ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บางระจัน (ภาพยนตร์)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
แทนที่เนื้อหาด้วย "== น == == ดูเพิ่ม == * วีรชนบ้านบางระจัน..."
ย้อนการแก้ไขของ 2403:6200:8830:A1CC:25C6:D431:743D:A94D (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย 223.206.45.214
ป้ายระบุ: ย้อนรวดเดียว
บรรทัด 1:
{{กล่องข้อมูล ภาพยนตร์
== น ==
| name = บางระจัน<br><small>{{color|grey|(Bang Rajan: The Legend of the Village's Warriors)}}</small>
| image = Bangrajan poster.jpg
| caption =
| director = [[ธนิตย์ จิตนุกูล]]
| producer = [[นนทรีย์ นิมิบุตร]] <br> [[อดิเรก วัฏลีลา|อังเคิล (อดิเรก วัฏลีลา)]]
| writer = [[ธนิตย์ จิตนุกูล]] <br> [[ก้องเกียรติ โขมศิริ]] <br> [[บุญถิ่น ทวยแก้ว]] <br> [[ปฏิการ เพชรมุณี]] <br> [[สิทธิพงษ์ มัตตะนาวี]]
| narrator =
| starring = [[บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์]]<br>[[วินัย ไกรบุตร]]<br>[[จรัล งามดี]]<br>[[บงกช คงมาลัย]]<br>[[นิรุติ สาวสุดชาติ]]<br>[[ชุมพร เทพพิทักษ์]]<br>[[สุนทรี ใหม่ละออ]]<br>[[ธีรยุทธ ปรัชญาบำรุง]]<br>[[กฤษณ์ สุวรรณภาพ]]<br>[[อรรถกร สุวรรณราช]]<br>[[ภูธฤทธิ์ พรหมบันดาล]]<br>[[สุรเชษฐ์ เลาะสูงเนิน]]<br>[[ใจ พงษ์ศักดิ์]]<br>[[ภาสกร อักษรสุวรรณ]]<br>[[สมนึก แก้ววิจิตร]]
| music = [[ชาติชาย พงษ์ประภาพันธ์]] <br> '''เพลงนำภาพยนตร์''' ''บางระจันวันเพ็ญ'' โดย [[ยืนยง โอภากุล]]
| cinematography = [[วิเชียร เรืองวิชญกุล]]
| editing =
| distributor = [[ฟิล์มบางกอก]]
| released = [[29 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2543]]
| runtime = 127 นาที
| country = {{flagicon|Thailand}} ไทย
| language = [[ภาษาไทย|ไทย]]<br>[[ภาษาพม่า|พม่า]]
| budget = 30 ล้านบาท
| gross = 151 ล้านบาท <ref>[http://www.pantip.com/cafe/chalermthai/topic/A8466872/A8466872.html 40 อันดับ หนังทำเงินสูงสุดในประเทศไทยตลอดกาล ]</ref>
| preceded_by =
| followed_by = ''[[บางระจัน 2 (ภาพยนตร์)| บางระจัน 2]]'' (25 มีนาคม 2553)
| website =
| amg_id =
| imdb_id = 0284880
| thaifilmdb_id =
| siamzone_id = 325
}}
'''บางระจัน''' ({{lang-en|Bang Rajan: The Legend of the Village's Warriors}}) [[ภาพยนตร์ไทย]]อิง[[ประวัติศาสตร์ไทย|ประวัติศาสตร์]] ผลงานลำดับที่ 10 ของ [[ธนิตย์ จิตนุกูล]] เข้าฉายเมื่อวันที่ [[29 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2543]] ความยาว 127 นาที
 
== เนื้อเรื่อง ==
ในปี[[พ.ศ. 2308|พุทธศักราช 2308]] [[พระเจ้ามังระ]] กษัตริย์[[พม่า]]ส่งทัพพม่า 2 ทัพใหญ่บุก[[อาณาจักรอยุธยา|กรุงศรีอยุธยา]] ทัพหนึ่งบุกเข้ามาทางใต้ นำโดย มังมหานรธา อีกทัพหนึ่งเป็นทัพผสม[[มอญ|รามัญ]]บุกเข้ามาทางเหนือ นำโดย เนเมียวสีหบดี การบุกของทัพนี้ต้องเจออุปสรรคเป็นรายทาง เพราะต้องพบกับกองกำลังต่อต้านโดยชาวบ้านธรรมดา ๆ ทำให้ต้องเดินทัพล่าช้า โดยชาวบ้านที่แตกระสานซ่านเซ็นมารวมตัวกันที่บ้านระจัน โดยมี พ่อแท่น ([[ชุมพร เทพพิทักษ์]]) ผู้อาวุโสที่สุดเป็นแกนนำ ที่บ้านระจันมีชาวบ้านที่มีฝีมือหลายคนรวมตัวกัน เช่น อ้ายจัน ([[จรัล งามดี]]) ที่แค้นพม่าที่เมียถูกฆ่าตาย, อ้ายอิน ([[วินัย ไกรบุตร]]) พรานขมัง[[ลูกศร|ธนู]] ที่เพิ่งอยู่กินกับอีสา ([[บงกช คงมาลัย]]) เมียสาว และ อ้ายทองเหม็น ([[บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์]]) คนพเนจรผมเผ้ารุงรังที่ไม่มีใครรู้หัวนอนปลายตีน ชอบกิน[[เหล้า]]เมาพับอยู่ใต้[[เกวียน]] และมีหลวงพ่อธรรมโชติ (ธีรยุทธ ปรัชญาบำรุง) ผู้ขมังเวทย์แห่งวัดโพธิ์เก้าต้น เป็นขวัญกำลังใจ
 
ในการรบครั้งหนึ่ง พ่อแท่นได้รับาดเจ็บ อ้ายจันจึงขึ้นเป็นผู้นำคนใหม่ อ้ายจันมีความคิดว่า ทางบ้านบางระจันน่าจะมีปืนใหญ่ใช้ต่อสู้กับพม่า จึงได้ให้ ขุนสรรค์ ร่างใบบอก และให้อ้ายอิน อ้ายเมือง ([[อรรถกร สุวรรณราช]]) นำไปแจ้งยังกรุงศรีอยุธยาเพื่อขอยืมปืนใหญ่ หากแต่ทางกรุงศรีอยุธยาไม่ยอมให้ยืม ด้วยเกรงว่าหากบ้านบางระจันพ่ายแก่พม่า พม่าอาจขโมยเอาปืนใหญ่และกระสุนดินดำกลับมาโจมตีพระนครได้
 
คืนหนึ่ง อ้ายอินได้ละทิ้งเวรยาม แอบพาพรรคพวกไปบุกค่ายของพม่า โดยหารู้ไม่ว่าคืนนั้น ทางพม่าเองก็ได้จัดทัพมาบุกค่ายบางระจันเช่นกัน จากเหตุการณ์นั้นทำให้เกิดความสูญเสียขึ้นในค่ายมากมาย คนหลายคนเสียขวัญ ได้อพยพออกจากค่ายบางระจันไปอยู่กรุงศรีอยุธยา ทำให้ผู้คนในค่ายบางตาลงไป
 
ต่อมา พระยารัตนาธิเบศร์จากกรุงศรีอยุธยาได้มาช่วยชาวบ้านหล่อปืนใหญ่ หากแต่เมื่อหล่อแล้ว ปืนใหญ่กลับแตกร้าว ใช้การไม่ได้ ในขณะเดียวกัน ทางพม่าก็ได้ สุกี้ พระนายกอง ([[จิรกิตติ์ สุวรรณภาพ]]) มาเป็นแม่ทัพคนใหม่ในการบุกค่ายบางระจัน ชาวบ้านบางระจันที่เหลือเพียงหยิบมือเดียว ต่างพร้อมใจกันสละชีพเพื่อปกป้องแผ่นดินเกิด ปืนใหญ่ที่ร้าวทั้งสองกระบอกก็ต้องถูกนำมาใช้ ท้ายที่สุดแล้ว แม้ชาวบ้านบางระจันจะจบลงด้วยความพ่ายแพ้ แต่วีรกรรมที่สร้างไว้ จะคงอยู่ในใจของคนรุ่นหลังสืบไป
 
== นักแสดง ==
* [[บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์]].....อ้ายทองเหม็น
* [[วินัย ไกรบุตร]].....อ้ายอิน
* [[จรัล งามดี]].....อ้ายจัน
* [[บงกช คงมาลัย]].....อีสา
* [[นิรุติ สาวสุดชาติ]].....อ้ายดอก
* [[ชุมพร เทพพิทักษ์]].....พ่อแท่น
* [[สุนทรี ใหม่ละออ]].....อีแตงอ่อน
* [[ธีรยุทธ ปรัชญาบำรุง]].....หลวงพ่อธรรมโชติ
* [[อรรถกร สุวรรณราช]].....อ้ายเมือง
* [[ภูธฤทธิ์ พรหมบันดาล]].....พันเรือง
* [[จิรกิตติ์ สุวรรณภาพ]].....สุกี้
* [[ภัทรชัย เวียงคำ]].....นักแสดงประกอบ
 
== คำวิจารณ์และความนิยม ==
บางระจัน สร้างขึ้นมาจากเรื่องราวของ[[ชาวบ้านบางระจัน|วีรชนบ้านบางระจัน]]แห่ง[[จังหวัดสิงห์บุรี]] ที่[[คนไทย]]รู้จักเป็นอย่างดี ที่กล่าวกันว่าเป็นการรวมตัวกันของชาวบ้านธรรมดา ๆ ต่อต้านกองทัพพม่าที่มีกำลังเหนือกว่าได้ถึง 5 เดือน จนตัวตาย เรื่องราวของวีรกรรมส่วนนี้เคยถูกสร้างเป็นภาพยนตร์และ[[ละครโทรทัศน์]]หลายต่อหลายครั้ง และประพันธ์เป็น[[เพลงปลุกใจ]]ที่รู้กันกันดี เช่น ''ศึกบางระจัน'' ของ[[ขุนวิจิตรมาตรา]]
 
บางระจันฉบับภาพยนตร์เรื่องนี้ ตัดคำว่า "ศึก" ออกไป เหลือแต่ "บางระจัน" อย่างเดียวเพื่อเน้นถึงความเป็นสถานที่ อีกทั้งชื่อของชาวบ้านที่เคยรับรู้ว่าขึ้นต้นด้วยคำว่า "นาย" กลายเป็น "อ้าย" หรือ "อี" เพื่อความสมจริงสำหรับการใช้ภาษาให้คล้องจองกับยุคสมัยนั้น
 
เมื่อภาพยนตร์เรื่องนี้เข้าฉาย กลายเป็นภาพยนตร์ยอดนิยมภายในเวลาไม่นาน ทั้งนี้มีการวิเคราะห์ว่า คงเป็นด้วยการที่เป็นวีรกรรมของบุคคลระดับชาวบ้านจึงง่ายต่อการเข้าใจและในช่วงเวลานั้นใกล้จะถึง[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2544|การเลือกตั้ง 6 มกราคม พ.ศ. 2544]] ซึ่งเป็นการเลือกตั้งใหม่ครั้งแรกของ[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540|รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540]] ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญที่ได้รับการกล่าวกันว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่ประชาชนมีส่วนร่วมร่างมากที่สุดในขณะนั้น <ref>[http://www.isranews.org/cms/index.php?option=com_content&task=view&id=2338&Itemid=47 เหตุผลที่ควรรับร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ]</ref> ทำให้ภาพยนตร์ได้รายได้มหาศาลถึง 150.4 ล้านบาท จนต้องมีการตัดต่อใหม่ ใส่คำบรรยายเป็น[[ภาษาอังกฤษ]]สำหรับคนต่างชาติ เพื่อนำไปฉายต่อในเทศกาลภาพยนตร์ต่างประเทศ
 
เป็นภาพยนตร์ที่สร้างชื่อเสียงให้กับ ธนิตย์ จิตนุกูล ผู้กำกับอีกครั้ง ซึ่งหลังจากนี้ธนิตย์ได้กำกับภาพยนตร์ในลักษณะนี้ตามมาอีกหลายเรื่อง ซึ่งก็มีทั้งประสบความสำเร็จและไม่ประสบความสำเร็จ เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกในชีวิตการแสดงของ บงกช คงมาลัย ซึ่งต่อมากลายเป็นนักแสดงที่มีชื่อเสียง เป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้ให้กับ วินัย ไกรบุตร นักแสดงชายจนได้รับฉายาว่า ''"พระเอกร้อยล้าน"'' หลังจาก''[[นางนาก]]'' ในปี [[พ.ศ. 2542]] และเมื่อนำออกฉายต่างประเทศ เป็นที่ชื่นชอบของ [[โอลิเวอร์ สโตน]] ผู้กำกับของ[[ฮอลลีวู้ด]] และได้ติดต่อ บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์ ที่รับบทอ้ายทองเหม็น มารับบทเป็นพระราชาอินเดีย ในภาพยนตร์กำกับของตัวเอง คือ ''[[อเล็กซานเดอร์ มหาราชชาตินักรบ|Alexander]]'' เมื่อยกกองถ่ายมาที่เมืองไทยอีกด้วย
 
== ดูเพิ่ม ==
* [[ชาวบ้านบางระจัน|วีรชนบ้านบางระจัน]]
* [[การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2]]
 
== อ้างอิอ้างอิง ==
* {{รายการอ้างอิง}}
* {{imdb title|id=0284880|title=บางระจัน}}
* [http://www.movieseer.com/movieprofilebil.asp?moID=253&Channel=2 Synopsis and review at MovieSeer]
[[หมวดหมู่:ภาพยนตร์ปฐมบท]]
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
*
* [http://www.icygang.com/jukebox/listen.php?id=2231 เพลงประกอบภาพยนตร์ ''บางระจันวันเพ็ญ'']
*
* {{Siamzone movie|id=325|title=บางระจัน (2000)}}
 
 
{{มรดกภาพยนตร์ของชาติ}}
{{นนทรีย์ นิมิบุตร}}
{{ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม รางวัลภาพยนตร์ไทย}}
 
[[หมวดหมู่:ภาพยนตร์ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2543]]
[[หมวดหมู่:ภาพยนตร์ที่กำกับโดย ธนิตย์ จิตนุกูล]]