ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โลหะปราสาท วัดราชนัดดารามวรวิหาร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Malakoa (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2:
 
'''โลหะปราสาท'''สร้างในรัชสมัยของ[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]]รัชกาลที่ 3 เป็นโลหะปราสาทองค์แรกและองค์เดียวของไทย และถือเป็นองค์ที่ 3 ของโลก สร้างอยู่ในพื้นที่[[วัดราชนัดดารามวรวิหาร|วัดราชนัดดาราม]] และอยู่ในบริเวณ [[ลานพลับพลามหาเจษฏาบดินทร]] ยอดปราสาทประดิษฐาน[[พระบรมสารีริกธาตุ]]
 
โลหะปราสาท ตั้งอยู่ ณ ด้านตะวันตกของพระอุโบสถ ก่อสร้างขึ้นโดยพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แทนการสร้างเจดีย์ โลหะปราสาทนี้ สร้างขึ้นตาม[[ประวัติพระพุทธศาสนา]] ถือโลหะปราสาทองค์ที่ 3 ของโลก โดยโลหะปราสาทหลังแรก สร้างขึ้นใน[[สมัยพุทธกาล]]โดยนางวิสาขามหาอุบาสิกา บุตรีธนัญชัยเศรษฐีแห่งเมืองสาวัตถี เป็นปราสาท 2 ชั้น 1,000 ห้อง ยอดปราสาททำด้วยทองคำ ที่ชื่อว่า "มิคารมาตุปราสาท" ส่วนโลหะปราสาทหลังที่ 2 สร้างโดยพระเจ้าทุฏฐคามณี กษัตริย์แห่งกรุงอนุราธปุระลังกา ในราวปีพุทธศักราช 382 เป็นปราสาท 9 ชั้น 1,000 ห้อง มีความกว้างและความสูงแต่ละด้าน 100 ศอก หลังคามุงด้วยแผ่น[[ทองแดง]] ผนังเป็นไม้ประดับด้วยหินมีค่าและ[[งาช้าง]]
 
โลหะปราสาทวัดราชนัดดารามวรวิหาร มีลักษณะศิลป[[สถาปัตยกรรมไทย]]เป็น[[ปราสาท]] 3 ชั้น มียอด 37 ยอด หมายถึง[[พระโพธิปักขิยธรรม 37 ประการ]] กลางปราสาทเป็นช่องกลวงจากฐานตลอดยอด มีซุงต้นใหญ่สูงถึงยอดปราสาทเป็นแกนกลาง เจาะลำต้นตอกเป็นบันไดเวียนขึ้น 67 ขั้น เริ่มก่อสร้างในปี [[พ.ศ. 2394]] นับจากปีที่เริ่มก่อสร้างวัดราชนัดดารามได้ 5 ปี แต่ก่อสร้างสำเร็จเป็นเพียงปราสาทโกลน ก็สิ้นรัชกาล
 
ในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ไม่ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับการก่อสร้างโลหะปราสาท จนมารัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] [[พระประสิทธิ์สุตคุณ (แดง เขมทตฺโต)]] เจ้าอาวาส ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต บูรณะปฏิสังขรณ์หลายครั้ง ตามแต่กำลังทุนทรัพย์ที่หาได้ โดยบูรณะตั้งแต่ชั้นบนลงมา คือ ทำพื้น ก่อมณฑปโบกปูนสีแดง ยก[[ฉัตร]] ยอดเจดีย์ที่ชั้นบนสุดและชั้นที่ 2 ทั้งหมด ยังเหลือแต่ชั้นล่างสุดที่ไม่ได้บูรณะ
 
การบูรณะโลหะปราสาทครั้งใหญ่ ดำเนินการในสมัย[[พระราชปัญญาโสภณ (สุข ปุญญรํสี)]] ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ในปี [[พ.ศ. 2506]] ทั้งนี้ได้พยายามรักษาแบบแผนดั้งเดิมของโลหะปราสาทในสมัยรัชกาลที่ 3 ไว้ให้มากที่สุด นับว่าโลหะปราสาทได้บูรณปฏิสังขรณ์จนเสร็จสมบูรณ์ในครั้งนี้ โดย[[กรมโยธาเทศบาล]]เป็นผู้รับผิดชอบในครั้งนี้
 
เมื่อครั้งที่รัฐบาลจัดงานฉลองศิริราชสมบัติครบ 50 ปี ระหว่างปี พ.ศ. 2538-2539 [[พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว]]ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กำหนดการพระราชพิธีบรรจุ[[พระบรมสารีริกธาตุ]]ประดิษฐาน ณ พระเจดีย์บุษบกโลหะปราสาทเป็นพระราชพิธีแรก แห่งการทรงบำเพ็ยพระราชกุศลและได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงปรดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ เมื่อวันจันทร์ที่ [[27 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2538]]
 
สืบเนื่องจากวโรกาสดังกล่าว โครงการบูรณะโลหะปราสาทครั้งล่าสุดจึงได้เกิดขึ้นใน [[พ.ศ. 2539]] สาระสำคัญของโครงการนี้ประกอบด้วย งานบูรณปฏิสังขรณ์โลหะปราสาท เริ่มจากยอดมณฑปกลาง เปลี่ยนวัสดุมุงและเครื่องประดับหลังคาเป็นโลหะและทองแดงรมดำ โดยมีนาวาอากาศเอก [[อาวุธ เงินชูกลิ่น]] [[ศิลปินแห่งชาติ]]เป็นสถาปนิก นายสุทิน เจริญสวัสดิ์ เป็นวิศวกรโยธา และ นายประพิศ แก้วสุริยาเป็นผู้ควบคุมงานก่อสร้าง
 
[[หมวดหมู่:เขตพระนคร|ล]]