ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เอซี มิลาน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Bigdas (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 8537792 สร้างโดย Bigdas (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 47:
}}
 
'''สโมสรฟุตบอลมิลาน''' ({{lang-it|Associazione Calcio Milan}}) หรือ '''เอซี มิลาน''' (A.C. Milan) เรียกสั้น ๆ ว่า '''มิลาน''' (ภาษาอิตาลีออกเสียงว่า ''มีลาน'') หรือที่ฉายาในสื่อไทยเรียกว่า '''ปีศาจแดง-ดำ''' เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพในเมืองมิลาน [[แคว้นลอมบาร์เดีย]] ประเทศอิตาลี ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี [[ค.ศ. 1899]] และเป็นหนึ่งในทีมฟุตบอลที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดทีมหนึ่งในวงการฟุตบอลของยุโรปและของโลก โดยได้แชมป์ระดับเมเจอร์รวมทั้งหมดถึง 46 รายการ อีกทั้งยังเป็นหนึ่งในทีมที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในอิตาลี เช่นเดียวกับ [[ยูเวนตุส]] และ[[สโมสรฟุตบอลอินเตอร์มิลาน|อินเตอร์]] นอกจากนี้ยังเป็นสมาชิกของกลุ่ม จี-14 ซึ่งเป็นกลุ่มของสโมสรฟุตบอลยักษ์ใหญ่ของทวีปยุโรปอีกด้วย
 
เอซี มิลาน ใช้สนาม[[ซานซีโร]] หรือที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า [[ซานซีโร|สตาดีโอ จูเซ็ปเป เมอัซซา]] เป็นสนามที่ใช้ในการเล่นในฐานะเจ้าบ้าน ร่วมกับทีมคู่ปรับร่วมเมืองอย่าง[[สโมสรฟุตบอลอินเตอร์มิลาน|อินเตอร์]]
บรรทัด 55:
[[ไฟล์:Italian Football Champion 1901.jpg|thumb|right|250px|เอซี มิลานในปี [[ค.ศ. 1901]]]]
 
'''AC Milan''' ย่อมาจาก '''Associazione Calcio Milan''' ได้ก่อตั้งสโมสรขึ้นเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 1899 โดยชาวอังกฤษสามคน ได้พูดคุยกันที่ห้องหนึ่งในโรงแรม โฮเตล ดู นอร์ และเกิดความคิดที่จะสร้างสโมสรคริกเกตและฟุตบอลชื่อ '''“Milan Football and Cricket Club”''' ซึ่งตอนเริ่มก่อตั้งใหม่ๆใหม่ ๆ คลับแห่งนี้เน้นไปที่คริกเกตมากกว่า แต่เมื่อข่าวค่อยๆค่อย ๆแพร่กระจายออกไป ก็มีผู้คนให้การสนับสนุนฟุตบอลมากขึ้นเรื่อยๆเรื่อย ๆ โดยมี[[อัลเฟรด เอ็ดเวิร์ดส์]] ทำหน้าที่ประธานสโมสรเป็นคนแรก โดยหลังจากที่ไปขึ้นทะเบียนกับสหภาพฟุตบอลอิตาเลียนแล้ว ทีมก็ได้เข้าร่วมชิงชัยในฟุตบอล รวมทั้งเริ่มสร้างสนามเพื่อใช้ในการเป็นเจ้าบ้าน โดยทำการสร้างสนามที่บริเวณทรอตเตอร์ ซึ่งในปัจจุบันก็คือ สถานีรถไฟกลางนั่นเอง
 
นัดเปิดสนามนัดแรกของสโมสรคือ การที่มิลานแข่งกับทีมเมดิโอลานุม ในวันที่ 11 มีนาคม ค.ศ. 1900 และมิลานเอาชนะไปได้ 3-0 ซึ่งผู้เล่น 11 คนแรกของสโมสรประกอบไปด้วย '''[[ฮู้ด]] [[ชิญญากี]] [[ตอร์เรตต้า]] [[ลีส์]] [[คิลปิน]] [[วาเลริโอ]] [[ดูบินี]] [[เดวีส์]] [[เนวิลล์]] [[อัลลิสัน]] [[ฟอร์เมนติ]]''' โดยในขณะนั้น [[เฮอร์เบิร์ต คิลปิน]] เป็นทั้งหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งสโมสรและเป็นกัปตันทีมฟุตบอล อีกทั้งยังได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้เล่นที่ดีที่สุดของทีมในขณะนั้น แต่ทว่าการแข่งขันอย่างเป็นทางการจริงๆจริง ๆ มิลานกลับแพ้[[โตริโน]] 0-3 เมื่อวันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1900
 
ในปี ค.ศ. 1919 สโมสรได้เปลี่ยนชื่อเป็น '''“Milan Football Club”''' จากนั้นในปี ค.ศ. 1936 ก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น '''“Milan Associazione Sportiva”''' ต่อมาในปี ค.ศ. 1938 เปลี่ยนมาเป็น '''“Associazione Calcio Milano”''' สุดท้ายเปลี่ยนมาเป็น '''“Associazione Calcio Milan”''' ในปี ค.ศ. 1945 และใช้ชื่อนี้มาจนถึงปัจจุบัน
บรรทัด 65:
เอซี มิลาน ใช้สนาม '''“[[ซานซีโร]]”''' หรือ '''“[[ซานซีโร|สตาดีโอ จูเซ็ปเป เมอัซซา]]”''' ซึ่งเป็นสนามประจำเมืองมิลาน มีความจุโดยประมาณ 80,074 คน (ปัจจุบัน) เป็นสนามประจำทีม โดยสนามซานซีโร สร้างขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 กันยายน ค.ศ. 1926 ซึ่งผู้ที่ริเริ่มความคิดคือ [[ปิเอโร ปิเรลลี]] ประธานสโมสรของมิลานในขณะนั้น โดยเขาคิดที่จะมอบมันเป็นของขวัญให้กับสโมสร สนาม[[ซานซีโร]] ใช้เวลาในการสร้างทั้งหมด 1 ปี โดยสามารถจุผู้ชมได้ 10,000 ที่นั่ง ต่อมาในปี ค.ศ. 1939 ได้มีการปรับปรุงสนาม[[ซานซีโร]] เพื่อให้สามารถรองรับแฟนบอลที่มาเข้าชมการแข่งขันได้มากขึ้น โดยครั้งนี้ได้เพิ่มจำนวนที่นั่งขึ้นไปเป็น 55,000 ที่นั่ง
 
ในปี ค.ศ. 1986 ได้มีการปรับปรุงสนาม[[ซานซีโร]] อีกครั้งหนึ่ง เพื่อใช้เป็นสนามในการจัดการแข่งขัน[[ฟุตบอลโลก]] 1990 โดยครั้งนี้ได้มีการสร้างหลังคาที่ทำด้วยไฟเบอร์กลาส และสร้างหอคอยทางขึ้นอีก 11 ด้านเสียใหม่ รวมทั้งเพิ่มความจุของที่นั่ง จากเดิม 5 หมื่นกว่าที่นั่ง ไปเป็น 85,700 ที่นั่ง ซึ่งมีการคาดกันว่า ถ้านับกันจริงๆจริง ๆแล้ว สนาม[[ซานซีโร]] น่าจะสามารถรองรับผู้ชมได้ถึง 150,000 คน แต่เนื่องจากติดปัญหาในด้านความปลอดภัย สภาเมือง[[มิลาน]]จึงได้ออกกฎห้ามมิให้มีผู้ชมเกินกว่า 100,000 คน
 
ในต้นเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2015 [[บี เตชะอุบล]] นักธุรกิจชาวไทยได้ซื้อหุ้นของสโมสรบางส่วน โดยที่ประธานสโมสรยังคงเป็น [[ซิลวีโอ แบร์ลุสโกนี]] อยู่ <ref>[http://www.manager.co.th/sport/ViewNews.aspx?NewsID=9580000050313 ยิ่งใหญ่! “บี เตชะอุบล” ปิดดีลเทกโอเวอร์ “มิลาน” จากผู้จัดการออนไลน์]</ref>
 
== ยุคสมัยของสโมสร ==
=== ยุคเริ่มก่อตั้งถึงยุคคริสต์ทศวรรษที่ 401940 ===
ยุคนี้ถือเป็นยุคมืดของมิลาน โดยตลอดระยะเวลาครึ่งศตวรรษ มิลานได้แชมป์[[กัลโช เซเรีย อา|อิตาเลียน ฟุตบอล แชมเปียนส์ชิพ]] หรือ[[กัลโช เซเรีย อา]] เพียงแค่ 3 สมัยเท่านั้น ในปี 1901, 1906 และ 1907 รองแชมป์ 2 ครั้ง ในปี 1902 และ 1948, รองแชมป์[[โคปปา อิตาเลีย]] 1 ครั้ง ในปี 1942 โดยแพ้ให้กับ[[ยูเวนตุส]] นอกจากนั้นแล้ว ก็ไม่สามารถที่จะทำอะไรได้เป็นชิ้นเป็นอัน ปล่อยให้[[สโมสรฟุตบอลเจนัว|เจนัว]], [[โปร แวร์เชลลี]], [[ยูเวนตุส]], [[สโมสรฟุตบอลอินเตอร์มิลาน|อินเตอร์]], [[สโมสรฟุตบอลโตรีโน|โตรีโน]] และ[[สโมสรฟุตบอลโบโลญญา|โบโลญญา]] ผลัดกันขึ้นครองแชมป์อย่างสนุกมือ โดยนักเตะที่สำคัญในช่วงนี้ ได้แก่ [[เฮอร์เบิร์ต คิลปิน]], [[หลุยส์ ฟาน แฮช]], [[อัลโด้ เคเวนินี]], [[จูเซ็ปเป ซานตากอสติโน]], [[อัลโด โบฟฟี]], [[คาร์โล อันโนวาซซี]], [[เรนโซ บูรินี]] และ[[โอเมโร โตญญอน]] เป็นต้น
 
=== ยุคคริสต์ทศวรรษที่ 501950 ===
ยุคนี้ มิลานได้แชมป์[[กัลโช เซเรีย อา]] ถึง 4 สมัย ในปี 1951, 1955, 1957 และ 1959 รองแชมป์อีก 3 ครั้ง ในปี 1950, 1952 และ 1956 ส่วนในระดับทวีปนั้น มิลานได้เข้าชิง[[ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก|ยูโรเปียน คัพ]] ในปี 1958 แต่แพ้ต่อ[[เรอัลมาดริด]] ยอดทีมในยุคนั้นไป 2-3 ในช่วงต่อเวลาพิเศษ โดยนักเตะที่สำคัญในยุคนี้ ได้แก่ [[สามทหารเสือสวีดิช]] [[เกร-โน-ลี]] อย่าง[[กุนนาร์ เกร็น]], [[กุนนาร์ นอร์ดาห์ล]] และ[[นิลส์ ลีดโฮล์ม]] นอกจากนี้ก็ยังมีอีกหลายคน เช่น [[เชซาเร มัลดินี]], [[ฮวน เชียฟฟิโน]], [[ฟรานเชสโก ซากัตติ]], [[อาร์ตูโร ซิลเวสตรี]] และ[[ลอเรนโซ บุฟฟอน]] เป็นต้น
 
=== ยุคคริสต์ทศวรรษที่ 601960 ===
ยุคนี้ถือเป็นยุครุ่งเรืองยุคหนึ่งของมิลาน โดยมิลานได้แชมป์[[กัลโช เซเรีย อา]] 2 สมัย ในปี 1962 และ 1968 รองแชมป์อีก 3 ครั้ง ในปี 1961, 1965 และ 1969, แชมป์[[โคปปา อิตาเลีย]] 1 สมัย ในปี 1967 ที่เอาชนะ[[ปาโดวา]] รองแชมป์อีก 1 ครั้ง ในปี 1968 ที่แพ้ต่อ[[สโมสรฟุตบอลโตรีโน|โตรีโน]], แชมป์[[ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก|ยูโรเปียน คัพ]] 2 สมัย ในปี 1963 ที่เอาชนะ[[เบนฟิกา]] ของ"เสือดำแห่งโมซัมบิก" [[ยูเซบิโอ]] ไป 2-1 และปี 1969 ที่ถล่ม[[อาแจ็กซ์]] ของ"นักเตะเทวดา" [[โยฮัน ครัฟฟ์]] ไปถึง 4-1, แชมป์[[ยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพ|ยูโรเปียน คัพ วินเนอร์ส คัพ]] 1 สมัย ในปี 1968 ที่เอาชนะ[[สโมสรฟุตบอลฮัมบวร์ค เอสวี|ฮัมบวร์ค]] และได้แชมป์[[ฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก|สโมสรโลก]] 1 สมัย โดยเอาชนะ[[สโมสรฟุตบอลเอสตูเดียนเตส|เอสตูเดียนเตส]] ในปี 1969 รองแชมป์อีก 1 ครั้ง ในปี 1963 ที่พ่ายต่อ[[สโมสรฟุตบอลซานโตส|ซานโตส]] ของ"ไข่มุกดำ" [[เปเล]] โดยนักเตะที่สำคัญในยุคนี้ ได้แก่ [[จานนี ริเวรา]], [[โฮเซ อัลตาฟินี]], [[ปิเอริโน ปราติ]], [[อันเจโล ซอร์มานี]], [[จานคาร์โล ดาโนวา]], [[คาร์ล-ไฮนซ์ ชเนลลิงเกอร์]], [[มาริโอ เตรบบี]], [[บรูโน โมรา]], [[โจวานนี โลเดตติ]], [[มาริโอ ดาวิด]], [[โจวานนี ตราปัตโตนี]], [[อันเจโล อันกวิลเลตติ]], [[โรแบร์โต โรซาโต]], [[ลุยจิ ราดิเซ]], [[ดิโน ซานี]], [[จอร์โจ เกซซี]] และ[[ฟาบิโอ คูดิชินี]] เป็นต้น โดยยอดผู้จัดการทีมของมิลานในยุคนี้คือ [[เนเรโอ ร็อคโค]]
 
=== ยุคคริสต์ทศวรรษที่ 701970 ===
ยุคนี้ถือเป็นยุคประคองตัว ความสำเร็จภายในประเทศตกไปเป็นของ[[ยูเวนตุส]]อีกครั้ง ส่วนในระดับยุโรป ก็ไม่สามารถที่จะขึ้นไปทาบรัศมีของ[[อาแจ็กซ์]], [[สโมสรฟุตบอลบาเยิร์น มิวนิก|บาเยิร์น]] และ[[สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล|ลิเวอร์พูล]]ได้เลย โดยมิลานได้แชมป์[[กัลโช เซเรีย อา]] เพียงแค่ 1 สมัย ในปี 1979 รองแชมป์ 3 ครั้งติดต่อกัน ในปี 1971, 1972 และ 1973, แชมป์[[โคปปา อิตาเลีย]] 3 สมัย ในปี 1972, 1973 และ 1977 ที่ชนะ[[สโมสรฟุตบอลนาโปลี|นาโปลี]], [[ยูเวนตุส]] และ[[สโมสรฟุตบอลอินเตอร์มิลาน|อินเตอร์]] ตามลำดับ รองแชมป์อีก 2 ครั้ง ในปี 1971 ที่แพ้ต่อ[[สโมสรฟุตบอลโตรีโน|โตรีโน]] และในปี 1975 ที่แพ้ต่อ[[สโมสรฟุตบอลฟิออเรนตีนา|ฟิออเรนตินา]], แชมป์[[ยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพ|ยูโรเปียน คัพ วินเนอร์ส คัพ]] 1 สมัย ในปี 1973 ที่เอาชนะ[[สโมสรฟุตบอลลีดส์|ลีดส์]] และรองแชมป์ 1 ครั้ง ในปี 1974 ที่แพ้ต่อ[[สโมสรฟุตบอลมักเดบวร์ก|มักเดบวร์ก]] นอกจากนี้ ยังได้รองแชมป์[[ยูฟ่าซูเปอร์คัพ|ยูโรเปียน ซูเปอร์ คัพ]] 1 ครั้ง ในปี 1973 โดยที่นัดแรกเล่นในบ้าน เอาชนะ[[อาแจ็กซ์]]ได้ 1-0 แต่พอไปเยือนกลับโดนอัดกลับมาถึง 6-0 ชวดแชมป์ไปอย่างเจ็บปวด โดยนักเตะที่สำคัญในยุคนี้ ได้แก่ [[อัลแบร์โต บิกอน]], [[อัลโด มัลเดรา]], [[จูเซ็ปเป ซาบาดินี]], [[อัลโด เบท]], [[เอกิดิโอ คัลโลนี]], [[ฟูลวิโอ โคลโลวาติ]], [[เอ็นริโก อัลแบร์โตซี]], [[โรเมโอ เบเนตติ]] และ[[รูเบน บูริอานี]] เป็นต้น
 
=== ยุคคริสต์ทศวรรษที่ 801980 ===
ในช่วงต้นทศวรรษถือเป็นช่วงเวลาที่เลวร้ายที่สุดของสโมสร เมื่อมิลานถูกปรับตกชั้นในปี 1980 จากข้อหาพัวพันกับคดีการล้มบอลของประธานสโมสร [[เฟลิเซ โคลอมโบ]] และผู้รักษาประตูของทีมอย่าง[[เอ็นริโก อัลแบร์โตซี]] ทำให้ทีมต้องลงเล่นในศึก[[กัลโช เซเรีย บี]] เป็นครั้งแรก ซึ่งถึงแม้ว่าจะคว้าแชมป์[[กัลโช เซเรีย บี|เซเรีย บี]] ได้ในทันที แต่เมื่อกลับคืนสู่[[กัลโช เซเรีย อา|เซเรีย อา]] ได้เพียงฤดูกาลเดียวก็ต้องตกชั้นอีก อย่างไรก็ตาม มิลานก็สามารถกลับคืนสู่[[กัลโช เซเรีย อา|เซเรีย อา]] ในฐานะแชมป์[[เซเรีย บี]] อีกครั้ง ในปี 1983 แต่ทว่าหลังจากนั้นไม่นาน ประธานสโมสร [[จูเซ็ปเป ฟารินา]] ได้พัวพันกับคดีทางกฎหมาย จนทำให้เขาตัดสินใจหนีไปอยู่ที่แอฟริกาใต้ พร้อมกับเอาเงินของสโมสรไปด้วย มิลานในขณะนั้นจึงอยู่ในสภาพเกือบล้มละลาย แต่เมื่อมีมหาเศรษฐีที่ชื่อ [[ซิลวีโอ แบร์ลุสโกนี]] เข้ามาเทคโอเวอร์กิจการของสโมสรในปี 1986 มิลานก็เริ่มเข้าสู่ยุครุ่งเรืองอีกครั้ง โดยมิลานได้แชมป์[[กัลโช เซเรีย อา]] 1 สมัย ในปี 1988, รองแชมป์[[โคปปา อิตาเลีย]] 1 ครั้ง ในปี 1985 ที่แพ้ต่อ[[ซามพ์โดเรีย]], ได้แชมป์[[ซูเปอร์โคปปา อิตาเลียนา|อิตาเลียน ซูเปอร์ คัพ]] 1 สมัย ในปี 1988 ที่ชนะ[[ซามพ์โดเรีย]], แชมป์[[ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก|ยูโรเปียน คัพ]] 1 สมัย ในปี 1989 ที่ถล่ม[[สเตอัว บูคาเรสต์]] 4-0, แชมป์[[ยูฟ่าซูเปอร์คัพ|ยูโรเปียน ซูเปอร์ คัพ]] 1 สมัย ในปี 1989 ที่เอาชนะ[[สโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา|บาร์เซโลนา]] และได้แชมป์[[ฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก|สโมสรโลก]] 1 สมัย ในปี 1989 อีกเช่นกัน โดยเอาชนะ[[แอตเลติโก นาซิอองนาล]] 1-0 ซึ่งนักเตะที่สำคัญในยุคนี้ ได้แก่ [[สามทหารเสือดัตช์]]อย่าง [[มาร์โก ฟาน บาสเทน]], [[รืด คึลลิต]] และ[[ฟรังก์ ไรการ์ด]] นอกจากนั้นก็ยังมี [[เปาโล มัลดีนี]], [[ฟรังโก้ บาเรซี]], [[อเลสซานโดร คอสตาคูร์ตา]], [[เมาโร ตัสซอตติ]], [[ฟิลิปโป กัลลี]], [[โจวานนี กัลลี]], [[โรแบร์โต โดนาโดนี]], [[อัลเบริโก เอวานี]], [[คาร์โล อันเชลอตติ]], [[ดานิเอเล มัสซาโร]], [[ปิเอโตร วีร์ดิส]] และ[[อันเจโล โคลอมโบ]] เป็นต้น โดยยอดผู้จัดการทีมของมิลานในยุคนี้คือ [[อาร์ริโก ซาคคี]] ปรมาจารย์ลูกหนัง ผู้ให้กำเนิดโซนเพรส (เพรสซิง ฟุตบอล)
 
=== ยุคคริสต์ทศวรรษที่ 901990 ===
ยุคนี้ถือเป็นยุคไร้เทียมทาน เป็นยุคทองของสโมสรอย่างแท้จริง โดยมิลานได้ประกาศศักดาความยิ่งใหญ่ไปทั่วโลก โดยได้แชมป์[[กัลโช เซเรีย อา]] ถึง 5 สมัย ซึ่งเป็น 3 สมัยติดต่อกันด้วย ในปี 1992, 1993 และ 1994 ซึ่งช่วงเวลานี้เอง ที่มิลานทำสถิติไร้พ่ายในลีกติดต่อกันถึง 58 นัด จากนั้นก็ยังได้แชมป์อีก 2 สมัย ในปี 1996 และ 1999 รองแชมป์ 2 ครั้งติดต่อกัน ในปี 1990 และ 1991, รองแชมป์[[โคปปา อิตาเลีย]] 2 ครั้ง ในปี 1990 ที่แพ้[[ยูเวนตุส]] และปี 1998 ที่แพ้ให้กับ[[สโมสรฟุตบอลลาซีโอ|ลาซีโอ]], ได้แชมป์[[ซูเปอร์โคปปา อิตาเลียนา|อิตาเลียน ซูเปอร์ คัพ]] 3 สมัยติดต่อกัน ในปี 1992, 1993 และ 1994 ที่ชนะ[[สโมสรฟุตบอลปาร์มา|ปาร์มา]], [[สโมสรฟุตบอลโตรีโน|โตรีโน]] และ[[ซามพ์โดเรีย]] ตามลำดับ รองแชมป์อีก 2 ครั้ง ในปี 1996 ที่พ่ายให้กับ[[สโมสรฟุตบอลฟิออเรนตีนา|ฟิออเรนตีนา]] และปี 1999 ที่พ่ายต่อ[[สโมสรฟุตบอลปาร์มา|ปาร์มา]] ส่วนใน[[ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก|ยูฟ่า แชมเปียนส์ ลีก]] มิลานได้แชมป์ 3 สมัย จากการเข้าชิง 5 ครั้ง ในรอบ 7 ปี โดยนอกจากปี 1989 แล้ว ในปี 1990 เอาชนะ[[เบนฟิกา]]ได้ 1-0 และปี 1994 ที่ถล่ม[[สโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา|บาร์เซโลนา]] ซึ่งถือเป็นดรีมทีมในช่วงนั้นไปเละเทะถึง 4-0 รองแชมป์อีก 2 ครั้ง ในปี 1993 ที่พ่ายต่อ[[สโมสรฟุตบอลโอลิมปิค มาร์กเซย|มาร์กเซย]] และปี 1995 ที่พ่ายต่อ[[อาแจ็กซ์]], แชมป์[[ยูฟ่าซูเปอร์คัพ|ยูโรเปียน ซูเปอร์ คัพ]] 2 สมัย ในปี 1990 ที่ชนะ[[ซามพ์โดเรีย]] และปี 1994 ที่ชนะ[[สโมสรฟุตบอลอาร์เซนอล|อาร์เซนอล]] รองแชมป์ 1 ครั้ง ในปี 1993 ที่พ่าย[[สโมสรฟุตบอลปาร์มา|ปาร์มา]] นอกจากนี้ ยังได้แชมป์[[ฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก|สโมสรโลก]]อีก 1 สมัย ในปี 1990 ที่เอาชนะ[[โอลิมเปีย]] 3-0 รองแชมป์อีก 2 ครั้ง ในปี 1993 ที่แพ้ต่อ[[เซา เปาโล]] และปี 1994 ที่แพ้ต่อ[[เบเลซ ซาร์สฟิลด์]] โดยนักเตะที่สำคัญในยุคนี้ นอกเหนือจากผู้เล่นที่เหลืออยู่จากช่วงปลายทศวรรษที่ 80 แล้ว ก็ยังมีเพิ่มอีกหลายคน ได้แก่ [[เซบาสเตียโน รอสซี]], [[เดยัน ซาวิเซวิช]], [[เดเมตริโอ อัลแบร์ตินี]], [[มาร์กแซล เดอไซญี]], [[มาร์โก ซีโมเน]], [[ซโวนีเมียร์ โบบัน]], [[ฌอง-ปิแอร์ ปาแปง]], [[จอร์จ เวอาห์]], [[คริสเตียน ปานุชชี]], [[สเตฟาโน เอรานิโอ]], [[โรแบร์โต บาจโจบัจโจ]], [[เลโอนาร์โด]] และ[[โอลิเวอร์ เบียร์โฮฟฟ์]] เป็นต้น โดยยอดผู้จัดการทีมของมิลานในยุคนี้ คือ [[ฟาบิโอ คาเปลโล]]
 
=== ยุคมิลเลนเนี่ยมถึงปัจจุบันลเลนเนียมถึงปัจจุบัน ===
[[ไฟล์:A.C. Milan lifting the European Cup after winning the 2002–03 UEFA Champions League - 20030528.jpg|thumb|right|250px|ยูฟ่า แชมเปียนส์ ลีก 2002-2003]]
ยุคนี้ถือเป็นยุคฟื้นฟูความสำเร็จ หลังจากตกต่ำไประยะหนึ่ง