ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฮิโรโอะ โอโนดะ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 26:
โอโนดะได้รับการฝึกให้เป็นนายทหารข่าวกรองในชั้นเรียน[[commando|ปฏิบัติการพิเศษ]] เรียก "ฟูตามาตะ" ({{ญี่ปุ่น|二俣分校}}) ที่[[โรงเรียนนางาโนะ]] ครั้นวันที่ 26 ธันวาคม 1944 กองทัพส่งเขาไปยัง[[Lubang Island|เกาะลูบัง]] ประเทศฟิลิปปินส์ โดยสั่งให้เขากระทำทุกวิถีทางเพื่อหน่วงมิให้ฝ่ายปัจจามิตรโจมตีเกาะนี้ รวมถึง ทำลายลานบินและท่าเรือ เขายังได้รับคำสั่งว่า ไม่ว่าในกรณีใด ห้ามมอบตัว และห้าม[[อัตวินิบาตกรรม|อัตวินิบาตกรรม]]
 
เมื่อโอโนดะถึงเกาะดังกล่าว เขาเข้าร่วมกับเหล่าทหารญี่ปุ่นที่ได้รับการส่งมาก่อนหน้านี้แล้ว ทหารกลุ่มนี้มียศสูงกว่าโอโนดะ และไม่ยอมให้เขาปฏิบัติหน้าที่ กองทัพประสมสหรัฐอเมริกาและเครือจักรภพฟิลิปปินส์จึงเข้ายึดเกาะได้โดยง่ายดายเมื่อเข้าสู่เกาะในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 1945 ทหารญี่ปุ่นคนอื่น ๆ นอกจากโอะนะโอโนดะไม่ตายก็ยอมมอบตัว ส่วนโอโนดะนั้นหนีไปยังภูเขาลูกหนึ่งพร้อมด้วยเพื่อนทหารอีกสามคน ประกอบด้วย พลทหาร[[ยูอิจิ อากัตสึ]] (Yūichi Akatsu), สิบโทโชอิชิโชอิจิ ชิมาดะ (Shōichi Shimada) และพลทหารชั้นเอกคินชิชิ โคซูกะ (Kinshichi Kozuka)
 
== การซ่อนตัว ==
ณ ภูเขาเช่นว่าแห่งนั้น โอโนดะและเพื่อนยังคงปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งที่รับมาต่อไป ทหารทั้งสี่คนนี้ได้พบใบปลิวมีเนื้อความว่า "สงครามจบแล้ว" ในเดือนตุลาคม 1945 อีกครั้งหนึ่ง พวกเขาพบใบปลิวซึ่งทิ้งไว้โดยชาวเกาะ มีเนื้อความว่า "สงครามจบไปตั้งแต่ 15 สิงหาคมแล้ว ลงมาจากเขาเสีย!" ทว่า พวกเขาเห็นว่าใบปลิวเหล่านี้เป็นการโฆษณาชวนเชื่อของฝ่ายสัมพันธมิตร เพราะพวกเขาถูกไล่ยิงเมื่อสองสามวันก่อน<ref name = "O75"/>
 
หลังจากหลบซ่อนตัวอยู่บนภูเขาลูกนั้นกว่าหนึ่งปี พลเอกโทโมยูกิ ยามาชิตะ แห่งกองทัพภาคที่ 14 สั่งให้โปรยใบปลิวพร้อมคำสั่งให้พวกเขามอบตัวเสียอีกครั้งหนึ่ง ทหารทั้งสี่ได้รับใบปลิวและเชื่อกันว่าเป็นเรื่องเท็จ
บรรทัด 37:
ในปี 1952 มีการโปรยจดหมายและรูปถ่ายจากครอบครัวของทหารทั้งสามลงมารอบบริเวณภูเขาเพื่อขอให้มอบตัว ทว่า ทหารทั้งสามยังคงเชื่อว่า สงครามยุติแล้วนั้นเป็นเรื่องเท็จ ในเดือนมิถุนายน 1953 สิบโทชิมะดะถูกคนหาปลาท้องถิ่นยิงขา แต่โอโนดะช่วยพยาบาลจนหาย ครั้นวันที่ 7 พฤษภาคม 1954 สิบโทชิมาดะถูกคณะค้นหาคนหายยิงตาย ในเดือนธันวาคม 1959 มีประกาศว่าโอโนดะตายแล้ว ทว่า เหตุการณ์ในวันที่ 19 ตุลาคม 1972 ซึ่งพลทหารโคซูกะถูกเจ้าพนักงานตำรวจท้องถิ่นยิงตาย ขณะที่เขาและโอโนดะปฏิบัติการตามคำสั่งที่ได้รับมอบมาด้วยการเผายุ้งฉาง เป็นหลักฐานว่าโอโนดะยังไม่ตาย จึงมีการตั้งคณะค้นหาเขา แต่ไม่พบ
 
วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 1974 โอโนดะพบ [[โนริโอะ ซูซูกิ]] (Norio Suzuki) ซึ่งกำลังเดินทางรอบโลกเพื่อสืบหา "ร้อยโทโอโนดะ, หมีแพนด้า และปิศาจมนุษย์หิมะ ตามลำดับ"<ref>{{cite web |title=2nd Lt. Hiroo Onoda |url=http://www.wanpela.com/holdouts/profiles/onoda.html |accessdate=2010-04-03}}</ref> ทั้งสองกลายเป็นเพื่อนกัน ทว่า โอโนดะยังปฏิเสธที่จะมอบตัว เขากล่าวว่า เขายังรอคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาอยู่
 
ซูซูกิจึงกลับญี่ปุ่นพร้อมภาพถ่ายเขาคู่กับโอโนดะเพื่อยืนยันว่าได้พบกัน รัฐบาลญี่ปุ่นจึงส่งพันตรีทานิงูชิ ผู้บังคับบัญชาของโอโนดะ ลงพื้นที่ พันตรีทานิงูชิถึงเกาะลูบัง และพบโอโนดะในวันที่ 9 มีนาคม 1974 เขาแจ้งเรื่องการพ่ายสงครามของญี่ปุ่นให้โอโนดะทราบ และสั่งให้โอโนดะวางอาวุธเสีย
 
หลังจากหลบซ่อนตัวในป่ามาเกือบสามสิบปีหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง โอโนดะได้ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาที่ให้มอบตัว เขาได้แต่งเครื่องแบบ พร้อมดาบคู่กาย กับทั้งปืน[[อริซะอาริซากะ]][[Type 99 rifle|ไรเฟิลชนิด 99]] ซึ่งยังใช้การได้ดี บรรจุกระสุนห้าร้อยนัดและ[[ระเบิดมือ]]อีกจำนวนหนึ่ง ลงจากภูเขา
 
แม้ในระหว่างอยู่บนเกาะ เขาได้ฆ่าราษฎรฟิลิปปินส์ไปสามสิบคน และประมือกับตำรวจท้องถิ่นอีกหลายครั้ง แต่เมื่อพิเคราะห์แล้ว ประธานาธิบดี[[เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส]] (Ferdinand Marcos) อภัยโทษให้เขา
บรรทัด 48:
หลังจากกลับญี่ปุ่นแล้ว โอโนดะได้รับความนิยมเป็นอันมาก ถึงขนาดที่ชาวญี่ปุ่นบางคนอยากให้เขาเป็นสมาชิก[[สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ญี่ปุ่น)|รัฐสภา]] เขาได้เขียนหนังสืออัตชีวประวัติชื่อ "ไม่เคยยอมแพ้ สงครามสามสิบปีของข้าพเจ้า" ("No Surrender: My Thirty-Year War") บรรยายชีวิตของเขาในช่วงที่ปฏิบัติหน้าที่กองโจรตามคำสั่งของกองทัพญี่ปุ่นแม้ว่าสงครามจะยุติไปนมนานแล้วก็ตาม หนังสือดังกล่าวยังระบุว่า โอโนดะเองไม่ชอบใจนักที่ตนเองเป็นจุดสนใจ และไม่ชอบใจวัฒนธรรมสมัยใหม่ที่เขามองว่าลดคุณค่าประเพณีญี่ปุ่น หนังสือเช่นว่าได้รับการแปลเป็นภาษาไทย ให้ชื่อว่า "สู้สุดขีด" และตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี 1980 (พ.ศ. 2523)<ref>{{cite web | title = สู้สุดขีด | publisher = Toulo.com | url= http://www.toulo.com/product/ProductDetail.asp?ProductID=16062&CategoryID=3010 | accessdate=30 พฤษภาคม 2011}}</ref>
 
ในเดือนเมษายน 1975 เขาละญี่ปุ่นไปใช้ชีวิตเป็นชาวไร่ในบราซิล เขาแต่งงานกับสตรีญี่ปุ่นชื่อ มาชิจิเอะ (Machie) ในปีถัดมา ครั้นปี 1980 หลังจากได้อ่านข่าวเรื่องวัยรุ่นญี่ปุ่นที่ฆ่าบิดามารดาตนเอง เขาตัดสินใจกลับประเทศแม่ในอีกสี่ปีถัดมา แล้วจัดค่ายทางการศึกษาสำหรับเยาวชน เรียก "โรงเรียนธรรมชาติของโอโนดะ" (Onoda Shizen Juku) ต่อมา เขาได้เป็นผู้นำชุมชนด้วย<ref>{{cite book | last = Mercado | first = Stephen C. | authorlink = | coauthors = | title = The Shadow Warriors of Nakano | publisher = Brassey's | date = 2003 | location = | pages = 246–247 | url = | doi = | id = | isbn = 1574885383}}</ref>
 
ในปี 1996 โอโนดะเยือนเกาะลูบังอีกครั้ง เขาอุทิศเงินหนึ่งหมื่นดอลลาร์สหรัฐให้แก่โรงเรียนท้องถิ่น ในปี 2006 มะชิมาจิเอะ โอโนดะ ภริยาของเขา ได้เป็นนายิกา[[สมาคมสตรีญี่ปุ่น]]<ref>{{cite web | last = | first = | authorlink = | coauthors = | title = Wife of 'No Surrender' soldier becomes president of conservative women’s group | work = | publisher = Japan Probe | date = 29 November 2006 | url = http://www.japanprobe.com/?p=734 | format = | doi = | accessdate = }}</ref>
 
แต่ละปี เขาจะเดินทางกลับไปใช้ชีวิตสามเดือนในบราซิล เขายังได้รับเหรียญกล้าหาญ "ซาตูส-ดูมง" (Santos-Dumont) จากกองทัพอากาศบราซิลเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2004 ด้วย<ref>{{cite web | last = | first = | authorlink = | coauthors = | title = Combatente da II Guerra ganha medalha da FAB | work = | publisher = Brazilian Air Force