ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กองบัญชาการใหญ่แห่งแวร์มัคท์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 25:
'''กองบัญชาการใหญ่แห่งแวร์มัคท์''' ({{lang-de|Oberkommando der Wehrmacht}}) หรือ '''OKW''' เป็นหน่วยบัญชาการระดับสูงสุดของ[[แวร์มัคท์]] ก่อตั้งขึ้นในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1938 จึงเทียบเท่าเป็นกระทรวงกลาโหมของ[[นาซีเยอรมนี|ประเทศเยอรมนี]]ในช่วง[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] กองบัญชาการนี้มีหน้าที่กำกับสามเหล่าทัพเยอรมันอันได้แก่ ''[[เฮร์]]'' (กองทัพบก) ''[[ครีกซมารีเนอ]]'' (กองทัพเรือ) และ ''[[ลุฟท์วัฟเฟอ]]'' (กองทัพอากาศ)
 
การประชุมนายทหารระดับสูงในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1938 ที่กรุงเบอร์ลิน ฮิตเลอร์ได้แจ้งคำสั่งปลดนายทหารระดับสูงหลายคน อาทิ [[แวร์เนอร์ ฟอน บลอมแบร์ค|จอมพล ฟอน บลอมแบร์ค]] รัฐมนตรีว่าการสงครามควบตำแหน่งผบ.เหล่าทัพแวร์มัคท์ และ[[แวร์เนอร์ ฟอน ฟริทช์|พลเอกอาวุโส ไฟร์แฮร์ ฟอน ฟริทช์]] ผู้บัญชาการสูงสุดกองทัพบก การปลดดังกล่าวสร้างความตื่นตะลึงให้กับนายทหารจำนวนมาก ฮิตเลอร์ยุบ[[กระทรวงไรชส์เวร์|กระทรวงการสงคราม]]ทิ้งและจัดตั้ง "กองบัญชาการใหญ่แห่งแวร์มัคท์" อันขึ้นตรงต่อ[[ฟือเรอร์|ฟือเรอร์และผู้บัญชาการสูงสุดแห่งแวร์มัคท์]] (''Führer und Oberste befehlshaber der Wehrmacht'') ขึ้นมาแทน และตั้ง[[วิลเฮล์ม ไคเทิล|จอมพล วิลเฮล์ม ไคเทิล]] เป็นหัวหน้ากองบัญชาการใหญ่แห่งแวร์มัคท์ ทั้งยังตั้ง[[วัลเทอร์ ฟอน เบราชิทช์|พลเอกอาวุโส ฟอน เบราชิทช์]] เป็นผู้บัญชาการสูงสุดกองทัพบกคนใหม่
 
ด้วยการที่กองบัญชาการใหญ่แห่งแวร์มัคท์ขึ้นตรงต่อ[[ฟือเรอร์|ฟือเรอร์และผู้บัญชาการสูงสุดแห่งแวร์มัคท์]] (ซึ่งก็คือฮิตเลอร์) นี้เอง ทำให้ในช่วงสงคราม องค์กรนี้เป็นองค์กรที่ทรงอำนาจที่สุดของกองทัพเยอรมัน หลังปี 1942 องค์กรนี้รับผิดชอบปฏิบัติการทางทหารในทุกพื้นที่ยกเว้น[[แนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่สอง)|แนวรบด้านตะวันออก]]ที่ประจันหน้ากับ[[สหภาพโซเวียต]] ฮิตเลอร์ได้กลายเป็นทั้งผู้นำรัฐบาลและผู้นำกองทัพในคนๆเดียว
บรรทัด 36:
** จอมพล [[วิลเฮล์ม ไคเทิล]] (ปี 1938–1945)
* เสนาธิการกิจการทหารแห่งแวร์มัคท์ (''Chef des Wehrmachtführungsstabes der Wehrmacht'')
** พลเอกอาวุโส [[อัลเฟรด โยเดิล]] (ปี 1939–1945)
 
==ดูเพิ่ม==