ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขที่ 8008275 สร้างโดย 2001:44C8:4410:131B:1:2:4BB3:255B (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 13:
| จังหวัด = [[สุราษฎร์ธานี]]
| สังกัด = [[มหานิกาย]]
| วุฒิ = [[นักธรรมชั้นเอก]]<br/ >[[เปรียญธรรม 3 ประโยค]]
| ตำแหน่ง =อดีตเจ้าอาวาส [[วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร]] อดีตประธานสงฆ์ [[สวนโมกขพลาราม]]
| รางวัล = [[รายพระนามและรายนามบุคคลสำคัญของโลกชาวไทยโดยยูเนสโก|บุคคลสำคัญของโลกชาวไทยโดยยูเนสโก]]
บรรทัด 19:
}}
 
'''พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินทปญฺโญ) ''' หรือรู้จักในนาม '''พุทธทาสภิกขุ''' (27 พฤษภาคม พ.ศ. 2449 - 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2536) เป็นชาว[[อำเภอไชยา]] [[จังหวัดสุราษฎร์ธานี]] เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2449 เริ่มบวชเรียนเมื่ออายุได้ 20 ปี ที่วัดบ้านเกิด จากนั้นได้เข้ามาศึกษาพระธรรมวินัยต่อที่[[กรุงเทพมหานคร]] จนสอบได้[[เปรียญธรรม 3 ประโยค]] แต่แล้วท่านพุทธทาสภิกขุก็พบว่าสังคมพระพุทธศาสนาแบบที่เป็นอยู่ในขณะนั้นแปดเปื้อนเบือนบิดไปมาก และไม่อาจทำให้เข้าถึงหัวใจของ[[ศาสนาพุทธ]]ได้เลย ท่านจึงตัดสินใจหันหลังกลับมาปฏิบัติธรรมที่อำเภอไชยา ซึ่งเป็นภูมิลำเนาเดิมของท่านอีกครั้ง พร้อมปวารณาตนเองเป็น ''พุทธทาส'' เนื่องจากต้องการถวายตัวรับใช้พระพุทธศาสนาให้ถึงที่สุด
 
ผลงานเด่นของทาสพุทธทาสคืองานหนังสือ อาทิ หนังสือพุทธธรรม, ตามรอยพระอรหันต์ และคู่มือมนุษย์ และเป็นสงฆ์ไทยรูปแรกที่บุกเบิกการใช้โสตทัศนูปกรณ์สมัยใหม่สำหรับการเผยแพร่ธรรมะ และท่านมีสหายธรรมคนสำคัญ คือ [[พระพรหมมังคลาจารย์ (ปั่น ปทุมุตฺตโร)|ปัญญานันทภิกขุ]] [[วัดชลประทานรังสฤษฎ์]] และท่าน บ.ช. เขมาภิรัตน์<ref>โสมชยา ธนังกุล. มรดกธรรมจากท่านพุทธทาส. '''แสตมป์ & สิ่งสะสม'''. ปีที่ 1 (+42) ฉบับที่ 3. พฤษภาคม 2555. ISSN 2229-2780. หน้า 48</ref>
บรรทัด 102:
[[ไฟล์:dhammadasa_young.jpg|150px|thumb|นายธรรมทาส พานิช<br>ภาพนี้ถ่ายในชุดนักเรียนของ[[โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย]]]]
 
แม้แต่เดิมท่านตั้งใจจะบวชเรียนตามประเพณีเพียง 3 เดือน แต่เมื่อได้ใช้ชีวิตเป็นพระแล้ว ความยินดีในกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งการเอาอกเอาใจจากพุทธบริษัทรอบข้าง ทำให้ท่านพุทธทาสภิกขุไม่มีความคิดที่จะลาสิกขา อีกทั้งพระภิกษุในวัดหลายรูปเห็นว่าท่านพุทธทาสภิกขุเรียนหนังสือเก่งและเทศนาดี จึงหนุนให้ท่านพุทธทาสภิกขุอยู่ที่วัดต่อไปเพื่อเป็นกำลังในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา
 
เล่ากันว่าเจ้าคณะอำเภอเคยถามท่านพุทธทาสภิกขุในพรรษานี้ว่ามีความคิดเห็นอย่างไรในการใช้ชีวิต ท่านพุทธทาสภิกขุตอบว่า
 
: ''ผมคิดว่าจะใช้ชีวิตให้เป็นประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์ให้มากที่สุด... แต่ถ้ายี่เกยจะบวชผมก็ต้องสึกออกไปอยู่บ้านค้าขาย''<ref>''ตามรอยปณิธานแห่งธรรม''.</ref>
บรรทัด 112:
ชีวิตสมณเพศในพรรษาที่สองของท่านพุทธทาสภิกขุไม่ต่างจากพรรษาแรกมากนัก ท่านพุทธทาสภิกขุได้ศึกษานักธรรมต่อ และสอบได้นักธรรมโทในพรรษานี้
 
เมื่อออกพรรษาได้ไม่นาน ช่วงต้นปี [[พ.ศ. 2471]] อาเสี้ยง น้องชายของบิดาท่านพุทธทาสภิกขุ ได้ผลักดันให้ท่านพุทธทาสภิกขุเข้าศึกษาความรู้ทางธรรมต่อที่กรุงเทพฯ ท่านพุทธทาสภิกขุพูดถึงเรื่องนี้เอาไว้ว่า
 
: ''ออกพรรษาแล้วไม่นาน ก็เดินทางไปเรียนต่อที่กรุงเทพฯ อาที่ชุมพรเป็นคนยัดเยียดให้ไป มันเป็นธรรมเนียมโดยมากด้วยว่าเมื่อได้นักธรรมโทแล้ว ถ้าจะเรียนต่อ เป็นโอกาสที่พอเหมาะพอดีที่จะเข้ากรุงเทพฯ พระครูชยาภิวัฒน์ (มหากลั่น) ซึ่งอยู่ทางโน้นก็เห็นว่าดี อาที่ชุมพรมีส่วนยุที่สำคัญ อยากให้เรียนมากๆ เพื่อเป็นเกียรติเป็นอะไรของวงศ์ตระกูลมากกว่า แต่แกไม่มีความคิดว่าจะไม่ให้สึก ถึงแม้จะสึกก็ให้เรียนมากๆ เข้าไว้หลายปี คงจะดีกว่ารีบสึก''<ref name="เล่าไว้เมื่อวัยสนธยา" />
บรรทัด 120:
: ''ก่อนไปถึงกรุงเทพฯ เราก็เคยคิดว่า พระที่กรุงเทพฯ มันไม่เหมือนที่บ้านเรา พระกรุงเทพฯ จะดี เคยคิดว่าคนที่ได้เปรียญ 9 คือคนที่เป็นพระอรหันต์ด้วยซ้ำไป เคยคิดว่ากรุงเทพฯ ดีที่สุด ถูกต้องที่สุด ควรจะถือเป็นตัวอย่าง เคยนึกว่าพระอรหันต์เต็มไปทั้งกรุงเทพฯ ก่อนไปกรุงเทพฯ มันคิดอย่างนั้น''<ref name="เล่าไว้เมื่อวัยสนธยา" />
 
แต่กรุงเทพฯ ที่ท่านพุทธทาสภิกขุพบเห็นนั้น ห่างไกลจากกรุงเทพฯ ที่ท่านพุทธทาสภิกขุคิดไว้ลิบลับเหลือเกิน ท่านพุทธทาสภิกขุประสบกับตนเองว่าศีลาจารวัตรของพระเณรเมืองกรุงนั้นออกนอกลู่นอกทางยิ่งกว่าพระเณรบ้านนอก ที่อยู่กันตามประสาคนไม่มีความรู้เสียอีก ท่านพุทธทาสภิกขุได้เล่าถึงเรื่องนี้เอาไว้ว่า
 
: ''แต่พอไปเจอจริงๆ มันรู้ว่ามหาเปรียญมันไม่มีความหมายอะไรนัก มันก็เริ่มเบื่อ อยากสึก รู้สึกว่าเรียนที่กรุงเทพฯ มันไม่มีอะไรเป็นสาระ เรียนที่กรุงเทพฯ มันอยากจะสึกอยู่บ่อยๆ พระเณรไม่ค่อยมีวินัย มันผิดกับบ้านนอก มันก็เป็นมาจนกระทั่งเดี๋ยวนี้ เรื่องสตางค์เรื่องผู้หญิง...''
บรรทัด 130:
=== พรรษาที่สามและสี่ ===
[[ไฟล์:Dhammaschool chaiyatemple.jpg|200px|thumb|อาคารโรงเรียนนักธรรมที่ท่านพุทธทาสภิกขุเคยสอน]]
[[ไฟล์:Buddhadasa typewriter.jpg|110px|thumb|พิมพ์ดีดเครื่องแรกที่ท่านพุทธทาสภิกขุได้รับเป็นรางวัลในฐานะที่สอนนักธรรมได้ผลดี ]]
 
ในพรรษาที่สาม ท่านพุทธทาสภิกขุสอบ[[นักธรรมชั้นเอก]]ได้ เมื่อออกพรรษา คุณนายหง้วน เศรษฐภักดี ซึ่งเป็นผู้บริจาคเงินสร้างโรงเรียนนักธรรมที่[[วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร]] และเป็นญาติของท่านพุทธทาสภิกขุ รวมทั้งพระครูโสภณเจตสิการาม (เอี่ยม) รองเจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุไชยาในสมัยนั้น ได้ชักชวนให้ท่านพุทธทาสภิกขุมาเป็นอาจารย์สอนนักธรรมอยู่ที่วัดพระบรมธาตุไชยาแห่งนี้ ท่านพุทธทาสภิกขุจึงได้เลื่อนกำหนดการลาสิกขาไว้ก่อน และมาเป็นอาจารย์สอนนักธรรมอยู่หนึ่งปี กลวิธีการสอนของท่านพุทธทาสภิกขุชวนติดตาม ทำให้นักเรียนของท่านสอบได้หมดยกชั้น เรื่องนี้ท่านพุทธทาสภิกขุได้เล่าเอาไว้ว่า
บรรทัด 136:
: ''สอนนักธรรมนี่ก็สนุก สอนคนเดียว 2 ชั้น มันคุยได้ว่าสอบได้หมด แต่ตามหลักฐานที่ปรากฏตกไปองค์หนึ่ง เพราะใบตอบหาย ก็กลายเป็นครูที่มีชื่อเสียงขึ้นมาทันที มันสนุก เพราะเป็นของใหม่ และมันชักจะอวด ๆ อยู่ว่าเราพอทำอะไรได้ หาวิธียักย้ายสอนให้มันสนุก ไม่เหมือนกับที่เขาสอนๆ กันอยู่ เช่นผมมีวิธีเล่า วิธีพูดให้ชวนติดตาม หรือให้ประกวดกันตอบปัญหา ทำนองชิงรางวัล นักเรียนก็เรียนกันสนุก ก็สอบได้กัน''<ref name="เล่าไว้เมื่อวัยสนธยา" />
 
เมื่อเป็นเช่นนี้ คุณนายหง้วนจึงได้ซื้อเครื่องพิมพ์ดีดยี่ห้อเรมิงตันแบบกระเป๋าหิ้วให้ท่านพุทธทาสภิกขุเป็นรางวัล และท่านพุทธทาสภิกขุได้ใช้เครื่องนี้มาเป็นเวลาหลายสิบปี
 
ในขณะเดียวกันนี้เอง นายธรรมทาสก็ได้รวบรวมญาติมิตรที่สนใจในพระพุทธศาสนามาจัดตั้งเป็นคณะขึ้น ในเดือนกันยายน [[พ.ศ. 2472]] และนี่คือจุดเริ่มก่อนที่จะกลายเป็น[[คณะธรรมทาน]]ในเวลาต่อมา เรื่องนี้ท่านพุทธทาสภิกขุเล่าให้ฟังว่า
บรรทัด 151:
== มรณภาพ ==
[[ไฟล์:พุทธทาสฌาปนการ.jpg|250px|thumb|ร่างของท่านพุทธทาสภิกขุ ขณะถูกฌาปนกิจ ณ สวนโมกขพลาราม]]
พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ)ได้ละสังขารอย่างสงบ ณ สวนโมกขพลาราม เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 สิริรวมอายุ 87 ปี 67 พรรษา คงเหลือไว้แต่ผลงานที่ทรงคุณค่าแทนตัวท่านให้อนุชนคนรุ่นหลังได้สืบสานปณิธานของท่านรับมรดกความเป็น "พุทธทาส" เพื่อพุทธทาสจะได้ไม่ตายไปจากพระพุทธศาสนาดังบทประพันธ์ของท่านที่ว่า
{|align="center"
|-
|-
|&nbsp;&nbsp;&nbsp;พุทธทาส จักอยู่ไป ไม่มีตาย
| แม้ร่างกายจะดับไปไม่ฟังเสียง
|-
|ร่างกายเป็น ร่างกายไป ไม่ลำเอียง
|นั่นเป็นเพียงสิ่งเปลี่ยนไปในเวลา
|-
|พุทธทาส คงอยู่ไป ไม่มีตาย
|ถึงดีร้ายก็จะอยู่คู่ศาสนา
|-
บรรทัด 167:
|ตามบัญชาองค์พระพุทธไม่หยุดเลย
|-
|พุทธทาส ยังอยู่ไป ไม่มีตาย
|อยู่รับใช้ เพื่อนมนุษย์ไม่หยุดเฉย
|-
บรรทัด 173:
|โอ้เพื่อนเอ๋ยมองเห็นไหมอะไรตายฯ
|-
|แม้ฉันตาย กายลับ ไปหมดแล้ว
|แต่เสียงสั่ง ยังแจ้ว แว่วหูสหาย
|-
|ว่าเคยพลอดกันอย่างไรไม่เสื่อมคลาย
|ก็เหมือนฉันไม่ตาย กายธรรมยัง
|-
|ทำกับฉัน อย่างกะฉัน นั้นไม่ตาย
|ยังอยู่กับ ท่านทั้งหลายอย่างหนหลัง
|-
บรรทัด 188:
|ย่อมจะเกิด ผลสนอง หลายแขนง
|-
|ทุกวันนัด สนทนา อย่าเลิกแล้ง
|ทำให้แจ้ง ที่สุดได้ เลิกตายกันฯ
|}
บรรทัด 196:
ท่านพุทธทาสภิกขุได้รับ[[สมณศักดิ์]]ตามลำดับ ดังนี้
* พ.ศ. 2473 &nbsp;&nbsp;&nbsp; พระมหาเงื่อม
* พ.ศ. 2489 &nbsp;&nbsp;&nbsp; [[พระครูสัญญาบัตร]]ที่ ''พระครูอินทปัญญาจารย์''
* พ.ศ. 2493 &nbsp;&nbsp;&nbsp; [[พระราชาคณะ]]ชั้นสามัญที่ ''พระอริยนันทมุนี''<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2493/D/067/6318.PDF แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์], เล่มที่ 67, ตอนที่ 67, วันที่ 12 ธันวาคม 2493, หน้า 6320</ref>
* พ.ศ. 2500 &nbsp;&nbsp;&nbsp; พระราชาคณะชั้นราชที่ ''พระราชชัยกวี สมาธินทรีย์คณาธิปัตย์ โมกขพลวัตรธรรมสุนทร ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี''<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2500/D/107/2944.PDF แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์], เล่มที่ 74, ตอนที่ 107, วันที่ 17 ธันวาคม 2500, หน้า 2953</ref>
* พ.ศ. 2514 &nbsp;&nbsp;&nbsp; [[พระราชาคณะชั้นเทพ]]ที่ ''พระเทพวิสุทธิเมธี ศรีภาวนาจารย์ สุนทรญาณพิสิฏฐ์ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี''<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2514/D/151/1.PDF แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์], ฉบับพิเศษ, เล่มที่ 88, ตอนที่ 151, วันที่ 31 ธันวาคม 2514, หน้า 2</ref>
* พ.ศ. 2530 &nbsp;&nbsp;&nbsp; [[พระราชาคณะชั้นธรรม]]ที่ ''[[พระธรรมโกศาจารย์]] สุนทรญาณดิลก ตรีปิฎกธรรมภูสิต ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี''<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2530/D/253/1.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์], ฉบับพิเศษ, เล่มที่ 104, ตอนที่ 253, วันที่ 5 ธันวาคม 2530, หน้า 1-2</ref>
 
=== ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ===
ท่านพุทธทาสภิกขุได้รับการถวาย[[ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์]]ในสาขาต่างๆ จากสถาบันต่างๆ ดังนี้
* 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2522 &nbsp;&nbsp;&nbsp; พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จาก[[มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย]]
* 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2528 &nbsp;&nbsp;&nbsp; อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาปรัชญาและศาสนา จาก[[มหาวิทยาลัยศิลปากร]]
* 3 ธันวาคม พ.ศ. 2528 &nbsp;&nbsp;&nbsp; ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ จาก[[มหาวิทยาลัยรามคำแหง]]
บรรทัด 213:
 
=== อื่นๆ ===
นอกจากสมณศักดิ์และปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์แล้ว ท่านพุทธทาสภิกขุยังได้รับการยกย่องจากองค์กรต่างๆต่าง ๆ ดังนี้
* พ.ศ. 2508 หนังสือแก่นพุทธศาสน์ ได้รับรางวัลชนะเลิศ ''หนังสือดีประจำปี พ.ศ. 2508'' จาก[[องค์การยูเนสโก]]
* พ.ศ. 2527 ได้รับคัดเลือกเป็นบุคคลทำประโยชน์ฝ่ายบรรพชิตเนื่องในโอกาส[[สมโภชน์กรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี]] ได้รับรางวัลเป็นสัญลักษณ์[[เสาอโศก]] และเงินสดจำนวน 10,000 บาท
บรรทัด 240:
=== หนังสืออ่านเพิ่ม ===
* สุลักษณ์ ศิวรักษ์, ลายสือไทย, 2522.
* [http://cuir.car.chula.ac.th/bitstream/123456789/58272/1/5780125022.pdf ทิวาพร อภัยพัฒน์. “‘คนดี สำคัญกว่าทุกสิ่ง’: ญาติธรรมกับการสร้างการยอมรับพุทธทาสภิกขุในสังคมไทย พ.ศ. 2475-2529.” วิทยานิพนธ์ อ.ม. (ประวัติศาสตร์). ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560.]
*[http://beyond.library.tu.ac.th/cdm/ref/collection/thesis/id/30960 วิศรุต บวงสรวง. “การเคลื่อนไหวทางความคิดของพุทธทาสภิกขุกับการเมืองไทย พ.ศ. 2516-2536.” วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. (ประวัติศาสตร์). ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2556.]
* โดแนลด์ เค. สแวเรอร์ และ เสรี พงพิศ, '''พุทธทาสภิกขุนักปฏิรูปพุทธศาสนาในเมืองไทย / ท่านพุทธทาสกับสังคมไทย''', แสงรุ้งการพิมพ์, 2526.
บรรทัด 267:
* [https://sites.google.com/site/mp3vue/ Download MP3]
{{เริ่มกล่อง}}
{{สืบตำแหน่ง
| ก่อนหน้า = [[พระพิมลธรรม (ชอบ อนุจารี)|พระธรรมโกศาจารย์ (ชอบ อนุจารี)]]
| ตำแหน่ง = [[พระธรรมโกศาจารย์]]