ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าฟ้า"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{ความหมายอื่น|พระยศเจ้านาย|สกุลปลาความหมายอื่น|ปลาซิวซอ-บวาเจ้าฟ้า (แก้ความกำกวม)}}
[[ไฟล์:ShansAtDurbar.jpg|thumb|เจ้าฟ้าจากรัฐฉานและกะเหรี่ยงแดง ณ [[จัตุรัสเดลี]] พ.ศ. 2446]]
'''เจ้าฟ้า''' เป็นพระราชบรรดาศักดิ์ที่ใช้เรียกเจ้าผู้ครองยศเจ้านายในกลุ่มชาติพันธุ์ไท โดยใน[[กลุ่มรัฐฉาน|แคว้นหรือนครต่าง ๆ ของชาวไทใหญ่]] (บริเวณภาคตะวันออกของ[[ประเทศพม่า]]ปัจจุบัน) นอกจากนี้ยังใช้กับผู้ปกครองและชาวไทถิ่นอื่นในประเทศข้างเคียงด้วย ที่สำคัญเช่นใน[[มณฑลยูนนาน]]ของจีน ใช้หมายถึงเจ้าผู้ครองแคว้น<ref name="HD">{{Cite book |author=Donald M. Seekins |title=Historical Dictionary of Burma (Myanmar) |publisher=Scarecrow Press |year=2006 |at=entry ''Sawbwa'', p. 391}}</ref> คำ "ซอ-บวา" ส่วนใน[[ภาษาพม่า]]ตรงกับคำ "[[เจ้าฟ้า]]" ใน[[ภาษาประเทศไทย]] แต่ในประเทศได้ใช้เป็นสร้อยพระนามพระมหากษัตริย์ไทยมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา คำ "เจ้าฟ้า" ยังต่อมาใช้หมายถึงเป็น[[พระยศเจ้านายไทย|สกุลยศหรือฐานันดรศักดิ์]]อย่างหนึ่งของเชื้อพระวงศ์ด้วย
 
== ไทใหญ่ ==
บรรทัด 16:
 
ในช่วงที่พม่าเป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักร มีเจ้าฟ้าชาวไทใหญ่ 14 ถึง 16 พระองค์ในขณะนั้น แต่ละพระองค์ทรงมีอำนาจปกครองแว่นแคว้นของตนเองอย่างสูง จนถึงปี พ.ศ. 2465 มีการก่อตั้ง[[สหพันธรัฐฉาน]] อำนาจของเจ้าฟ้าจึงถูกลดลง อย่างไรก็ตาม เจ้าฟ้าทั้งหมดยังทรงรักษาฐานะในนามไว้ได้เช่นเดียวกับราชสำนักและยังทรงมีบทบาทในการปกครองส่วนท้องถิ่น จนกระทั่งร่วมกันสละบรรดาศักดิ์เพื่อเข้าร่วม[[สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า (พ.ศ. 2491–2505)|สหภาพพม่า]]ในปี พ.ศ. 2502<ref name="HD"/>
 
== สยาม ==
ในสยามเริ่มมีพระยศเจ้าฟ้าใช้ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2106 เมื่อ[[สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช]]ผู้ครองเมืองพิษณุโลกยอมอ่อนน้อมต่อ[[พระเจ้าบุเรงนอง]]แห่งกรุงหงสาวดี จึงทรงตั้งสมเด็จพระมหาธรรมราชาเป็น'''เจ้าฟ้าสองแคว''' ทำนองเดียวกับเจ้าฟ้าไทใหญ่ที่เป็นประเทศราชของหงสาวดีในขณะนั้น เมื่อถึงรัชสมัย[[สมเด็จพระนเรศวรมหาราช]] [[สมเด็จพระเอกาทศรถ]]ทรงออกพระนามสมเด็จพระเชษฐาธิราชว่า'''สมเด็จบรมบาทบงกชลักษณอัครบุริโสดม บรมหน่อนรา ''เจ้านเรศ'' เชษฐาธิบดี''' แต่เมื่อสมเด็จพระเอกาทศรถสืบราชสมบัติ ทรงเลิกใช้คำว่าเจ้าฟ้าในคำสร้อยพระนามพระเจ้าแผ่นดิน แต่เฉลิมพระนามพระราชโอรสทั้งสองพระองค์ที่ประสูติแต่พระอัครมเหสีเป็น[[เจ้าฟ้าสุทัศน์]]และ[[สมเด็จพระศรีเสาวภาคย์|เจ้าฟ้าศรีเสาวภาค]] นับแต่นั้นมา เจ้าฟ้าจึงกลายเป็นสกุลยศของลูกหลวงที่พระมารดาเป็นเจ้า ต่อมาจึงขยายไปถึงหลานหลวงที่พระบิดาและพระมารดาทั้งสองฝ่ายเป็นเจ้าฟ้า หลานหลวงนั้นให้เป็นเจ้าฟ้าด้วย<ref>{{อ้างหนังสือ| ผู้แต่ง = สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร| ชื่อหนังสือ = ราชสกุลวงศ์| URL = http://bcnnon.ac.th/webnon/Load/2013/01/king22.pdf| จังหวัด = พิมพ์ครั้งที่ 14, กรุงเทพฯ| พิมพ์ที่ = สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร| ปี = 2554 | ISBN = 978-974-417-594-6| จำนวนหน้า = 296| หน้า = 207}}</ref>
 
== ไทลื้อ ==
{{โครง-ส่วน}}
 
== ไทถิ่นอื่น ==
{{โครง-ส่วน}}
 
บรรทัด 29:
{{commonscat|Saopha|เจ้าฟ้า}}
 
[[หมวดหมู่:เจ้าฟ้า| ]]
[[หมวดหมู่:รัฐฉาน]]