ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เรเจป ไตยิป แอร์โดอัน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 36:
แอร์โดอันเคยเล่นฟุตบอลให้กับทีมคาซิมบาซาก่อนได้รับเลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรีอิสตันบูลในปี 2537 จากพรรคสวัสดิการอิสลามมิสต์ เขาถูกริบตำแหน่ง ห้ามรับตำแหน่งทางการเมือง และจำคุกสี่เดือน ฐานอ่านบทกวีซึ่งส่งเสริมมุมมองการปกครองทางศาสนาระหว่างสุนทรพจน์ในปี 2541 แอร์โดอันทิ้งนโยบายอิสลามมิสต์เปิดเผยและตั้งพรรค AKP ซึ่งเป็นอนุรักษนิยมสายกลางในปี 2544 หลังพรรคชนะการเลือกตั้งถล่มทลายในปี 2555 ผู้ร่วมก่อตั้งพรรค อับดุลลาห์ กุล เป็นนายกรัฐมนตรี และรัฐบาลประกาศให้คำสั่งห้ามรับตำแหน่งทางการเมืองของแอร์โดอันเป็นโมฆะ แอร์โดอันเป็นนายกรัฐมนตรีในเดือนมีนาคม 2546 หลังชนะการเลือกตั้งซ่อมในจังหวัดซีร์ต
 
รัฐบาลแอร์โดอันควบคุมการเจรจาสมาชิกภาพของตุรกีในสหภาพยุโรป การฟื้นฟูเศรษฐฏิจหลังภาวะการเงินตกต่ำในปี 2544 การเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญผ่านการลงประชามติในปี 2550 และ 2553 นโยบายต่างประเทศออตโตมันใหม่ และการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานอย่างถนน สนามบินและเครือข่ายรถไฟความเร็วสูง และสุดท้ายวิกฤตเงินตราและหนี้ตุรกีปี 2561 ด้วยความช่วยเหลือของขบวนการกูเลน แอร์โดอันสามารถกำราบอำนาจของกองทัพผ่านคดีความในศาล ปลายปี 2555 รัฐบาลของเขาเริ่มการเจรจาสันติภาพกับพรรคแรงงานเคอร์ดิสถานเพื่อยุติการก่อการกำเริบของพรรคฯ ซึ่งเริ่มตั้งแต่ปี 2521 การหยุดยิงล้มเหลวในปี 2558 นำไปสู่การบานปลายของความขัดแย้งรอบใหม่ ในปี 2559 มี[[ความพยายามรัฐประหารในประเทศตุรกี พ.ศ. 2559|ความพยายามรัฐประหารที่ไม่สำเร็จ]]ต่อแอร์โดอันและสถาบันของรัฐตุรกี เกิดการกวาดล้างและภาวะฉุกเฉินที่กำลังดำเนินอยู่ตามมา
 
นักรัฐศาสตร์ไม่ถือว่าประเทศตุรกีเป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์อีกต่อไป โดยยึดการขาดการเลือกตั้งที่อิสระและยุติธรรม การกวาดล้างและจำคุกฝ่ายตรงข้าม การจำกัดเสรีภาพสื่อและความพยายามของแอร์โดอันในการขยายอำนาจบริหารของเขาและลดความรับผิดของฝ่ายบริหารของเขา การประท้วงครั้งใหญ่ในปี 2556 เกิดจากความเป็นเผด็จการของนโยบายเขา เขาวิจารณ์ผู้ประท้วงและสั่งตำรวจปราบปราม ทำให้มีผู้เสียชีวิต 22 คน และได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก รัฐบาลต่างประเทศและองค์การสิทธิมนุษยชนประณามเหตุดังกล่าว เหตุนี้ยังทำให้การเจรจาสมาชิกภาพสหภาพยุโรปหยุดชะงัก หลังแตกแยกกับกูเลน แอร์โดอันประกาศการปฏิรูปตุลาการอย่างกว้างขวางซึ่งเขายืนกรานว่าจำเป็นเพื่อกวาดล้างผู้เข้ากับกูเลน แต่ถูกวิจารณ์ว่าคุกคามความเป็นอิสระของตุลาการ กรณีอื้อฉาวฉ้อราษฎร์บังหลวง 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2556 นำไปสู่การจับกุมพันธมิตรใกล้ชิดของแอร์โดอัน และตัวเขาเองก็ถูกกล่าวโทษด้วย นับแต่นั้นรัฐบาลเขาถูกวิจารณ์ว่าละเมิดสิทธิมนุษยชนและปราบปรามสื่อมวลชนและสื่อสังคม โดยสกัดกั้นการเข้าถึง[[วิกิพีเดีย]] [[ทวิตเตอร์]] [[เฟซบุ๊ก]]และ[[ยูทูป]]ในหลายโอกาส รัฐบาลแอร์โดอันยุติคำสั่งห้ามตามคำสั่งศาล แต่ต่อมาก็ออกคำสั่งใหม่ ในปี 2559 ประเทศตุรกีภายใต้แอร์โดอันเริ่มการกวาดล้างเสรีภาพสื่อ ในปี 2559 และ 2560 มีนักหนังสือพิมพ์ถูกขังในประเทศตุรกีมากที่สุดในโลก เขาได้รับเลือกตั้งอีกสมัยในการเลือกตั้งทั่วไปปี 2561 และรับตำแหน่งประธานาธิบดีบริหารและเป็นทั้งประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาล
 
==อ้างอิง==