ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ถนนเจริญนคร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 5:
ถนนเจริญนครตัดขึ้นในราวปี พ.ศ. 2482–2483<ref name="พจนานุกรมวิสามานยนามไทย">กนกวลี ชูชัยยะ. '''พจนานุกรมวิสามานยนามไทย : วัด วัง ถนน สะพาน ป้อม.''' พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 51.</ref> ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตต์ที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน เพื่อสร้างถนนต่อจาก[[ถนนสมเด็จเจ้าพระยา]] กิ่งอำเภอคลองสานขึ้นอำเภอธนบุรี ไปถึงตำบลปากคลองดาวคะนองฝั่งใต้ อำเภอราษฎร์บูรณะ [[จังหวัดธนบุรี]] พุทธศักราช 2482 โดยพระยามไหสวรรย์ (กอ สมบัติศิริ) ขณะดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีนครธนบุรีเป็นผู้ริเริ่มโครงการถนนสายนี้ ถนนเจริญนครเป็นถนนสายแรกที่สร้างเป็นถนนขนาดกว้างถึง 30 เมตร<ref name="พจนานุกรมวิสามานยนามไทย"/> เมื่อสร้างถนนเสร็จ เทศบาลนครธนบุรีได้ขอให้[[กระทรวงมหาดไทย (ประเทศไทย)|กระทรวงมหาดไทย]]ตั้งชื่อถนนให้ ในชั้นแรกกระทรวงมหาดไทยจะตั้งชื่อถนนว่า "ถนนมไหสวรรย์" ตามราชทินนามของพระยามไหสวรรย์ แต่พระยามไหสวรรย์ขอให้ใช้ชื่อถนนว่า '''ถนนเจริญนคร''' เพื่อล้อกับชื่อ[[ถนนเจริญกรุง]]ที่อยู่ในแนวขนานกันทาง[[ฝั่งพระนคร]]<ref name="พจนานุกรมวิสามานยนามไทย"/> กระทรวงมหาดไทยจึงอนุมัติให้ใช้ชื่อดังกล่าว ต่อมากระทรวงมหาดไทยได้นำชื่อถนนมไหสวรรย์ไปตั้งเป็นชื่อถนนตัดใหม่ซึ่งเชื่อมถนนเจริญนครกับ[[ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน]] เพื่อเป็นเกียรติแก่พระยามไหสวรรย์ (กอ สมบัติศิริ)<ref name="พจนานุกรมวิสามานยนามไทย"/>
 
ถนนเจริญนครเป็นพื้นที่การอยู่อาศัยเก่าแก่ มีชุมชนเก่าแก่กระจายตัวอยู่เต็มพื้นที่<ref>[http://www.manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9550000044560 วิเคราะห์ทำเลเจริญนคร การมาของ 2 ยักษ์ค้าปลีก “สยามพิวรรธน์-ซี.พี.”]</ref> มี[[โรงพยาบาลตากสิน]]ที่ก่อตั้งมาตั้งแต่สมัย[[รัชกาลที่ 5]] อันเนื่องมาจากเกิด[[กาฬโรค]] และบริเวณสำนักเขตคลองสานเป็นที่ตั้งของ[[ป้อมป้องปัจจามิตร]]ที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 มีลักษณะเป็นป้อมรูปดาวขนาดใหญ่ฐานสูง และมีแนวกำแพงที่มีใบบัง ตามแบบอย่างป้อมปราการ ปัจจุบันยังคงมีเสาธงสัญญาณใช้สำหรับชักธงของบริษัทเดินเรือต่างชาติที่เข้ามาติดต่อราชการและค้าขายภายในพระนคร ฝั่งตรงข้ามมีป้อมปิดปัจจานึก ตั้งอยู่ที่ปากคลองผดุงกรุงเกษม ป้อมทั้ง 2 แห่งนี้ ทำหน้าที่ดูแลเรือที่เข้าออกบริเวณชานพระนครฝั่งใต้ ในอดีตบริเวณคลองสาน เป็นที่ตั้งของโกดังเก็บสินค้าจำนวนมาก ยังมีความสำคัญที่เป็นจุดพักสินค้าระหว่างรถไฟและเรือด้วย และบริเวณนี้เองยังเป็นที่ตั้งของสถานีรถไฟคลองสาน (เปิดทำการ พ.ศ. 2447 และถูกรื้อถอนปี พ.ศ. 2504) มีเส้นทางเดินทางคลองสานไปยัง[[มหาชัย]]<ref>[https://www.matichon.co.th/entertainment/arts-culture/news_593287 เปิดภาพเก่าย่าน “คลองสาน” ก่อนจะเป็นหอชมเมือง-ไอคอนสยาม อดีตเคยเป็นที่ตั้งโรงสีข้าว]</ref> ในอดีตท่าเรือคลองสานเป็นที่กระจายสินค้าไปยังฝั่งพระนครและธนบุรี และบริเวณซอยเจริญนคร 7 มีชุมชนมัสยิดสุวรรณภูมิ เป็นชาวมุสลิมที่อพยพมาจาก[[จังหวัดพระนครศรีอยุธยา]]และ[[จังหวัดตราด]] ในอดีตชาวชุมชนแห่งนี้มีอาชีพนักประดาน้ำ รับจ้างกู้เรือและงมสิ่งของที่จมหายลงไปในแม่น้ำเจ้าพระยา<ref>[https://thestandard.co/news-thailand-workfield-bangkok-eye/ ลุยจุดสร้าง ‘หอชมเมือง’ ที่ดินติดไอคอนสยาม รัฐยันโปร่งใส ชาวบ้านกลัวกระทบ]</ref>
 
สำหรับโครงการคอนโดมีเนียมและโรงแรมหรูตั้งอยู่ริมถนนเจริญนคร อย่าง[[โรงแรมมิลเลนเนียมฮิลตัน]] โรงแรมเพนนินซูลา และโรงแรมอวานี ริเวอร์ไซด์ กรุงเทพ รวมถึงโครงการ[[ไอคอนสยาม]] อาคารอเนกหน้าที่ใช้สอย ในพื้นที่ 50 ไร่ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นที่ตั้งของคอนโดมีเนียมหลายแห่ง อาทิ เดอะไลต์เฮาส์, วอเตอร์มาร์ก เจ้าพระยา อยู่ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งตั้งอยู่บนถนนเจริญนคร ระหว่างซอยเจริญนคร 39 และ 41, ศุภาลัย ริเวอร์ รีสอร์ท ที่ตั้งอยู่ติดแม่น้ำเจ้าพระยาเช่นกัน, [[เดอะริเวอร์]] ตั้งอยู่บนเนื้อที่ 12 ไร่ ส่วนด้านการค้า จุดแรกที่ถือว่าอยู่บนถนนเจริญนครมานาน คือ ท่าเรือคลองสาน มีตลาดนัดขนาดใหญ่ ร้านค้า ร้านอาหาร จำนวนมากกว่า 100 ร้าน ยังมีคอมมูนิตีมอลล์ อย่าง เสนาเฟส เป็นอาคาร 4 ชั้นบนเนื้อที่ 4 ไร่<ref>[https://www.sentangsedtee.com/news_detail.php?rich_id=475 ส่องกล้องทำเลเลียบแม่น้ำ "เจริญนคร" จากย่านตึกแถว สู่ธุรกิจมอลล์และคอนโดฯ]</ref>