ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เฟรเดริก ชอแป็ง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 9:
ในปี [[พ.ศ. 2373]] (ค.ศ. 1830) เขาได้จาก[[ประเทศโปแลนด์|โปแลนด์]]ประเทศบ้านเกิดเพื่อมาประกอบอาชีพนักดนตรีที่ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเขาได้ใช้ช่วงชีวิตที่เหลือพำนักอยู่ที่กรุงปารีสหรือไม่ก็ในบริเวณใกล้เคียง เขาตกหลุมรักสาวนางหนึ่งอย่างหัวปักหัวปำ ความรักที่เขามีต่อหล่อนเป็นแรงบันดาลใจในการประพันธ์เพลง "[[บัลลาด]]หมายเลข 1 โอปุสที่ 23" ที่แสนไพเราะ รวมถึงท่อนที่สองของ[[คอนแชร์โต]]หมายเลข 1 ระหว่างปี [[พ.ศ. 2381]] (ค.ศ. 1838) ถึง [[พ.ศ. 2390|2390]] (ค.ศ. 1847) เขาได้กลายเป็นชู้รักของ[[ฌอร์ฌ ซ็องด์]] (George Sand) นักประพันธ์นวนิยายชาวฝรั่งเศสผู้อื้อฉาว แต่ในที่สุดก็ได้แยกทางกันด้วยความเต็มใจของทั้งสองฝ่ายเมื่ออาการป่วยของชอแป็งทรุดหนัก ฉากหนึ่งของเรื่องราวความรักของคู่รักบันลือโลกที่ผู้คนจดจำได้ดีที่สุด เห็นจะได้แก่เหตุการณ์ในเกาะ[[มายอร์กา]] [[ประเทศสเปน]] ในช่วงที่ชอแป็งใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่อย่างอนาถในบ้านชาวนาโดยปราศจากเครื่องทำความร้อน บทเพลงเขาได้ประพันธ์ระหว่างช่วงเวลาอันน่าสังเวชนี้ได้แก่[[พรีลูด]] โอปุสที่ 28 อันพรรณนาถึงความสิ้นหวังของทั้งคู่ ช่วงเวลาดังกล่าวได้มีผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อสุขภาพของชอแป็งที่ป่วยจากวัณโรคเรื้อรัง ทำให้เขาและฌอร์จ ซ็องด์ตัดสินใจเดินทางกลับกรุงปารีสเพื่อรักษาชีวิตเอาไว้ เขารอดชีวิตมาได้ก็จริง แต่ก็ไม่หายขาดจากอาการป่วย จนกระทั่งจบชีวิตอย่างน่าสลดด้วยวัยเพียง 39 ปี
 
ชอแป็งสนิทกับ[[ฟรานซ์ ลิซท์]], [[วินเชนโซ เบลลีนี]] (ผู้ซึ่งศพถูกฝังอยู่ใกล้กับเขาที่[[สุสานแปร์ลาแชซ]]ในกรุงปารีส) และ[[เออแฌน เดอลาครัว]] เขายังเป็นเพื่อนกับคีตกวี[[แอ็กตอร์ แบร์ลีโยซ]] และ[[โรแบร์ท ชูมันน์]] และแม้ว่าชอแป็งได้มอบเพลงบางบทเพื่ออุทิศให้เพื่อนนักประพันธ์ทั้งสองก็ตาม แต่เขาก็ไม่ค่อยประทับใจบทเพลงที่ทั้งสองแต่งขึ้นเท่าไรนัก เขาได้ขอร้องให้ร้องเพลงสวด[[เรเควียม]]ของ[[โวล์ฟกังว็อล์ฟกัง อะมาเดอุส โมซาร์ทโมทซาร์ท|โมซาร์ท]]ในงานศพของเขา แต่เมื่อเขาเสียชีวิตลงในปี [[พ.ศ. 2392]] (ค.ศ. 1849) พิธีศพที่จัดขึ้นที่โบสถ์ลามาดแลน (La Madeleine) ไม่ได้ราบเรียบเสียทีเดียว เนื่องจากเป็นครั้งแรกที่ได้มีการขออนุญาตใช้วงประสานเสียงสตรีในการร้องเพลงสวด ข่าวอื้อฉาวดังกล่าวได้แพร่ออกไปส่งผลให้ต้องเลื่อนพิธีฝังศพออกไปอีกสองสัปดาห์ แต่ในที่สุดโบสถ์ก็ยอมรับคำขอดังกล่าว ทำให้คำขอร้องครั้งสุดท้ายของชอแป็งเป็นจริงขึ้นมา
 
ผลงานทุกชิ้นของชอแป็งเป็นงานชิ้นเอก ส่วนใหญ่ใช้สำหรับเดี่ยวเปียโน งานประเภทเรียบเรียงเสียงประสานมีเพียง[[คอนแชร์โต]]สองบท, [[ปอลอแนซ]] (polonaise) หนึ่งบท, [[รอนโด]] (rondo) หนึ่งบท และ[[วารียาซียง]] (variation) อีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งทั้งหมดบรรเลงด้วยเปียโนและวง[[ออร์เคสตรา]] เพลง[[เชมเบอร์มิวสิก]]มีเพียงห้าชิ้น ซึ่งสี่ชิ้นแรกแต่งไว้ตั้งแต่วัยเด็ก ชิ้นสุดท้ายเป็นโซนาตาสำหรับ[[เชลโล]]และเปียโน ซึ่งเป็นผลงานชิ้นสุดท้ายที่เขานำออกแสดงต่อสาธารณชนร่วมกับ[[โอกุสต์ ฟร็องชอม]] (Auguste Franchomme) เพื่อนของเขาผู้เป็นนักเชลโลเลื่องชื่อ มิตรภาพได้ถูกถ่ายถอดมาเป็นความละเมียดละไมของเชลโล เนื่องจากเชมเบอร์มิวสิกของชอแป็งใช้เชลโลบรรเลงถึงสี่ในห้าชิ้นด้วยกัน
บรรทัด 16:
Opus
* 1 [[รอนโด]]ในบันไดเสียง c (1825)
* 2 [[วารียาซียง]]สำหรับเปียโนและวงออร์เคสตรา จาก „Lá ci darem la mano“ ของ[[โวล์ฟกังว็อล์ฟกัง อะมาเดอุส โมซาร์ทโมทซาร์ท|โมซาร์ท]] (Mozart) ในบันไดเสียง B (1827/8)
* 3 [[แอ็งทรอดุกซียง]]และ[[ปอลอแนซ]] สำหรับเชลโลและเปียโน ในบันไดเสียง c (1829)
* 4 [[โซนาตา]]สำหรับเปียโน หมายเลข 1 ในบันไดเสียง c (1828)