ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภูมิศาสตร์ภูมิภาค"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
เพิ่มลิงก์
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 5:
== พื้นฐาน ==
ภูมิศาสตร์ภูมิภาคให้ความสำคัญกับลักษณะเฉพาะของแต่ละภูมิภาค เช่น องค์ประกอบทางธรรมชาติ องค์ประกอบทางสังคมมนุษย์ และ[[ภูมิภาคนิยม|ภูมิภาคาภิวัตน์]] ซึ่งครอบคลุมเทคนิคในการแบ่งพื้นที่ในแต่ละ[[ภูมิภาค]] สองเสาหลักของภูมิศาสตร์ภูมิภาคจากรากฐานของขนบธรรมเนียมในกลุ่มประเทศที่พูดภาษาเยอรมัน ประกอบด้วย การศึกษาเฉพาะกรณีถึงความเป็นปัจเจกของพื้นที่หรือ Länder เช่น สถานที่เฉพาะ ประเทศ หรือทวีป การศึกษาการจำแนกถึงประเภทของพื้นทีหรือ[[ภูมิทัศน์]]หรือ Landschaften เช่น บริเวณชายฝั่ง ภูเขา ชายแดนระหว่างภูมิภาค ฯลฯ
 
== วิธีการ ==
ภูมิศาสตร์ภูมิภาคยังคงเป็นวิธีการหนึ่งในการศึกษาภูมิศาสตร์เปรียบได้กับ[[การปฏิวัติเชิงปริมาณ|ภูมิศาสตร์เชิงปริมาณ]]และ[[ภูมิศาสตร์เชิงวิพากษ์]] วิธีการนี้เกิดขึ้นในครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 19 และครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 20 กระบวนทัศน์ทางภูมิศาสตร์ภูมิภาคเป็นศูนย์กลางของวิทยาการทางภูมิศาสตร์ในสมัยดังกล่าว แต่ได้ถูกวิพากษ์ในภายหลังว่าเป็นเพียงการพรรณาและขาดทฤษฎีรองรับ การวิพากษ์ภูมิศาสตร์ภูมิภาคเกิดขึ้นอย่างรุนแรงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในคริสต์ทศวรรษ 1950 และช่วงของ[[การปฏิวัติเชิงปริมาณ]]โดยมี จี. เอช. ที. คิมเบิล<ref>Kimble, G.H.T. (1951): ''The Inadequacy of the Regional Concept'', London Essays in Geography, edd. L.D. Stamp and S.W. Wooldridge, pp. 492-512.</ref> และ[[เฟร็ด เค. แชเฟอร์]]<ref>Schaefer, F.K. (1953): ''Exceptionalism in Geography: A Methodological Examination'', [[Annals of the Association of American Geographers]], vol. 43, pp. 226-245.</ref>เป็นผู้นำการวิพากษ์หลัก กระบวนทัศน์ทางภูมิศาสตร์ภูมิภาคส่งผลต่อวิทยาการทางภูมิศาสตร์อื่น ๆ รวมถึง[[ภูมิศาสตร์เศรษฐกิจ]]และ[[ธรณีสัณฐานวิทยา]] ภูมิศาสตร์ภูมิภาคยังคงมีการสอนในมหาวิทยาลัยบางแห่ง เช่น การศึกษาภูมิภาคสำคัญของโลก เช่น อเมริกาเหนือและละตินอเมริกา ยุโรป เอเชีย และประเทศในภูมิภาคดังกล่าว นอกจากนี้การศึกษาภูมิศาสตร์ด้วยวิธีการของเมืองและภูมิภาคในภายใต้ปฏิสัมพันธ์ระหว่างเมืองและชนบทได้รับความเชื่อถือมาตั้งแต่ช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1980 นักภูมิศาสตร์บางคนได้พยายามที่จะรื้อฟื้นแนวคิดทางภูมิภาคนิยมขึ้นใหม่ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1980 ซึ่งเกี่ยวข้องกับคำนิยามอันซับซ้อนของภูมิภาคและปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นบน[[มาตราส่วน|ขอบเขต]]ต่าง ๆ<ref>MacLeod, G. and Jones, M. (2001): ''Renewing The Geography of Regions'', Environment and Planning D, 16(9), pp. 669-695.</ref>
 
== อ้างอิง ==