ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระอัญญาโกณฑัญญเถระ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Anonimeco (คุย | ส่วนร่วม)
นำกล่องข้อมูล + ส่วนนำกลับมา
บรรทัด 1:
{{กล่องข้อมูล บุคคลในพระพุทธประวัติ
| name = พระอัญญาโกณฑัญญะ
| img = Kaundinya.JPG
| img_size =
| img_capt = ภาพวาดพระอัญญาโกณฑัญญะ
| ชื่อเดิม = โกณฑัญญะ, โกณฑัญญะพราหมณ์
| พระนามเดิม =
| ชื่ออื่น =
| พระนามอื่น =
| วันเกิด =
| วันประสูติ =
| สถานที่เกิด = หมู่บ้านพราหมณ์โทณวัตถุ [[เมืองกบิลพัสดุ์]]
| สถานที่ประสูติ =
| สถานที่บวช = [[ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน]]
| วิธีบวช = [[เอหิภิกขุอุปสัมปทา]]
| สถานที่บรรลุธรรม = [[ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน]]
| ตำแหน่ง =
| เอตทัคคะ = เอตทัคคะในด้านรัตตัญญู (มีราตรีนาน คือบวชก่อนผู้อื่น)
| อาจารย์ =
| ลูกศิษย์ =
| เสียชีวิต =
| นิพพาน =
| ปรินิพพาน =
| สถานที่เสียชีวิต =
| สถานที่นิพพาน = บรรณศาลาริมสระฉัททันต์ ป่าหิมพานต์
| สถานที่ปรินิพพาน =
| ชาวเมือง = [[เมืองกบิลพัสดุ์]] [[แคว้นสักกะ]]
| นามบิดา = พราหมณ์มหาศาล (ไม่ทราบนาม)
| นามพระบิดา =
| นามพระราชบิดา =
| นามมารดา =
| นามพระมารดา =
| นามพระราชมารดา =
| วรรณะเดิม = พราหมณ์
| ราชวงศ์ =
| การศึกษา = จบ[[ไตรเพท]] รู้ตำราทำนายลักษณะมหาบุรุษ
| อาชีพ =
| ชื่อสถานที่ = ธรรมเมกขสถูป (สถานที่ได้ดวงตาเห็นธรรม), ธรรมราชิกสถูป (สถานที่บรรลุพระอรหันต์) ภายใน[[ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน]] หรือ[[สารนาถ]]ในปัจจุบัน
| หมายเหตุ =
}}
 
'''พระอัญญาโกณฑัญญะ''' เป็นพระภิกษุสาวกของพระพุทธเจ้า เป็นหนึ่งใน[[ปัญจวัคคีย์]] และ[[พระอสีติมหาสาวก]]ผู้เป็น[[เอตทัคคะ]]ในด้านรัตตัญญู คือเป็นผู้รู้ธรรมก่อนใครในพระพุทธศาสนาและได้บวชก่อนผู้อื่น
 
พระอัญญาโกณฑัญญะ เมื่อได้บรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว ไม่ได้มีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาเท่าใดนัก เนื่องจากท่านทรงอายุพรรษากาลมากแล้ว ในช่วง 12 ปีสุดท้ายในบั้นปลายของท่าน ท่านได้ไปพักจำพรรษาและได้นิพพานที่สระฉันทันต์ ป่าหิมพานต์ ในช่วงต้นพุทธกาล
 
== ชาติกำเนิด ==
เส้น 4 ⟶ 48:
 
== สาเหตุที่ได้เป็นเอตทัคคะ ==
 
=== บุพกรรมในอดีตชาติ ===
พระอัญญาโกณฑัญญะตั้งจิตปรารถนาไว้ตั้งแต่ครั้งพระพุทธเจ้าปทุมุตตระ ครั้งนั้นท่านเกิดเป็นบุตรคหบดีมหาศาลชาวหงสวดี วันหนึ่งเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าพร้อมกับพวกชาวเมืองเพื่อฟังธรรม เห็นพระพุทธเจ้าทรงตั้งพระสาวกรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้านรัตตัญญู (แปลว่า ผู้รู้ราตรีนาน หมายถึงได้บวชก่อนใครได้รู้ได้ฟังมาก) แล้วเกิดศรัทธาปรารถนาจะได้เป็นเช่นพระสาวกรูปนั้นบ้าง
 
ท่านแสดงศรัทธาให้ปรากฏด้วยการถวายมหาทานแด่พระพุทธเจ้าและพระสาวกติดต่อกัน 7 วัน วันสุดท้ายได้สั่งให้เปิดเรือนคลังเก็บผ้า นำผ้าเนื้อดีเลิศมาวางถวายไว้แทบยุคลบาทของพระพุทธเจ้าและถวายพระสาวกแล้วกราบทูลว่า “ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอให้ข้าพระองค์ได้เป็นเหมือนภิกษุรูปที่พระองค์ทรงแต่งตั้งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเมื่อ 7 วันก่อนจากนี้ด้วยเถิด นั่นคือขอให้ได้บวชในศาสนาของพระพุทธเจ้าในอนาคตแล้วได้รู้แจ้งธรรมก่อนใครหมด” พระพุทธเจ้าทรงตรวจดูความเป็นไปในอนาคตของท่านด้วยพระญาณแล้ว ทรงเห็นว่าความปรารถนาของท่านสำเร็จได้แน่จึงทรงพยากรณ์ว่า
 
{{คำพูด|ในอีก 100,000 [[กัป]]ข้างหน้า พระพุทธเจ้าโคดมจักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก เธอจักได้ออกบวชเป็นสาวกของพระองค์ จักได้รู้แจ้งธรรมก่อนใคร และจักได้รับตำแหน่งเอตทัคคะด้านรัตตัญญู}}
 
ท่านได้ฟังพระพุทธเจ้าตรัสพยากรณ์แล้วเกิดปีติโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง ได้ทำบุญอื่น ๆ สนับสนุนอย่างต่อเนื่อง ต่อมาเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ได้เป็นกำลังสำคัญในการสร้างกำแพงแก้วล้อมพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระองค์ ครั้นถึงวันประดิษฐานพระเจดีย์ ก็ได้สร้างเรือนแก้วไว้ภายในพระเจดีย์อีก จากชาตินั้น บุญส่งผลให้เวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิต่าง ๆ จนมาถึงพุทธุปบาทกาลของพระพุทธเจ้าวิปัสสี
แก้วล้อมพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระองค์ ครั้นถึงวันประดิษฐานพระเจดีย์ ก็ได้สร้างเรือนแก้วไว้ภายในพระเจดีย์อีก จากชาตินั้น บุญส่งผลให้เวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิต่าง ๆ จนมาถึงพุทธุปบาทกาลของพระพุทธเจ้าวิปัสสี
 
ชาติที่พบพระพุทธเจ้าวิปัสสีนั้น ท่านเกิดเป็นบุตรของกระฎุมพีชาวเมืองพันโฌฤฆฏธุมดี มีชื่อว่า “มหากาล” มหากาลมีน้องชายชื่อ “จูฬกาล” (ในชาติสุดท้ายคือสุภัททะปริพาชก) ทั้ง 2 มีอุปนิสัยแตกต่างกัน กล่าวคือ มหากาลเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าวิปัสสี แต่จูฬกาลกลับไม่เลื่อมใส ดังนั้น ทั้ง 2 จึงมีความเห็นขัดแย้งอยู่ตลอดเวลาเกี่ยวกับการทำบุญ
เส้น 34 ⟶ 77:
บุตรพราหมณ์เหล่านั้น ยอมออกบวชเพียง 4 คน คือ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และ อัสสชิ โกณฑัญญะ จึงพามาณพทั้ง ๔ คนนั้นพร้อมทั้งตนด้วยรวมเป็น 5 ได้นามบัญญัติว่า “[[ปัญจวัคคีย์]]” ออกบวชสืบเสาะติดตามถามหาพระมหาบุรุษไปตามสถานที่ต่าง ๆ จนมาพบพระพุทธองค์กำลังบำเพ็ญความเพียรอยู่ที่ตำบลอุรุเวลาเสนานิคมด้วยความมั่นใจว่าพระองค์จะได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณอย่างแน่นอน จึงพากันเข้าไปอยู่เฝ้าทำกิจวัตรอุปัฏฐาก ด้วยการจัดน้ำใช้ น้ำฉัน และ ปัดกวาดเสนาสนะ เป็นต้น ด้วยหวังว่าเมื่อพระองค์ได้ตรัสรู้แล้ว จะได้แสดงธรรมโปรดพวกตนให้รู้ตามบ้าง
 
เมื่อพระมหาบุรุษ ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาอย่างอุกฤษฏ์เป็นเวลาถึง 6 ปี ก็ยังไม่ได้บรรลุพระโพธิญาณ จึงทรงพระดำริว่า “วิธีนี้คงจะไม่ใช่ทางตรัสรู้” จึงทรงเลิกละความเพียรด้วยวิธีทรมานกาย หันมาบำเพ็ญเพียรทางจิต เลิกอดพระกระยาหาร กลับมาเสวยตามเดิม เพื่อบำรุงพระวรกายให้แข็งแรงฝ่ายปัญจวัคคีย์ ผู้มีความเลื่อมใสในการปฏิบัติ แบบทรมานร่างกาย ครั้นเห็นพระโพธิสัตว์ละความเพียรนั้นแล้ว ก็รู้สึกหมดหวัง จึงพากันเหลีกหนีทิ้งพระโพธิสัตว์ ให้ประทับอยู่ตามลำพังพระองค์เดียว พากันเที่ยวสัญจรไปพักอาศัยอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน กรุงพาราณสี
โพธิสัตว์ละความเพียรนั้นแล้ว ก็รู้สึกหมดหวัง จึงพากันเหลีกหนีทิ้งพระโพธิสัตว์ ให้ประทับอยู่ตามลำพังพระองค์เดียว พากันเที่ยวสัญจรไปพักอาศัยอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน กรุงพาราณสี
 
ครั้นพระโพธิสัตว์ ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ทรงดำริพิจารณาหาบุคคลผู้สมควรจะรับฟังพระปฐมเทศนา และตรัสรู้ตามได้โดยเร็วในชั้นแรก พระองค์ทรงระลึกถึงอาจารย์ทั้งสองที่พระองค์เคยเข้าไปศึกษา คือ อาฬารดาบส กาลามโคตร แต่ได้ทราบว่าท่านได้ถึงแก่กรรมไปได้ 7 วัน แล้วและอีกท่านหนึ่ง คือ อุทกดาบส รามบุตร แต่ก็ได้ทราบด้วยพระญาณ
เส้น 42 ⟶ 84:
ฝ่ายปัญจวัคคีย์ นั่งสนทนากันอยู่ เห็นพระพุทธองค์เสด็จมาแต่ไกลเข้าใจว่า พระองค์เสด็จมาเพื่อแสวงหาผู้อุปัฏฐาก จึงทำกติกากันว่า “พระสมณโคดม นี้ คลายความเพียรแล้วเวียนมาเพราะความเป็นคนมักมาก พวกเราไม่ควรไหว้ ไม่ควรลุกขึ้นต้อนรับ ไม่รับบาตรและจีวรของพระองค์เลย เพียงแต่จัดอาสนะไว้ เมื่อพระองค์ปรารถนาจะประทับนั่ง ก็จงนั่งตามพระอัธยาศัยเถิด” ครั้นพระพุทธองค์เสด็จมาถึง ต่างพากันลืมกติกาที่นัดหมายกันไว้ กลับทำการต้อนรับเป็นอย่างดีดังที่เคยทำมา แต่ยังใช้คำทักทายว่า “อาวุโส” และเรียกพระนามว่า “โคดม” อันเป็นถ้อยคำที่แสดงความไม่เคารพ ดังนั้น พระพุทธองค์ทรงห้ามแล้วตรัสว่า “อย่าเลย พวกเธออย่างกล่าวอย่างนั้น บัดนี้ ตถาคตได้บรรลุอมตะธรรมเองโดยชอบแล้ว เธอทั้งหลายจงตั้งใจฟังเถิด เราจะแสดงให้ฟัง เมื่อเธอปฏิบัติตามที่เราสอนแล้ว ไม่นานก็จะบรรลุอมตะธรรมนั้น” “อาวุโสโคดม แม้พระองค์บำเพ็ญอย่างอุกฤษฏ์เห็นปานนั้น ก็ยังไม่บรรลุธรรมพิเศษอันใด บัดนี้พระองค์คลายความเพียรนั้นแล้วหันมาปฏิบัติเพื่อความเป็นคนมักมากแล้วจะบรรลุอมตธรรมได้อย่างไร?”
 
พระพุทธองค์ตรัสเตือนปัญจวัคคีย์ ให้ระลึกถึงความหลังว่า “ท่านทั้งหลายจำได้หรือไม่ว่า วาจาเช่นนี้ เราเคยพูดกับท่านบ้างหรือไม่” ปัญจวัคคีย์ ระลึกขึ้นได้ว่า พระองค์ไม่เคยตรัสมาก่อนเลย จึงยินยอมพร้อมใจกันฟังพระธรรมเทศนาโดยเคารพ
ก่อนเลย จึงยินยอมพร้อมใจกันฟังพระธรรมเทศนาโดยเคารพ
 
=== ได้รับฟังปฐมเทศนา ===