ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 15"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
หน้าใหม่: '''คณะรัฐมนตรี''' คณะที่ 15 ของไทย (24 มีนาคม พ.ศ. 2489 - 11 มิถุนายน พ.ศ. 2489) [[...
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 04:53, 2 ธันวาคม 2550

คณะรัฐมนตรี คณะที่ 15 ของไทย (24 มีนาคม พ.ศ. 2489 - 11 มิถุนายน พ.ศ. 2489)

นายปรีดี พนมยงค์ เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศพระบรมราชโองการลงวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2489 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เป็นผู้ทรงลงพระปรมาภิไธยในประกาศ

พระยามานวราชเสวี (ปลอด ณ สงขลา) ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ

รายชื่อคณะรัฐมนตรีคณะที่ 15 ของไทย

ในวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2489 มีการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ดังนี้

  1. พลโท จิระ วิชิตสงคราม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
  2. นายปรีดี พนมยงค์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
  3. นายดิเรก ชัยนาม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
  4. นายทวี บุณยเกตุ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ
  5. พระยาสุนทรพิพิธ (เชย มัฆวิบูลย์) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
  6. นายสงวน จูทะเตมีย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
  7. นายสพรั่ง เทพหัสดิน ณ อยุธยา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
  8. หม่อมหลวงกรี เดชาติวงศ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
  9. พันเอก ช่วง เชวงศักดิ์สงคราม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
  10. หลวงชำนาญนิติเกษตร (อุทัย แสงมณี) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
  11. นายเดือน บุนนาค เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  12. นายวิจิตร ลุลิตานนท์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
  13. ขุนระดับคดี (ปัญญา รมยานนท์) เป็นรัฐมนตรี
  14. นายวิโรจน์ กมลพันธ์ เป็นรัฐมนตรี
  15. พันเอก ทวน วิชัยขัทคะ เป็นรัฐมนตรี
  16. นายอิ้น บุนนาค เป็นรัฐมนตรี

การแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีคณะที่ 15 ของไทย

คณะรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายต่อสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2489 และได้รับความไว้วางใจในวันเดียวกัน คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีคณะนี้ ปรากฎในหนังสือราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. 2489 เล่ม 63 ตอน 16 หน้า 370

การสิ้นสุดของคณะรัฐมนตรีคณะที่ 15 ของไทย

คณะรัฐมนตรีคณะนี้สิ้นสุดลง เพราะเหตุที่ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับ ปี พ.ศ. 2489 และตามมาตรา 95 แห่งรัฐธรรมนูญนั้น บัญญัติให้คณะรัฐมนตรีซึ่งบริหารราชการแผ่นดินอยู่ก่อนวันใช้รัฐธรรมนูญนี้ อยู่ในตำแหน่งเพื่อดำเนินการไปจนกว่าจะได้ตั้ง คณะรัฐมนตรีขึ้นใหม่

เมื่อได้ดำเนินการเลือกตั้งสมาชิกพฤฒสภา และเลือกซ่อมสมาชิกสภาผู้แทนตามบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญแล้ว ก็ได้มีการเปิดประชุมสภาทั้งสอง ต่อจากนั้นก็จะได้ดำเนินการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีต่อไป

คณะรัฐมนตรีชุดเก่าจึงต้องออกไปตามวิถีทางแห่งรัฐธรรมนูญ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้กราบถวายบังคมลาออกตามระเบียบ ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2489

อ้างอิง