ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาวะสมองเสื่อม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
Tris T7 (คุย | ส่วนร่วม)
เคาะวรรค
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 15:
'''ภาวะสมองเสื่อม''' หรือ '''โรคสมองเสื่อม''' ({{Lang-en|Dementia}}, มาจาก[[ภาษาละติน]] ''de-'' "ออกไป" และ ''mens'' มาจาก ''mentis'' "จิตใจ") เป็นภาวะการเสื่อมถอยของหน้าที่การรับรู้อันเนื่องมาจากความเสียหายหรือ[[โรค]]ที่เกิดใน[[สมอง]]ซึ่งมักเกิดจากการเสื่อมถอยไปตามอายุ แม้ว่าภาวะสมองเสื่อมจะเกิดขึ้นโดยปกติในประชากรผู้สูงอายุ แต่ก็อาจเกิดขึ้นได้ในผู้ใหญ่ในทุกระยะ สำหรับกลุ่มอาการที่คล้ายคลึงกันอันเนื่องมาจากหน้าที่ของสมองผิดปกติในประชากรที่อายุน้อยกว่าวัยผู้ใหญ่จะเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า [[ความผิดปกติในพัฒนาการ]] (developmental disorders)
 
ภาวะสมองเสื่อมเป็น[[กลุ่มอาการ]]ที่ไม่จำเพาะซึ่งเกิดจากความเสื่อมของการรับรู้ไม่ว่าจะเป็น[[ความจำ]], [[ความใส่ใจ]], [[ภาษา]], และ[[การแก้ปัญหา]] ซึ่งหน้าที่การรับรู้ในระดับสูงจะได้รับผลกระทบก่อน ในระยะท้ายๆท้าย ๆ ของภาวะสมองเสื่อมผู้ป่วยจะมีอาการไม่รับรู้เวลา (ไม่รู้ว่าเป็นวัน เดือน หรือปีอะไร) สถานที่ (ไม่รู้ว่ากำลังอยู่ที่ไหน) และบุคคล (ไม่รู้จักบุคคลว่าเป็นใคร)
 
กลุ่มอาการของภาวะสมองเสื่อมนั้นจัดแบ่งออกได้เป็นประเภทย้อนกลับได้ และย้อนกลับไม่ได้ ซึ่งขึ้นกับ[[สมุฏฐานโรค]] (etiology) ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมน้อยกว่าร้อยละ 10 ซึ่งสามารถกลับมาเป็นปกติหลังจากการรักษาได้ สาเหตุของโรคเกิดจากการดำเนินโรคที่จำเพาะที่แตกต่างกัน เช่นเดียวกับ[[การทำหน้าที่ผิดปรกติ]]ของอวัยวะอื่นๆ เช่น อาการหายใจสั้น, [[ดีซ่าน]], หรืออาการปวดซึ่งเกิดมาจากสมุฏฐานต่างๆ กัน หากแพทย์เก็บประวัติผู้ป่วยได้ไม่ดีอาจทำให้สับสนกับกลุ่ม[[อาการเพ้อ]] (delirium) เนื่องจากมีอาการแสดงที่คล้ายคลึงกันมาก [[อาการป่วยทางจิต]] (mental illness) บางชนิด เช่น [[ภาวะซึมเศร้า]] (depression) และ[[โรคจิต]] (psychosis) อาจทำให้เกิดอาการแสดงซึ่งต้องแยกออกจากภาวะสมองเสื่อมและอาการเพ้อ<ref>[http://www.aafp.org/afp/20030301/1027.html American Family Physician], [[1 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2546]] Delirium</ref>