ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การยอมจำนนของญี่ปุ่น"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
AlexandrosXVII (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Shigemitsu-signs-surrender.jpg|thumb|[[มะโมะรุ ชิเงะมิตซุ]] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของญี่ปุ่น ลงนาม[[ตราสารยอมจำนนของญี่ปุ่น]] บนเรือ[[ยูเอสเอส มิสซูรี|ยูเอสเอส ''มิสซูรี'' (BB-63)]] ขณะที่พลเอก [[ริชาร์ด เค. ซูเธอร์แลนด์]] มองจากฝั่งตรงข้าม]]
{{ประวัติศาสตร์จักรวรรดิญี่ปุ่น}}
 
'''การยอมจำนนของ[[จักรวรรดิญี่ปุ่น]]''' เมื่อวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1945 ปิดฉาก[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] ก่อนหน้านั้น เมื่อปลายเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1945 กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นไม่สามารถดำเนินปฏิบัติการและการบุกครองญี่ปุ่นของฝ่ายสัมพันธมิตรใกล้เข้ามา ผู้นำญี่ปุ่น (สภาสั่งการสงครามสูงสุด หรือ "บิ๊กซิกส์", Big Six) แม้จะแถลงต่อสาธารณะแสดงเจตนาว่าจะต่อสู้ต่อไปจนจบ แต่ร้องขออย่างลับ ๆ ให้[[สหภาพโซเวียต]]ซึ่งเป็นกลางในขณะนั้น เป็นผู้ไกล่เกลี่ยสันติภาพบนเงื่อนไขที่ญี่ปุ่นได้ประโยชน์ ขณะเดียวกัน สหภาพโซเวียตเตรียมโจมตีญี่ปุ่น ตามคำมั่นต่อสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรที่ให้ไว้ในการประชุมเตหะรานและยอลตา
 
วันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1945 สหรัฐอเมริกา[[การทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ถล่มที่ฮิโระโรชิมะและนะงะซะกินางาซากิ|ทิ้งระเบิดปรมาณูถล่มที่นครฮิโระชิมะโรชิมะ]] เย็นวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1945 สหภาพโซเวียตประกาศสงครามต่อญี่ปุ่น อันเป็นไปตาม[[ความตกลงยอลตา]] แต่ละเมิด[[สนธิสัญญาความเป็นกลางโซเวียต–ญี่ปุ่น]] และไม่นานหลังเที่ยงคืนวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 1945 สหภาพโซเวียตบุกครองรัฐหุ่นเชิด[[แมนจูกัว]]ของจักรวรรดิญี่ปุ่น วันเดียวกัน สหรัฐอเมริกา[[การทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ถล่มที่ฮิโระโรชิมะและนะงะซะกินางาซากิ|ทิ้งระเบิดปรมาณูลูกที่สองถล่มนครนะงะซะกิที่นางาซากิ]] ความตระหนกจากเหตุการณ์ต่าง ๆ ทำให้[[สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโระฮิโตะ]]ทรงเข้าแทรกแซงและบัญชาให้ผู้นำบิ๊กซิกส์ยอมรับเงื่อนไขยุติสงครามที่ฝ่ายสัมพันธมิตรตั้งไว้ในแถลงการณ์พอตสดัม หลังการเจรจาหลังฉากหลายวันและ[[รัฐประหาร]]ที่ล้มเหลว สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโระฮิโตะจึงพระราชทานพระราชดำรัสทางวิทยุที่บันทึกไว้แพร่สัญญาณทั่วจักรวรรดิเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ในพระราชดำรัสดังกล่าว อันเรียกว่า [[เกียวกุอง โฮโซ]] พระองค์ทรงประกาศว่าญี่ปุ่นยอมจำนนต่อฝ่ายสัมพันธมิตร
 
วันที่ 28 สิงหาคม [[การยึดครองญี่ปุ่น]]โดย[[ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของแทนฝ่ายสัมพันธมิตร]]เริ่มขึ้น พิธียอมจำนนจัดขึ้นเมื่อวันที่ 2 กันยายน บนเรือรบ[[ยูเอสเอส มิสซูรี|ยูเอสเอส ''มิสซูรี'' (BB-63)]] ของกองทัพเรือสหรัฐ ซึ่งข้าราชการจากรัฐบาลญี่ปุ่นลงนาม[[ตราสารยอมจำนนของญี่ปุ่น]] และยุติความเป็นศัตรูกันในสงครามโลกครั้งที่สอง ทั้งพลเรือนและทหารฝ่ายสัมพันธมิตรล้วนเฉลิมฉลอง[[วันแห่งชัยชนะเหนือญี่ปุ่น]] อย่างไรก็ดี ทหารและกำลังพลบางส่วนที่ถูกโดดเดี่ยวของจักรวรรดิญี่ปุ่นทั้งในทวีปเอเชียและหมู่เกาะแปซิฟิกปฏิเสธที่จะยอมจำนนเป็นเวลาหลายเดือนและหลายปีหลังจากนั้น บางคนปฏิเสธกระทั่งคริสต์ทศวรรษ 1970 บทบาทของการทิ้งระเบิดปรมาณูในการยอมจำนนของญี่ปุ่น และจริยธรรมของการโจมตีทั้งสองยังเป็นที่ถกเถียง สถานะสงครามระหว่างญี่ปุ่นและฝ่ายสัมพันธมิตรยุติลงอย่างเป็นทางการเมื่อ[[สนธิสัญญาซานฟรานซิสโก]]มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม ค.ศ. 1952 และอีกสี่ปีให้หลัง ก่อนที่ญี่ปุ่นและสหภาพโซเวียตจะลงนาม[[แถลงการณ์ร่วมโซเวียต–ญี่ปุ่น ค.ศ. 1956]] ซึ่งยุติสถานะสงครามระหว่างสองประเทศอย่างเป็นทางการ
 
== ข้อความ ==
[[ไฟล์:Shigemitsu-signs-surrender.jpg|280px|thumb|[[มะโมะรุมาโมรุ ชิเงะมิตซุเงะมิตสึ]] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของญี่ปุ่น ลงนาม[[ตราสารยอมจำนนของญี่ปุ่น]] บนเรือ[[ยูเอสเอส มิสซูรี|ยูเอสเอส ''มิสซูรี'' (BB-63)]] ขณะที่พลเอก [[ริชาร์ด เค. ซูเธอร์แลนด์]] มองจากฝั่งตรงข้าม]]
[[ไฟล์:Instrument_of_surrender_Japan2.jpg|280px|thumb|ต้นฉบับตราสารยอมจำนน]]
{{quotation|
{{c|{{fs|150%|'''ตราสารยอมจำนน'''}}}}
::ฝ่ายเรา โดยบัญชาและในนามของจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น รัฐบาลแห่งญี่ปุ่น และกองบัญชาการใหญ่จักรวรรดิญี่ปุ่น ขอยอมรับบรรดาเงื่อนไขอันปรากฎในปฏิญญาซึ่งกำหนดขึ้นโดยหัวหน้ารัฐบาลแห่งสหรัฐ, จีน และบริเตนใหญ่เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 1945 ที่เมืองพ็อทซ์ดัม และสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตได้เข้าร่วมภาคีในภายหลัง ประกอบกันเป็น 4 อัครภาคีซึ่งต่อไปนี้จะได้เรียกว่าฝ่ายสัมพันธมิตร
 
::ฝ่ายเราขอประกาศการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขต่อฝ่ายสัมพันธมิตร ของกองบัญชาการใหญ่จักรวรรดิญี่ปุ่น และกองทหารญี่ปุ่นทุกเหล่าทัพ ตลอดจนกองกำลังในบังคับของญี่ปุ่นในทุกๆที่
 
::ฝ่ายเราจะได้บัญชากองกำลังญี่ปุ่นและพลเรือนญี่ปุ่นในทุกๆที่ ให้ยุติการประทุษกำลังในทันที เพื่อรักษาและสงวนไว้ซึ่งความเสียหายต่อบรรดาเรือ อากาศยาน ตลอดจนทรัพย์สินทางพลเรือนและทางทหาร รวมทั้งจะเชื่อฟังทำตามข้อปฏิบัติต่างๆซึ่งอาจกำหนดขึ้นโดยผู้บัญชาการสูงสุดของฝ่ายสัมพันธมิตร หรือหน่วยงานราชการญี่ปุ่นในกำกับของผบ.สส.นั้น
 
::ฝ่ายเราจะได้บัญชากองบัญชาการใหญ่จักรวรรดิ ให้ออกคำสั่งถึงบรรดาผู้บัญชาการทหารของกองกำลังญี่ปุ่นและกองกำลังในบังคับของญี่ปุ่นทั้งหมดในทุกๆที่ในทันทีให้พวกเขาตลอดจนกำลังในบังคับทำการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไข
 
::ฝ่ายเราจะได้บัญชาบรรดาเจ้าพนักงานพลเรือน ทหาร และทหารเรือ ให้เชื่อฟังและบังคับใช้ซึ่งปฏิญญา คำสั่ง และข้อสั่งการทั้งปวง ที่เห็นว่าเป็นของผู้บัญชาการสูงสุดแทนฝ่ายสัมพันธมิตร เพื่อที่ว่าสารยอมจำนนนี้จะได้สัมฤทธิ์ผล ไม่ว่าจะทำขึ้นโดยตัวผบ.สส.หรือโดยอำนาจของผบ.สส และเราได้กำชับเจ้าพนักงานทั้งปวงให้อยู่ประจำหน้าที่โดยยังคงปฏิบัติราชการต่อไปที่ไม่ใช่การรบ เว้นแต่จะถูกสั่งเป็นพิเศษให้เลิกปฏิบัติเสียโดยตัวผบ.สส.หรือโดยอำนาจของผบ.สส.
 
::ฝ่ายเราให้การรับรองว่า องค์จักรพรรดิ และรัฐบาลญี่ปุ่นรวมถึงผู้รับช่วง จะได้ร่วมผลักดันปฏิญญาพ็อทซ์ดัมอย่างเต็มกำลังจนสำเร็จลุล่วง และการออกคำสั่งรวมถึงการดำเนินการใดๆก็ตาม อาจจำเป็นต้องผ่านทางผู้บัญชาการการสูงสุดแทนฝ่ายสัมพันธมิตรหรือผ่านทางผู้แทนฝ่ายสัมพันธมิตรที่ได้แต่งตั้งไว้เสียก่อน เพื่อที่ว่าปฏิญญานั้นจะมีผลใช้ได้สืบไป
 
::ฝ่ายเราจะได้บัญชารัฐบาลจักรวรรดิญี่ปุ่นและกองบัญชาการใหญ่จักรวรรดิญี่ปุ่น ให้ทำการปลดปล่อยเชลยสงครามและพลเรือนผู้ต้องขังของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งขณะนี้อยู่ในบังคับของญี่ปุ่น ทั้งหมดในทันที ตลอดจนให้ความคุ้มครอง รักษา เลี้ยงดู และการขนส่งอย่างฉับไวไปยังสถานที่ที่กำหนด
 
::อำนาจของจักรพรรดิและรัฐบาลญี่ปุ่นในการปกครองประเทศจะอยู่ในบังคับของผู้บัญชาการสูงสุดแทนฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งจะปฏิบัติตามขั้นตอนเพื่อทำให้เงื่อนไขหลังยอมจำนนบรรลุผล
 
::ลงนาม ณ อ่าวโตเกียว, ญี่ปุ่น เวลา 09.04 น. เมื่อวันที่สองของเดือนกันยายน ค.ศ. 1945
 
:::::(ลงชื่อ) ''มาโมรุ ชิเงะมิตสึ''
:::::โดยบัญชาและในนามของจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่นและรัฐบาลญี่ปุ่น
 
:::::(ลงชื่อ) ''โยชิจิโร อูเมซุ''
:::::โดยบัญชาและในนามของกองบัญชาการใหญ่จักรวรรดิ
 
::รับ ณ อ่าวโตเกียว, ญี่ปุ่น เวลา 09.08 น. เมื่อวันที่สองของเดือนกันยายน ค.ศ. 1945 ไว้สำหรับสหรัฐ สาธารณรัฐจีน สหราชอาณาจักร สหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต และในทางประโยชน์ของภาคีชาติอื่นที่ทำสงครามกับญี่ปุ่น
 
:::::(ลงชื่อ) ''Douglas MacArthur''
:::::ผู้บัญชาการสูงสุดแทนฝ่ายสัมพันธมิตร
 
::(ลงชื่อ) ''C.W. Nimitz''
::ผู้แทนสหรัฐ
 
::(ลงชื่อ) ''Hsu Yung-Ch’ang''
::ผู้แทนสาธารณรัฐจีน
 
::(ลงชื่อ) ''Bruce Fraser''
::ผู้แทนสหราชอาณาจักร
 
::(ลงชื่อ) ''Kuzma Derevyanko''
::ผู้แทนสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต
 
::(ลงชื่อ) ''Thomas Blamley''
::ผู้แทนเครือรัฐออสเตรเลีย
 
::(ลงชื่อ) ''L. Moore Cosgrave''
::ผู้แทนเครือรัฐออสเตรเลีย
 
::(ลงชื่อ) ''Jaques Le Clerc''
::ผู้แทนรัฐบาลเฉพาะกาลแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส
 
::(ลงชื่อ) ''C.E.L. Helfrich''
::ผู้แทนราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์
 
::(ลงชื่อ) ''Leonard M. Isitt''
::ผู้แทนประเทศนิวซีแลนด์ในเครือจักรภพ
}}
 
==แหล่งข้อมูลอื่น==
* [https://www.ourdocuments.gov/doc.php?flash=true&doc=80&page=transcript Transcript of Surrender of Japan (1945)]
 
[[หมวดหมู่:พ.ศ. 2488]]