกันอย่างสมบูรณ์ ใน[[พ.ศ. 2076]] พระเจ้าเฮนรี่ได้ทรงอภิเษกสมรสอย่างลับๆลับ ๆ กับ[[สมเด็จพระราชินีแอนน์ โบลีน]] หลังจากนั้นไม่นาน[[โธมัส เครนเมอร์]] อาร์คบิชอปแห่งเคนเตอร์เบอร์รี่ ได้ประกาศว่าการอภิเษกกับ สมเด็จพระราชินีแคทเธอรีน แห่งอรากอนถือเป็นอันโมฆะ และการอภิเษกสมรสกับ สมเด็จพระราชินีแอนน์ โบลีนถือเป็นอันถูกต้อง พระเจ้าเฮนรี่ประกาศไม่ขึ้นตรงต่อสันตะปาปาแห่งโรมันคาทอลิก และประกาศตนเป็นหัวหน้าแห่งโบสถ์แห่งอังกฤษ ทำให้พระนางแคทเธอรีนต้องถูกถอดยศจากสมเด็จพระราชินีและลดชั้นกลายเป็น[[เจ้าหญิงแห่งเวลส์]]ที่เป็นหม้าย เจ้าหญิงแมรี่ได้กลายเป็นบุตรนอกสมรส ตำแหน่งของพระนางต้องถูกรับช่วงต่อโดย เจ้าหญิงเอลิซาเบธซึ่งต่อมาคือ[[สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ]]และเป็นธิดาในสมเด็จพระราชินีแอนน์ โบลีน เจ้าหญิงแมรี่จึงกลายเป็น ''เลดี้ แมรี่''
 
เลดี้ แมรี่ถูกขับไล่ออกจากราชวงศ์ ทำให้เธอต้องมาคอยรับใช้เจ้าหญิงเอลิซาเบธ พระนางไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าพบพระมารดาอีกและไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมพิธีฝังศพพระมารดาใน [[พ.ศ. 2079]] พระนางแอนน์ โบลีนพยายามอย่างยิ่งที่จะทำให้พระเจ้าเฮนรียอมรับให้ผู้ทรงปัญญามีอำนาจในการปกครองโบสถ์แห่งอังกฤษ โดยปฏิเสธคนจากสันตะปาปาและยอมรับว่าการสมรสของบิดา มารดาของพระนางเป็นอันผิดกฎหมาย
บรรทัด 53:
 
== สิทธิในการครองราชย์ ==
[[ไฟล์:Lady_Jane_Grey_van_de_PasseLady Jane Grey van de Passe.jpg|thumb|left|200px|เลดี้เจน เกรย์]]
เมื่อ[[พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6 แห่งอังกฤษ]]เสด็จสวรรคตด้วย[[วัณโรค]]ในวันที่ [[6 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2096]] สิริพระชนมายุได้ 15 พรรษา พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดไม่ต้องการให้เจ้าหญิงแมรี่ครองราชสมบัติ เพราะเกรงว่าพระนางจะฟื้นฟูโรมันคาทอลิกและอาจล้มล้างการปฏิรูปศาสนาของพระองค์ เพราะเหตุผลนี้พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดจึงวางแผนที่จะตัดพระนางออกจากสิทธิในการสืบราชบัลลังก์ อย่างไรก็ตามที่ปรึกษาของพระองค์ไม่แนะนำให้ตัดสิทธิของเจ้าหญิงแมรี่ แต่พระองค์ก็ตั้งใจให้สิทธิในการครองราชย์แก่เจ้าหญิงเอลิซาเบธ แต่พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดก็ตัดสิทธิในการครองราชย์ทั้งสองคน พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดได้ให้สิทธิในการครองราชย์แก่[[เลดี้เจน เกรย์]] ลูกสะใภ้ของ[[จอห์น คัดเลย์เอิร์ล แห่ง วอร์วิก]] ต่อมากฎหมายใน [[พ.ศ. 2087]] ได้ให้เจ้าหญิงทั้งสองกลับมาสู่สิทธิในการสืบราชสมบัติอีกครั้ง เมื่อพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดสิ้นพระชนม์ เจ้าหญิงแมรี่ได้ถูกเรียกตัวกลับมา[[ลอนดอน]] อย่างไรก็ตาม ในตอนแรกพระนางสงสัยว่าการเรียกตัวครั้งนี้อาจเป็นข้ออ้างในการจับกุมพระนาง ในการกระทำครั้งนี้เป็นการทำให้ เลดี้เจน เกรย์รับสิทธิในการครองราชย์สะดวกขึ้น ในวันที่ [[10 กรกฎาคม]] เลดี้เจน เกรย์ยอมรับในการขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ การครองราชย์ของเจน เกรย์มีผู้สนับสนุนน้อย หลังจากนั้น 9 วันพระนางได้ถูกเชิญลงจากตำแหน่ง เจ้าหญิงแมรี่ได้เดินทางมาลอนดอนท่ามกลางผู้สนับสนุนมากมาย ท้ายที่สุด เลดี้เจน เกรย์ และ จอห์น ดัดเลย์ ถูกส่งไปจำคุกและคอยการประหารที่หอคอยลอนดอน
 
บรรทัด 73:
 
กฎหมายของพระเจ้าเอ็ดเวิรด์เกี่ยวกับการศาสนาได้ถูกเลิกล้มโดยกฎหมายแรกของรัฐสภาซึ่งพระนางแมรี่เห็นชอบด้วย (พ.ศ. 2096) และโบสถ์ได้ฟื้นฟูอีกครั้ง
พระนางได้ชักชวนให้สภายกเลิกกฎหมายว่าด้วยนิกาย[[โปรเตสแตนต์]]ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัย[[สมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8]] และได้มีการเห็นพ้องกันมากหลาย
 
=== การลงโทษ ===