ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฮีเลียม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขของ 2403:6200:8846:D825:CCA:9C1C:ACD4:AB11 (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย 1.47.226.15
ป้ายระบุ: ย้อนรวดเดียว
บรรทัด 6:
 
มีการค้นพบฮีเลียม เมื่อปี [[ค.ศ. 1868]] ใน[[บรรยากาศ]]รอบ[[ดวงอาทิตย์]] โดย [[โจเซฟ นอร์มัน ล็อกเยอร์]] เขาได้ทำการทดลองโดยการส่องดวงอาทิตย์สังเกตเห็นเส้นสีเหลืองในสเปคตรัมของดวงอาทิตย์ ซึ่งไม่สอดคล้องกับธาตุใด ๆ ที่รู้จักกันบนโลก ล็อกเยอร์ ใช้คำศัพท์[[ภาษากรีก]]ที่เรียก[[ดวงอาทิตย์]] (เฮลิออส : Helios) มาตั้งชื่อธาตุนี้ ว่า ฮีเลียม (Helium) นอกจากนี้ [[เซอร์ วิลเลียม แรมเซย์]] ได้ค้นพบฮีเลียมบนโลก ([[ค.ศ. 1895]]) โดยเป็นส่วนประกอบที่อยู่ในแร่ยูเรนิไนท์ ซึ่งมีเส้น[[สเปกตรัม]]ตรงกับที่สังเกตจากดวงอาทิตย์
 
ฮีเลียมที่มีอยู่ใน[[เอกภพ]] มีมากเป็นอันดับสองรองจาก[[ไฮโดรเจน]] และมีปริมาณหนาแน่นใน[[ดาวฤกษ์]] ซึ่งถูกสังเคราะห์ได้จาก[[ไฮโดรเจน]]นั่นเอง โดยอาศัย[[ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น]] แม้ว่าฮีเลียมจะปรากฏใน[[บรรยากาศ]]ของ[[โลก]]เพียงหนึ่งส่วนใน 186,000 ส่วน (0.0005%) และมีปริมาณน้อยที่ปรากฏใน[[แร่กัมมันตรังสี]] [[โลหะ]]จาก[[อุกกาบาต]] และ[[น้ำพุแร่]] แต่ฮีเลียมปริมาณสูงพบได้ในฐานะส่วนประกอบ (มากถึง 7.6%) ในก๊าซธรรมชาติใน[[สหรัฐอเมริกา]] (โดยเฉพาะในรัฐ[[เทกซัส]], [[นิวเม็กซิโก]], [[แคนซัส]], [[โอคลาโฮมา]], [[แอริโซนา]] และ[[ยูทาห์]]) นอกจากนั้นพบใน [[ประเทศอัลจีเรีย|อัลจีเรีย]], [[ประเทศแคนาดา|แคนาดา]], [[ประเทศรัสเซีย|สหพันธรัฐรัสเซีย]], [[ประเทศโปแลนด์|โปแลนด์]] และ [[ประเทศกาตาร์|กาตาร์]]
 
== การนำไปใช้ประโยชน์ ==
 
* ก๊าซฮีเลียมมี[[ความหนาแน่น]]ที่ต่ำมาก จึงนำไปใช้บรรจุในบอลลูนและเรือเหาะแทน[[ก๊าซไฮโดรเจน]]ซึ่งติดไฟได้ ภายหลังจากการระเบิดของ[[เรือเหาะฮินเดนบวร์ก]]ของ[[เยอรมนี]] และทราบสาเหตุว่ามาจากการระเบิดของ[[ก๊าซไฮโดรเจน]]
* มีการนำก๊าซฮีเลียมไปผสมในอากาศสำหรับ[[นักดำน้ำ]] เพื่อป้องกันการเกิด[[โรคเบนด์]] ([[Bends]])
 
* ฮีเลียมเหลว (ซึ่งมีอุณหภูมิ -269 [[องศาเซลเซียส]]) นำไปใช้เกี่ยวกับ[[ตัวนำยิ่งยวด]] ([[Superconductor]])
== รายการอ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}