ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประเทศพม่า"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mr.BuriramCN (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 8239445 สร้างโดย Ai Liang (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
Tris T7 (คุย | ส่วนร่วม)
เคาะวรรค
บรรทัด 170:
กองทัพได้เจรจาปัญหาเกี่ยวกับพรรคคอมมิวนิสต์พม่ากับรัฐบาลของอูนุ ทำให้อูนุเชิญ[[เน วิน]] ผู้บัญชาการทหารเข้ามาจัดตั้งรัฐบาล กลุ่มแนวร่วมสหชาติถูกจับกุม 400 คน และมี 153 คนถูกส่งไปยัง[[หมู่เกาะโกโก]]ใน[[ทะเลอันดามัน]] ในกลุ่มที่ถูกจับกุมมีอองทาน พี่ชายของอองซานด้วย หนังสือพิมพ์ Botahtaung Kyemon Rangoon Daily ถูกสั่งปิด
 
รัฐบาลของเน วินประสบความสำเร็จในการทำให้สถานการณ์มั่นคงและเกิดการเลือกตั้งใน พ.ศ. 2503 ซึ่งพรรคสหภาพของอูนุได้เสียงข้างมาก แต่เสถียรภาพไม่ได้เกิดขึ้นนาน เมื่อขบวนการสหพันธ์ฉานนำโดย[[เจ้าส่วยใต้]] เจ้าฟ้าเมือง[[ยองห้วย]]ที่เป็นประธานาธิบดีคนแรกของพม่า ต้องการสิทธิตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2490 ที่ขอแยกตัวออกไปได้เมื่อรวมตัวเป็นสหภาพครบสิบปี เน วินพยายามลดตำแหน่งเจ้าฟ้าของไทใหญ่โดยแลกกับสิทธิประโยชน์ต่างๆต่าง ๆ ใน พ.ศ. 2502 ในที่สุด เน วินได้ก่อรัฐประหารในวัที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2505 อูนุและอีกหลายคนถูกจับกุม เจ้าส่วยใต้ถูกยิงเสียชีวิต [[เจ้าจาแสง]] เจ้าฟ้าเมือง[[ตี่บอ]]หายตัวไปอย่างไร้ร่องรอยที่จุดตรวจใกล้[[ตองจี]]
 
มีการปฏิวัติระดับชาติเพื่อเรียกร้อง[[ประชาธิปไตย]]ในประเทศพม่า เมื่อ พ.ศ. 2531 การปฏิวัติเริ่มในวันที่ [[8 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2531]] (ค.ศ. 1988) และจากวันที่นี้ (8-8-88) ทำให้เหตุการณ์นี้มักเป็นที่รู้จักในชื่อ "การก่อการปฏิวัติ 8888" ประเทศพม่าปกครองด้วย[[พรรคโครงการสังคมนิยมพม่า]] ที่มีพรรคการเมืองเดียวมาตั้งแต่ พ.ศ. 2505 การปกครองเน้นชาตินิยมและรัฐเข้าควบคุมการวางแผนทุกประการ การลุกฮือเริ่มต้นจากนักศึกษาในเมืองย่างกุ้งเมื่อ 8 สิงหาคม ข่าวการประท้วงของนักศึกษาได้แพร่กระจายไปทั่วประเทศ<ref name=fer313>Ferrara (2003), pp. 313</ref> ต่อมามีประชาชนเรือนแสนที่เป็นพระภิกษุ เยาวชน นักศึกษา แม่บ้านและหมอ ออกมาประท้วงต่อต้านระบอบการปกครอง รัฐบาลได้มีคำสั่งให้สลายฝูงชนด้วยอาวุธ ทำให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก<ref>Aung-Thwin, Maureen. (1989). [http://www.foreignaffairs.org/19890301faessay5952/maureen-aung-thwin/burmese-days.html Burmese Days]. ''[[Foreign Affairs]]''.</ref> ในวันที่ 18 กันยายน เกิดการรัฐประหารและทหารได้กลับมาปกครองประเทศอีกครั้ง มีการจัดตั้ง[[สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ]] ซึ่งเป็นองค์กรที่เปลี่ยนรูปมาจากพรรคโครงการสังคมนิยมพม่า หลังจากที่ได้ประกาศกฏอัยการศึก ได้เกิดการประท้วงที่รุนแรงขึ้น นักศึกษา พระสงฆ์และนักเรียนราวพันคนถูกสังหาร และมีประชาชนอีก 500 คนถูกฆ่าในการประท้วงนอกสถานทูตสหรัฐอเมริกา นักศึกษาบางส่วนได้หลบหนีเข้ามาในประเทศไทย<ref name=fer313/><ref name=fog>Fogarty, Phillipa (7 August 2008). [http://news.bbc.co.uk/1/hi/world/asia-pacific/7543347.stm Was Burma's 1988 uprising worth it?]. [[BBC News]].</ref><ref name=win>Wintle (2007)</ref> ในขณะที่ในพม่ารายงานว่ามีผู้เสียชีวิต 350 คน<ref>''[[Ottawa Citizen]]''. 24 September 1988. pg. A.16</ref><ref>[[Associated Press]]. ''[[Chicago Tribune]]''. 26 September 1988.</ref> ในวันที่ 21 กันยายน รัฐบาลได้เข้ามาปกครองประเทศและขบวนการต่อต้านได้สลายตัวไปในเดือนตุลาคม เมื่อสิ้นปี พ.ศ. 2531 เชื่อว่าผู้เสียชีวิตร่วมหมื่นคนและสูญหายอีกจำนวนมากจากปฏิบัติการทางทหารระหว่างการก่อการปฏิวัติ