ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คาร์ล ออร์ฟ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 5:
ออร์ฟเชื่อว่าดนตรี การเคลื่อนไหว และคำพูด เป็นสิ่งที่แยกออกจากกันไม่ได้ ทั้งสามสิ่งรวมกันเป็นเอกภาพซึ่งออร์ฟเรียกว่า "ดนตรีเบื้องต้น" (elelmental music) คำว่า "ดนตรีเบื้องต้น" นี้ ออร์ฟหมายถึง การแสดงออกทางดนตรีของบุคคลที่เป็นไปโดยธรรมชาติ ออร์ฟได้สังเกตจากเด็กในสภาวะแวดล้อมปรกติไม่มีกฎเกณฑ์อะไรบังคับ เด็กจะใช้ดนตรี การเคลื่อนไหว และภาษาพูดไปพร้อมกัน เด็กที่กำลังเต้นรำจะร้องเพลงไปด้วย เมื่อเด็กร้องเพลงเขาก็มักจะเคลื่อนไหวไปตามจังหวะเสียงเพลง
 
ออร์ฟยอมรับทฤษฎีที่ว่า ประวัติศาสตร์ดนตรีย่อมแสดงตัวของมันอยู่ในพัฒนาการชีวิตของแต่ละคน เขาได้ย้อนกลับไปพิจารณาในยุคต้นของการก่อเกิดวัฒนธรรม ที่คนทั่วไปใช้ดนตรีเป็นสิ่งแสดงความรู้สึกของตนเองโดยไม่ต้องได้รับการฝึกฝน การเคลื่อนไหวและการพูด มักจะรวมอยู่ด้วยกันอย่างแยกไม่ออกกับดนตรีที่ใช้แสดงความรู้สึกเหล่านั้น ออร์ฟใช้กรณีของเด็กเล็กมาเปรียบเทียบกับคนป่าคนเถื่อนที่ไม่ได้รับการฝึกฝนดนตรีมาก่อน เขาเชื่อว่าการศึกษาดนตรีควรจะเริ่มด้วยความรู้ที่ง่าย ๆ จากเพลงง่าย ๆ และพัฒนาขึ้นไปสู่ดนตรีที่ซับซ้อนหรือบทเพลงที่ยากขึ้น ด้ วยข้อสรุปนี้ ออร์ฟได้วางแผนการศึกษาที่เป็นขั้น ๆ ต่อเนื่องกันโดยมีโครงสร้างเริ่มจากสิ่งที่ง่ายที่สุด แล้วสอนเพิ่มเติมไปสู่สิ่งที่ซับซ้อนที่สุด แผนการศึกษาของออร์ฟเช่นนี้ได้รับการยอมรับเป็นอย่างสูง ออร์ฟเรียกแผนการศึกษาแนวคิดในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของเขาว่า "ชูลแวร์ค" ({{lang|de|''Schulwerk''}})
 
ชูลแวร์คของออร์ฟนั้น เขากล่าวว่าควรเริ่มต้นใช้กับเด็กวัยต้น ๆ และควรใช้ประสบการณ์ของตัวเด็กเองเป็นอุปกรณ์สื่อการสอนดนตรี เช่น ชื่อของเด็ก คำง่าย ๆ ที่คุ้นเคย เป็นต้น ออร์ฟเห็นว่าจังหวะเป็นส่วนประกอบสำคัญที่สุดของดนตรี (Rhythm is strongest of the elements of music) การแสดงออกของมนุษย์ที่เป็นธรรมชาติที่สุดและสามัญที่สุดคือการใช้จังหวะ เขาได้สอนความคิดเรื่องจังหวะโดยผ่านคำพูดและการเคลื่อนไหว ออร์ฟมีความคิดเช่นเดียวกันดาลโครซ ที่ว่าการเรียนเครื่องดนตรีต่าง ๆ นั้น ควรจะตามหลังพัฒนาการของทักษะพื้นฐานที่จำเป็นทางดนตรี อันได้แก่
# การฟัง
# การจดจำคุ้นเคยจนจำขั้นคู่ของทำนองเพลง และการร้องทำนองเพลง (melodic interval)
# การจดจำคุ้นเคยจนจำและการปฏิบัติแบบแผนของจังหวะ (rhythmic patterns)
 
== ดนตรีเบื้องต้นตามแนวคิดของออร์ฟ ==
 
ดนตรีเบื้องต้นตามแนวคิดของออร์ฟ ตั้งอยู่บนรากฐานของการปฏิบัติการสื่อสารในเด็ก (communicative performance) และเน้นความเป็นตัวของตัวเองเป็นอย่างมาก อุปกรณ์เพลงต่าง ๆ ได้มาจากความคิดของเด็กเอง โดยมีบทเพลงของชูลแวร์คซึ่งมีรูปแบบของทำนองและจังหวะ ที่ถูกออกแบบอย่างดีเป็นตัวอย่างเพลงของเด็ก ซึ่งเรียบง่ายถูกกับจริตของเด็ก เป็นธรรมชาติ และมีการใช้ร่างกายประกอบเหมือนการเล่นของเด็ก ดนตรีเบื้องต้นของออร์ฟได้รับการพัฒนามาจากข้อสรุปที่ว่า เด็กจะเป็นผู้แสดงถึงพัฒนาการทางดนตรีของมนุษยชาติ จากประสบการณ์และพัฒนาการทางดนตรีของเด็กเอง ประสบการณ์ดนตรีของเด็กจะเรียบง่าย เช่น การกู่ร้อง การท่องบทร้องเล่น การกระทืบเท้า และตบมือ ในดนตรีเบื้องต้นนั้น การพูด การร้องเพลง และการเคลื่อนไหวไม่สามารถแยกออกจากกัน แต่จะหลอมรวมกัน เหมือนกับการแสดงออกทางดนตรีโดยธรรมชาติอันแท้จริงนั่นเอง
 
ในระบบการสอนของออร์ฟ การสร้างสรรค์ (creativity) ถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ออร์ฟเปิดโอกาสให้มีการสร้างสรรค์แบบต่อเนื่องหลายแบบ เด็กจะสำรวจเสียงของคำ ทำนองเพลง และเสียงเครื่องดนตรี เขาจะเลือกแบบแผนของจังหวะและทำนองจากตัวอย่าง และใช้มันประดิษฐ์ดนตรีประกอบ บทขึ้นต้น บทจบ หรือบางทีเขาอาจจะแต่งทั้งเพลงเลยก็ได้ กิจกรรมการสอนขั้นต้นก็เหมือนการเล่นเกมประกอบดนตรี ครูจะต้องคอยช่วยนักเรียนในการจดโน้ตที่เด็กคิดแต่งขึ้น วิจารณ์และช่วยปรับปรุงเพลงนั้น พร้อมทั้งสอดแทรกความรู้