ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 19:
'''การชุมนุมของ[[แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ]] พ.ศ. 2553''' เริ่มตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2553 มีเป้าหมายเรียกร้องให้[[อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ]] [[นายกรัฐมนตรีไทย|นายกรัฐมนตรี]] ประกาศ[[การยุบสภาผู้แทนราษฎร|ยุบสภา]] และจัด[[การเลือกตั้ง]]ใหม่ ต่อมา รัฐบาลใช้มาตรการทางทหารเข้ากดดันกลุ่มผู้ชุมนุม จนทำให้มีผู้เสียชีวิต 91 ศพ<ref name="deaths2">{{cite news|title=Protesters Return to Bangkok Streets|url=https://www.nytimes.com/2010/09/20/world/asia/20thai.html|publisher=The New York Times|accessdate=7 Oct 2010|coauthors=Thomas Fuller and Seth Mydans|location=Bangkok|date=19 Sep 2010}}</ref> และมีผู้บาดเจ็บมากกว่า 2,100 คน<ref name="deaths">{{cite news|title=Death toll rises as anti-government protests escalate in Thailand|url=http://www.timesonline.co.uk/tol/news/world/asia/article7126802.ece|publisher=Times Newspapers Ltd|accessdate=14 May 2010|coauthors=Joanna Sugden and Sian Powell}}</ref> จากนั้น อภิสิทธิ์ประกาศแผนปรองดอง ซึ่งผู้ชุมนุมมีข้อเรียกร้องเพิ่มเติม การชุมนุมจึงดำเนินต่อไป และอภิสิทธิ์ก็ประกาศยกเลิกวันเลือกตั้งใหม่ตามแผนปรองดอง ก่อนจะใช้กำลังทหารเข้า[[การสลายการชุมนุมบริเวณแยกราชประสงค์ พฤษภาคม พ.ศ. 2553|สลายการชุมนุม]]ที่[[แยกราชประสงค์]] เมื่อกลางเดือนพฤษภาคม จนกระทั่ง แกนนำ นปช. ประกาศยุติการชุมนุมในวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
 
การชุมนุมประท้วงต่อต้านรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เริ่มต้นขึ้นในช่วงปี [[พ.ศ. 2552]] เนื่องจากผู้ชุมนุมมีข้อสงสัยว่า[[กองทัพไทย]]อยู่เบื้องหลังการยุบ[[พรรคพลังประชาชน]] พร้อมทั้งจัดตั้งรัฐบาลผสม ที่นำโดย[[พรรคประชาธิปัตย์]]<ref name="cuase">The Telegraph, [http://www.telegraph.co.uk/news/worldnews/asia/thailand/3831672/Thai-army-to-help-voters-love-the-government.html Thai army to 'help voters love' the government], 18 December 2008</ref> ในปีต่อมา นปช. ประกาศจะเริ่มการชุมนุมเมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2553 อภิสิทธิ์จึงเพิ่มมาตรการรักษาความมั่นคงอย่างมาก รวมทั้งเข้มงวดกับ[[การตรวจพิจารณาในประเทศไทย|การตรวจพิจารณาสื่อมวลชนและอินเทอร์เน็ต]] ตลอดจนสั่งปิดสถานีโทรทัศน์ และสถานีวิทยุที่ดำเนินงานโดยกลุ่มผู้ชุมนุม อย่างไรก็ตาม มาตรการดังกล่าวไม่สามารถยับยั้งกลุ่มผู้ชุมนุมมิให้เดินทางเข้ามายังกรุงเทพมหานครได้
 
ผู้ชุมนุมส่วนมากเดินทางมาจากต่างจังหวัด แต่ก็มีชาวกรุงเทพมหานครส่วนหนึ่งเข้าร่วมการชุมนุมเช่นกัน<ref>{{cite news |url=http://news.bbc.co.uk/1/hi/world/asia-pacific/8681833.stm|title=Deadly clashes as police besiege Bangkok protesters|publisher=BBC News|date=14 May 2010|accessdate=16 May 2010 }}</ref> การชุมนุมเมื่อวันที่ 14 มีนาคม สื่อต่างประเทศรายงานว่าเป็นการชุมนุมครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย<ref>IPS, [http://ipsnews.net/news.asp?idnews=50656 In Convoys of Red, Rural Masses Stage Historic Protest], 14 March 2010</ref> โดยในช่วงแรก การชุมนุมเกิดขึ้นที่[[สะพานผ่านฟ้าลีลาศ]]บน[[ถนนราชดำเนิน]]และเป็นไปโดยสงบ กลุ่มผู้ชุมนุมใช้มาตรการต่าง ๆ เช่น การเดินขบวนรอบกรุงเทพมหานคร การรวบรวมเลือดไปเทที่หน้าประตูทำเนียบรัฐบาล หน้าที่ทำการพรรคประชาธิปัตย์ และหน้าบ้านพักอภิสิทธิ์เพื่อกดดันรัฐบาล จากนั้นมีการเจรจาระหว่างรัฐบาลกับผู้ชุมนุมสองครั้ง ได้ข้อสรุปว่าจะมีการยุบสภา แต่ไม่สามารถสรุปวันเวลาได้ โดยทั้งก่อนและระหว่างการชุมนุม มีการยิงลูกระเบิดชนิดเอ็ม-79 หลายสิบครั้ง แต่ก็ไม่สามารถหาตัวผู้กระทำมาลงโทษได้แม้แต่คนเดียว<ref>PRD, [http://thainews.prd.go.th/en/news.php?id=255305050055 DSI: Origin of Silom grenade attacks yet to be concluded : National News Bureau of Thailand], 5 May 2010</ref>อย่างไรก็ตามกรมสอบสวนคดีพิเศษแถลงจับผู้ต้องสงสัย 3 ราย<ref>http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1272878979</ref>