ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เอ็มบีเคเซ็นเตอร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
more ref
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 51:
''บริษัท มาบุญครองอบพืชและไซโล จำกัด'' จดทะเบียนก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ [[25 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2517]]<ref name="history">[http://web.archive.org/web/20111211192006/http://mbk-center.co.th/th/about/history.php ประวัติเอ็มบีเคเซ็นเตอร์ (หน้าเว็บเก่า)]</ref> มีที่มาจากชื่อบิดา (มา) และมารดา (บุญครอง) ของ[[ศิริชัย บูลกุล]] ผู้ก่อตั้งบริษัทฯ โดยในระยะเริ่มแรก ประกอบกิจการโรงสีข้าว และจำหน่ายข้าวสารบรรจุถุง [[เครื่องหมายการค้า]]''มาบุญครอง'' (ต่อมาโอนกิจการไปให้บริษัทลูกคือ บมจ.ปทุมไรซมิลแอนด์แกรนารี ตั้งแต่ปี [[พ.ศ. 2525]]) และ[[ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย]] อนุมัติให้จดทะเบียนเป็นหลักทรัพย์รับอนุญาต เมื่อปี [[พ.ศ. 2521]]<ref name="history"/>
 
ต่อมาบริษัทฯ ดำเนินการเช่าที่ดิน บริเวณหัวมุม[[แยกปทุมวัน]] ฝั่งถนนพญาไทมุ่งหน้า[[แยกสามย่าน]] ซึ่งเช่ามาจาก[[จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] แล้วก่อสร้างอาคาร''ศูนย์การค้ามาบุญครอง'' จนกระทั่งแล้วเสร็จเริ่มเปิดให้บริการ โดย[[สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร]] เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ทรงเปิดศูนย์การค้า เมื่อวันที่ [[7 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2528]]<ref name="history"/> นับเป็นศูนย์การค้าขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยในเวลานั้น ซึ่งมีลักษณะเด่นที่ผนังอาคารทั้งหลัง บุด้วยหินอ่อนทั้งภายนอกและภายใน ทว่าบริษัทฯ ขอยุติการเป็นหลักทรัพย์รับอนุญาต เมื่อปี [[พ.ศ. 2530]]<ref name="history"/>
 
จากนั้นมีการเปลี่ยนแปลงคณะผู้บริหาร<ref name="history"/> พร้อมทั้งชื่อใหม่เป็น''บริษัท เอ็มบีเค พรอพเพอร์ตีส์ แอนด์ ดีเวลอปเมนต์ จำกัด'' ซึ่งเข้าจดทะเบียนแปรสภาพ เป็นบริษัทมหาชนเมื่อวันที่ [[8 เมษายน]] [[พ.ศ. 2537]] เข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เมื่อวันที่ [[5 เมษายน]] [[พ.ศ. 2539]] โดยใช้ชื่อย่อหลักทรัพย์ว่า MBK-PD และเริ่มซื้อขายหุ้นสามัญของบริษัทฯ ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ตั้งแต่วันที่ [[24 เมษายน]] ปีเดียวกัน<ref name="background">[http://mbk-th.listedcompany.com/company_background.html ประวัติเอ็มบีเค เซ็นเตอร์]</ref>